“โฟกัส” ในความหมายของ สตีฟ จ๊อบส์

โดย Logos เมื่อ 22 January 2009 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4250

People think focus means saying yes to the thing you’ve got to focus on. But that’s not what it means at all. It means saying no to the hundred other good ideas that there are. You have to pick carefully.

คงไม่ต้องอธิบายนะครับ ว่าสตีฟ จ็อบส์คือใคร

« « Prev : ของขวัญปีใหม่

Next : ธุรกิจจิ๋ว » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

11 ความคิดเห็น

  • #1 nontster ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 January 2009 เวลา 11:09

    อ่านดูแล้วคำว่า “โฟกัส” ของจ๊อบส์ มีความรับผิดชอบ มากกว่าคำว่า “โฟกัส” ของคนทั่วไป

    กว่าจะเลือกได้ ต้องทำการบ้านอย่างหนัก ไม่ใช่แค่โยนหัว/ก้อย ไม่ได้รอใครมาขีดเส้นให้เดิน

    น่าเอาไปคิดให้หนักๆครับ ^^

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 January 2009 เวลา 12:21
    ผมเห็นว่าสังคมที่ล้อมรอบสตีฟ จ็อบส์อยู่นั้น มีความรับผิดชอบ มีความกล้า และตระหนักในหน้าที่ ตลอดจนมีนวัตกรรมเป็นหัวใจครับ; ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าจ็อบส์เลือกแต่สิ่งที่ดีที่สุด ก็ยังเพียรเสนอความคิดและผลิตภัณฑ์โดยไม่กลัวที่จะถูกปฏิเสธ ไม่กลัวเสียหน้า

    ที่จริงคนที่อยู่ไปเรื่อยๆ รอแต่คำสั่ง กลัวผิด ไม่พูดไม่เสนออะไรเหมือนเครื่องจักรนั้น ไม่มีตัวตน ไม่มี “หน้า” ที่จะเสียอยู่ตั้งแต่ต้นแล้วครับ

    ในมุมกลับ ผมเคยเขียนบันทึกทำไมองค์กรที่ดีจึงพังได้เอาไว้เกือบสองปีก่อนครับ

  • #3 สร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 January 2009 เวลา 6:16

    เข้ามาอ่านสองสามรอบและกลับไปคิดอีกหลายรอบ …เพราะว่ากำลังคิดเรื่องของ focus อยู่พอดีทีเดียวค่ะ
    ที่คิดหลายรอบคือคิดว่าจะ focus ได้มีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง…ฉุกใจเรื่องของการตัดสินใจตอนจะเลือกค่ะ…คิดกว้างยังไม่พอต้องคิดเลือกจากมุมลึกด้วย..เป็นเรื่องที่น่าจะฝึกได้แต่คงต้องหัดการคิดที่เป็นระบบระเบียบและเชื่อมโยงด้วย…อืม….สำหรับคนที่คิดรอบด้านและคิดให้ลึกซึ้งไม่ค่อยเป็น…อาจจะเริ่มต้นจากการหัดสังเกตวิธีคิดของคนอื่นและมีการเล่าสู่กันฟังถึงวิธีคิด และแลกเปลี่ยนความเห็นกันทั้งที่เห็นด้วยและที่เห็นอีกมุมหนึ่งฯลฯ…ยังสนใจเรื่องนี้อยู่..และก็ยังคิดทบทวนอยู่.
    ที่เขียนนี้คือส่วนหนึ่งของความคิดในระยะนี้(หลังจากอ่านบันทึกนี้ด้วย)ค่ะ
    ขอบคุณนะคะ…เมื่อก่อนเคยสงสัยว่าทำไมคนอื่นเรียกคุณรอกอดว่า เทพ..ตอนนี้เริ่มหายสงสัยแล้วค่ะ…เวลาอยากรู้เรื่องอะไร..เช้ามาเข้าซักล้างก่อน…เจอเรื่องเกี่ยวข้องทุกที…คารวะท่านเทพ

