เมฆแผ่นดินไหว

โดย Logos เมื่อ 5 March 2009 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 7068

ตั้งแต่ปี 2537 Zhonghao Shou นักเคมีที่เกษียณแล้วอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ได้ทำนายแผ่นดินไหวนับพันครั้งโดยอาศัยรูปแบบของเมฆจากภาพถ่ายทางดาวเทียม โดยมีความถูกต้องถึง 70%

หน่วยงานรับผิดชอบเรื่องแผ่นดินไหวของสหรัฐ USGS ทำการสุ่มตรวจสอบการทำนาย 50 ตัวอย่าง พบว่าการทำนาย 34 ครั้ง (68%) ถูกต้องทั้งเวลา ตำแหน่ง และความแรง ส่วนอีก 16 ครั้ง ที่ทำนายไม่ถูก พบว่ามีความผิดพลาดในข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว หรือประสบการณ์ของ Shou เองซึ่งเพิ่งค้นพบข้อสังเกตนี้ — ด้วย Monte Carlo Simulation มีโอกาสทายถูกอย่างนี้ 1/5000 แต่ถ้าเป็น Brelsford-Jones Score Method จะมีโอกาสทายถูกอย่างนี้เพียง 1/16000

ในวันที่ 25 ธ.ค. 2546 หนึ่งวันก่อนแผ่นดินไหวใหญ่ที่เมือง Bam ในอิหร่าน Shou ทำนายแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า M5.5 เหนือรอยแยกที่พาดผ่านอิหร่านภายในระยะ 60 วันจากคำทำนาย Shou สังเกตเห็นเมฆแผ่นดินไหวเหนือรอยแยกเป็นเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกัน ทั้งนักธรณีวิทยา และนักอุตุนิยมวิทยา ไม่สามารถอธิบายการเกิดเมฆแบบนี้ได้; เช้ามืดวันรุ่งขึ้นหลังจากที่เขาทำนาย เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด M6.8 ตรงตามคำทำนาย มีคนเสียชีวิตกว่า 26000 คน

ขงเบ้งพยากรณ์ฟ้าดิน?

Shou ตีพิมพ์ทฤษฎี Earthquake Vapor ในปี 2542 และปรับปรุงต่อในปี 2548 และ 2549 ซึ่งอธิบายอย่างง่ายๆ ได้ว่า

เมื่อรอยเลื่อนขบอัดกัน เกิดความเค้นในแผ่นดิน (หิน)ส่วนที่เปราะบางที่สุดแตกก่อน เมื่อแตกแล้วเกิดเป็นร่อง แม้จะเป็นร่องเล็กๆ น้ำใต้ดินก็จะไหลลงไปตามร่อง ลงไปสู่แหล่งความร้อนใต้พิภพกลายเป็นไอ บวกกับความเสียดทานจากการที่แผ่นดินเบียดกัน สร้างความร้อนขึ้น จนทำให้น้ำจึงระเหยเป็นไอ ไอน้ำที่ยังอยู่ในรอยแตกยิ่งเพิ่มแรงเค้นในรอยแยก แล้วไอน้ำย้อนกลับออกมาตามรอยแตกขึ้นสู่ผิวดิน เมื่อขึ้นสู่บรรยากาศ ก็ลอยขึ้นสูงกระทบกับความเย็นข้างบน กลายเป็นเมฆแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นอาการที่สังเกตเห็นได้สำหรับแผ่นดินไหวแบบนี้

แผ่นดินไหวในลักษณะนี้ สามารถทำนายได้สามอย่าง

  1. จุดกำเนิดเมฆแผ่นดินไหว ปลายที่อยู่นิ่ง คือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว
  2. ยิ่งมีไอน้ำกลายเป็นเมฆก้อนโต แผ่นดินไหวก็จะยิ่งแรง ปริมาณไอน้ำ สัมพันธ์กับความเค้นในรอยแยก
  3. จากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวและภาพถ่ายดาวเทียม 500 เหตุการณ์ พบว่าระยะที่นานที่สุด ที่เกิดแผ่นดินไหวนับจากที่สังเกตเห็นเมฆเป็นครั้งแรก คือ 112 วัน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 30 วัน

ขอบคุณอาจารย์คนไร้กรอบ (ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ) ที่นำเรื่องนี้มาเล่าในงานตีแตกอีสาน (เฮฯ 7) ครับ

« « Prev : เมฆ

Next : คณะกรรมการพนักงานสัมพันธ์ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

9 ความคิดเห็น

  • #1 nontster ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 March 2009 เวลา 0:36

    ไม่ธรรมดาจริงๆครับเรื่องนี้

    ว่าแต่มีการทำออกมาในรูปของ software image processing ไหมครับ

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 March 2009 เวลา 0:45
    เท่าที่รู้ ยังไม่มีครับ ภาพถ่ายจากดาวเทียม เป็นภาพ hourly snapshot ซึ่งช้า ได้ทราบว่าขณะนี้ เกิดนักดูเมฆเป็นหมื่นคนแล้ว