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 January 2009 เวลา 8:37
    อ้าว พี่สร้อย ไหงเล่นอย่างนี้ล่ะครับ คำเรียกขาน เรียกอะไรก็เรียกไป ทีชื่อ Logos พี่สร้อยยังเรียกเป็นรอกอด จนใครๆเรียกตามไปหมดได้เลยครับ

    เมื่อวานเจอนักข่าว พูดกันถึงลานซักล้าง น้องเค้าว่ามันมีแต่ตัวหนังสือ อ่านยากเหลือเกิน ผมก็ว่าไม่เป็นไรหรอกครับ ลานซักล้างเป็นการสื่อสารความคิด (ไม่ใช่บล็อกประเภทบันเทิง หรือเรื่อยเจื้อย อิอิ) ซึ่งกลับไปเป็นเรื่องที่ผมพูดไว้นานแล้วว่าบล็อกเลือกคน คนเลือกบล็อกครับ

  • #5 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 January 2009 เวลา 20:12

    ที่น้องสร้อยเขาคารวะนะ ด้วยดูเหมือนว่าน้องรอกอดจะรู้ว่ากระแสจิตแห่งความคิดของเขานะกำลังคิดและมีคำถามของเรื่องอะไรอยู่ แล้วมาเฉลยคำตอบนั้นให้ฟัง ใช่ไหมน้องสร้อย มันเลยทำให้รู้สึกว่าคนๆนี้เหมือนเทพที่มีญาณวิเศษรับรู้อะไรๆล่วงหน้านะซี น้องรอกอดเข้าใจรึยัง 

    แต่พี่กลับมองว่ากระแสจิตพวกเราสื่อถึงกันมากกว่า และมีอะไรที่อยู่ในความคิดที่มันดึงดูดกันอยู่ มันก็เลยทำให้เกิดพลังผลักดันให้คนที่รู้อะไรในบางมุมเขียนอะไรในเรื่องนั้นออกมาให้ได้อ่านสอดคล้องกับเวลาที่มีคนต้องการใช้พอดีอยู่เรื่อยๆ

    อ่านที่น้องสร้อยเขียน และน้องตอบไปนั้น มันทำให้พี่นึกถึงการฝึกตนให้เป็นอินทรีย์และเป็นกระทิงในเวลาเดียวกันเลยอ่ะ เห็นภาพของกระทิงว่าเวลาเจอกระทิงแล้วเกิดอะไรขึ้น และจ๊อบส์ก็เป็นตัวอย่างของกระทิงในรูปแบบหนึ่งด้วยซิ

  • #6 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 January 2009 เวลา 20:32
    เรื่องผู้นำสี่ทิศนั้น ผมกระอักกระอ่วนมากเลยครับ เพราะว่าคิดว่าตัวเองมีลักษณะทั้งสี่อย่าง แต่ก็เป็นตรงข้ามกับทั้งสี่อย่างด้วยเหมือนกัน ไม่รู้ว่าเป็นอะไรเหมือนกัน แต่ถ้าจะต้องเลือกให้ได้ ผมก็คงเป็นค้างคาวควาย (อินทรี+กระทิง+หนู) นะครับ
  • #7 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 January 2009 เวลา 23:51

    ในประสบการณ์ผมนั้นมีเรื่องที่ผมชื่นชมศาสตร์ที่มาจากตะวันตกมาก แม้ทุกวันนี้ แต่เมื่อผมได้กลายเป็นผู้ปฏิบัติ ผมเป็นผู้นำหลักการ ทฤษฎีไปทำให้่เป็นจริง

    ผมพบว่า ทฤษฎีที่เราเรียนรู้กันมานั้นมันมีบริบท และเป็นบริบทที่หากไม่เอาทฤษฏีไปปฏิบัติจริงก็จะไม่สัมผัสอีกมิติหนึ่งของความจริง

    ทุกครั้งที่ผมเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ จึงมักถามในใจตัวเองเสมอว่า หลักการนี้จะเข้ากับสังคมไทย(สังคมไทยในที่นี้หมายความรวมและกว้างถึง สังคมเมือง สังคมชนบท สังคมชนเผ่า วัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อ การคลายตัวของทุนเดิม…..)  ได้อย่างไร

    อาจจะตรงเป๊ะกับสิ่งที่ผู้สร้างทฤษฎีนั้นระบุไว้
    อาจจะไม่ตรงนัก เพราะ…..
    อาจจะไม่ตรงมากๆเลย เพราะ….
    หรืออาจจะคนละเรื่อง ไปเลยก็ได้….

    แต่อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนสังคม เราจะไม่ปฏิสธ บทเรียนต่างๆที่นักวิชาการ หรือนักอื่นๆสรุปไว้จากการศึกษาของเขา ตรงข้ามต้องเรียนรู้ให้ถึงแก่นของเขาแล้วย้อนมามองตัวเรา(สังคมเรา)

  • #8 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 January 2009 เวลา 14:16

    อ้าว…ทำให้เข้าใจผิดเหรอ….ที่พี่เขียนว่า….อ่านที่น้องสร้อยเขียน และน้องตอบไปนั้น มันทำให้พี่นึกถึงการฝึกตนให้เป็นอินทรีย์และเป็นกระทิงในเวลาเดียวกันเลยอ่ะ เห็นภาพของกระทิงว่าเวลาเจอกระทิงแล้วเกิดอะไรขึ้น และจ๊อบส์ก็เป็นตัวอย่างของกระทิงในรูปแบบหนึ่งด้วยซิ……อันนี้แลกเปลี่ยนว่าตัวเองเรียนรู้อะไรจากบทเขียนแลกเปลี่ยนของคน 2 คนค่า….5555

    ไอ้ความเป็นค้างคาวน่ะแหละ อุ้ยเขาเลยรู้สึกว่า เหมือนรู้อะไรล่วงหน้าเหมือนเทพที่มีตำนานเล่าขานกันมาไง

  • #9 สร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 January 2009 เวลา 17:17

    พี่สาวตาวิเคราะห์ความเป็นกระทิงเจอกระทิง…คนที่มุ่งมั่นหาคำตอบเจอผู้ที่มุ่งมั่นหาคำตอบ?
    หรือว่ากระทิงในเชิงคำพูดที่ไม่ระวังกระทบใจคน??

    ถ้าอย่างหลังอาจจะใช่นิดหน่อยค่ะ ตรงที่มักจะเขียนไปตามที่คิดเลย..ไม่ชลอว่าคำจะมีผลกระทบไหม เหมือนกับคำว่ารอกอดที่ก็รู้สึกว่าชอบอยากเรียกอย่างนี้ เรียกทีไรรู้สึกว่าคุณรอกอด.. น่ารักน่าหยอก ..ไม่ดุ….รู้สึกถึงตัวตนของคุณรอกอดคือพร้อมและรอสำหรับการกอดผู้คนอื่นๆเสมอๆ …แฮ่ม 

    ส่วนที่บอกว่าคารวะท่านเทพ..ก็เพราะเคารพนับถือในความสามารถ เคยถามลุงเอกว่าทำไมเรียกว่าเทพ…ลุงบอกว่าก็เขาเป็นเทพ …แล้วขยายความนิดหน่อยว่าสังเกตพวกเทพซิ นอนหลังเที่ยงคืนทั้งนั้น พวกเทพจะไม่นอนก่อนเที่ยงคืนคือจะไม่นอนข้ามวัน…ทีนี้ก็เชื่อซิคะ เชื่อลุงเอก ลุงน้องจิ …แล้วก็คิดว่าเออ…นอกจากจะไม่นอนข้ามวันแล้ว ยังเป็นเทพพยากรณ์อีกแน่ะ อ่านบันทึกบางทีเรื่องก็ไม่เกี่ยวข้องซักกะติ๊ด แต่ไปปิ๊งบางประเด็นก็มี…เรียกว่าอ่านแล้วเกิดไอเดียน่ะค่ะ