    รอยแยกศรีสวัสดิ์ที่วิ่งผ่านเขื่อนศรีนครินทร์ เป็นความเสี่ยงอันใหญ่ของกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม รอยแยกนั้นอยู่ทางตะวันตก ดังนั้นก็หัดมองเมฆทางทิศตะวันตกไว้บ้าง มีรอยแยกอื่นๆ ที่เล็กกว่าอยู่ทางภาคตะวันตก และภาคเหนือของไทยด้วย

    การดูเมฆ ไม่จำเป็นต้องใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมหรอกครับ แค่มองขึ้นไปบนฟ้า เห็นเมฆเป็นแท่ง หรือเป็นริ้ว ในระดับที่ไม่สูงนัก ก็ให้สงสัยไว้ก่อน (ถ้าเผ่นได้ เผ่นเลย)

    น่าจะเข้าใจวิธีการเกิดเมฆแผ่นดินไหว เพื่อที่จะระบุเมฆให้ได้ เช่นถ้าลมสงบหรือลมอ่อน อาจจะเห็นเป็นแท่ง ถ้าลมบนแรง ก็จะพัดขนานพื้นไปเป็นแนวเรียวยาว ถ้ามีรอยแตกหลายแห่งจะเห็นเป็นริ้ว ฯลฯ เมฆแบบนี้น่าจะอยู่ต่ำ เมฆในระดับต่ำทั่วๆไป มักจะมีขนาดใหญ่ แต่เมฆแผ่นดินไหวมักจะเรียวยาว — ไม่ใช่ว่าเห็นเมฆเป็นริ้ว ก็จะเข้าใจว่าเป็นเมฆแผ่นดินไหวไปซะหมด ตื่นเต้นจนเกินควร

    YouTube: 10 mins before the 2008 Sichuan earthquake in China
    แล้วอย่าลืมคลิก (more info) ทางด้านขวาด้วยครับ

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 March 2009 เวลา 10:00

    ทึ่ง น่าสนใจ อีกมากมายที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ

  • #4 สิทธิรักษ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 March 2009 เวลา 11:39

    น่าสนใจมากครับ

  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 March 2009 เวลา 11:49
    ถ้าฟังอาจารย์ไร้กรอบจะมันกว่านี้อีกนะครับ มีเกร็ดเยอะ มีรูปเยอะ แล้วมีเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย บันทึกนี้เพียงแต่ไปค้นข้อมูลมาให้พิจารณากันเองครับ

    ถ้า 2+2 คือแผ่นดินไหว แต่เราไม่รู้ว่าเกิด 2+2 เมื่อไหร่ ดู 4 (เมฆแผ่นดินไหว) เป็นสัญญาณเตือนก็ได้ แม้ว่า 4 ไม่ได้แปลว่าจะเกิดจาก 2+2 ก็ยังดีกว่ามีชีวิตอยู่บนความประมาท เรื่อยเจื้อยไปเรื่อยๆ หลงอยู่กับอะไรก็ไม่รู้

  • #6 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 March 2009 เวลา 12:08

    วิชาดูเมฆเป็นนั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว นานพอพอกับมนุษย์ออกมจากถ้ำ เฝ้ามองท้องฟ้าหาความสัมพันธ์ ของปรากฏการณ์บนท้องฟ้า กับปรกฏการณ์บนโลก เหมือนขงเบ้งที่ใช้วิชานี้รวมกับวิชาสถิติ จึงทำนายปรากฏการณ์ได้ ค่อนข้างแม่นยำ เราคนธรรมดาๆ ก็น่าจะเอาอย่างจดบันทึกเก็บเป็นสถิติ แล้วหาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา บางที่ท่านอาจจะพบอะไรที่ไม่มีใครรู้มาก่อนก็ได้ค่ะ ฝนตกครั้งแรกของปีที่บ้านคุณเมื่อไหร่ ฝนหยดสุดท้ายของปีที่ผ่านมาล่ะ เมื่อไหร่……..

  • #7 เมฆแผ่นดินไหว | ThaiQuake ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 January 2011 เวลา 14:16

    [...] Logos http://lanpanya.com/wash/archives/676 This entry was posted in ไม่มีหมวดหมู่. Bookmark the [...]

  • #8 born2011 ให้ความคิดเห็นเมื่อ 21 July 2011 เวลา 19:49

    search HAARP you will see something interesting.

  • #9 ลานซักล้าง » เฝ้าระวังความสั่น ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 August 2011 เวลา 0:30

    [...] เช่น earth sounding ช้างกับ ELF เมฆแผ่นดินไหว [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.1871709823608 sec
Sidebar: 0.38375210762024 sec