    อืม..สนุกที่จะตามอ่านแล้วเกิดไอเดียแต่มักไม่ค่อยได้บอกเล่าความคิดให้ความเห็นเท่าไหร่ …อย่างที่เคยบอกว่ามักจะอ่านหลายรอบในหนึ่งบันทึกบางทีมีเวลาก็เขียนต่อเลย ถ้าต้องไปทำอย่างอื่นก็เก็บเอาไว้ก่อน…ของหลายๆคนก็ทำคล้ายๆกันค่ะ…ส่วนใหญ่ของการให้ความเห็นขึ้นกับเวลาที่จะได้อยู่หน้าจอมากกว่า

    เรื่องตีความคำนี่ตัวเองไม่ค่อยถนัดค่ะ พี่สาวตามาอธิบายก็ดีเหมือนกันค่ะ ได้เรียนรู้ไปด้วย..ขอบคุณนะคะ

  • #10 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 January 2009 เวลา 0:12
    บันทึกผมเขียนให้คิดไม่ได้เขียนให้เชื่อครับ ท่านใดคิดแล้วประยุกต์ใช้ได้ ผมก็ดีใจแล้วครับ แต่ว่าไม่มีอะไรติดค้างกัน

    เพราะประโยชน์เกิดขึ้นหลังจากพิจารณาไตร่ตรอง แล้วนำไปประยุกต์ จึงไม่เหมือนกับที่ผมเขียน เป็นไปตามพื้นฐาน ประสบการณ์และความลึกซึ้งของแต่ละคน

    และผมก็มั่นใจว่ามีคนเป็นจำนวนมาก ที่อ่านแล้วไม่ปิ๊งริงกะเบลครับ (แปลว่าไม่รู้เรื่อง) คงเพราะชอบให้บอกอะไรตรงๆ แหะๆ นี่อาจเป็นนิสัยอินทรีช่างคิดที่ซ่อนอยู่ใต้ภาพลักษณ์ของหนูที่ไม่ฟันธง (ทิศตรงข้ามกันเลย) — ซึ่งเรื่องนี้ผมก็บอกตรงๆ นะครับ ว่าอ่านแล้วต้องไปคิดเอง การตีความไม่เหมือนกันก็ไม่ใช่ปัญหา แต่กลับจะนำไปสู่ความแตกฉานถ้าเราเรียนรู้เป็น

  • #11 ko1760mm ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 January 2009 เวลา 10:38

    รู้จัก สตีฟ จ็อบส์ ก็ตอนซื้อ ipod touch มาใช้นี่แหละครับ

    ผลผลิตทางความคิดเค้าดีจริงๆ 

    จน ค่ายทั่วไปตามท้องตลาดพากัน  ออกผลิตภัณฑ์มาเลียนแบบกันเพียบ 
    ไม่รู้พวกนั้น  สะกดคำว่า ละอายเป็นบ้างมั้ย? 

    ถ้าโลกเรานี้ รู้จักเพียงแต่คำว่า ลอก  เราคงตื่นขึ้นมามองเห็นสิ่งของเดิมๆ ทำซ้ำไปซ้ำมา 
    เปลี่ยน รูป เปลี่ยน สี  เปลี่ยนนู้นนี่  แต่ยังคงเป็นของเดิมๆ  ย้ำอยู่กับที่

    ทำไมน้อ  ผู้คนถึงไม่คิดเป็นคนก้าวนำบ้าง  ก้าวออกมานอกรั้ว  แหกกฏ อะไรบ้าง
    โลกเราจะได้มีอะไรใหม่ๆ  บ้าง  ตื่นขึ้นมาวันใหม่จะได้ไม่ต้องเซ็งกับของเลียนแบบเดิมๆ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.17715096473694 sec
Sidebar: 0.19845700263977 sec