เฝ้าระวังความสั่น

อ่าน: 4602

ก็เรื่องแผ่นดินไหวนั่นล่ะครับ

จนปัจจุบัน ยังไม่มีใครทำนายแผ่นดินไหวได้แม่นยำ — ทำนายได้ แต่มักไม่ถูก; “มักไม่ถูก” แปลว่าทำนายไปเรื่อยๆ คงมีถูกบ้างเหมือนกัน — ซึ่งการทำนายด้วยความรู้จริงนั้น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสองสามเรื่อง คือ (1) เกิดที่ไหน (2) เกิดเมื่อไหร่ในอนาคต [และ (3) เกิดแรงแค่ไหน] ด้วยความซับซ้อนและแตกต่างของโครงสร้างของดิน+แผ่นเปลือกโลก แผ่นดินไหวเกิดได้จากหลายสาเหตุ มีผู้สังเกตสิ่งบอกเหตุซึ่งใช้ได้เป็นบางกรณี แต่ยังไม่มีวิธีการใดๆ ที่จะทำนายแผ่นดินไหวได้ถูกต้องแม่นยำ

ถึงจะไม่มีสูตรทำนายแผ่นดินไหวแบบครอบจักรวาล หมั่นสังเกตสิ่งบอกเหตุรอบตัว ก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย เช่น earth sounding ช้างกับ ELF เมฆแผ่นดินไหว การศึกษาการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกด้วย GPS ฯลฯ ส่วนสัญญาณจากอวกาศ มีผู้พยายามศึกษาเช่นกัน (ข้อมูลที่ผมเห็น ก็พบว่ามี correlations สูง แต่ยังไม่มีการตั้งทฤษฎี) และได้ร้องขอให้ช่วยกันสังเกต

ถ้าหากมีการทำนายแผ่นดินไหวที่แม่นยำก็ดีไป แต่ในเมื่อไม่มี ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กำหนดขอบเขตการเฝ้าระวังเอาไว้อย่างชัดเจน แม้จะเป็นลักษณะ reactive ก็ตาม

ผู้ที่มีอำนาจเตือนภัยพิบัติตามกฏหมายนั้น คือศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ซึ่งตัดรายการปกติออกอากาศผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจได้เลย แต่ ศภช.เอง ถูกตั้งขึ้นมาโดยมีภัยจากสึนามิเป็นแรงผลักดัน และมีภารกิจแรกๆ เป็นการเตือนภัยจากสึนามิ ในภายหลังจึงมีการขยายภารกิจ (อาจจะเพราะชื่อศูนย์ฯ ฟังดูกว้างๆ ก็ได้)

ในภาวะวิกฤตนั้น ไม่มีเวลาที่จะมานั่งคิดตรึกตรองอะไรหรอกครับ ภัยพิบัติไม่ได้เกิดบ่อย ดังนั้น ศภช.จึงมีเวลานั่งพิจารณาความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในแง่ต่างๆ กำหนดออกมาเป็น Standard operating procedure (SOP) ซึ่งกำหนดพื้นที่เฝ้าระวังเอาไว้

แผ่นดินไหวบนบก

หากติดตั้งตัวตรวจจับความสั่นสะเทือน P-wave ก็ยังมีเวลาพอที่จะเตือนภัยจาก S-wave ซึ่งมักจะมีความรุนแรงทำลายล้าง [ถอดบทเรียนสึนามิที่ญี่ปุ่น 2011-03-11] เมืองไทยมีเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวกระจัดกระจายอยู่ แต่กลับไปพึ่งรายงานแผ่นดินไหวของต่างประเทศ ซึ่งกว่าจะรายงาน (และตรวจสอบ) ไม่มีทางเตือนภัยล่วงหน้าเลยครับ คลื่นแผ่นดินไหวเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 4 กม/วินาที ดังนั้นหากตรวจจับแผ่นดินไหวใน P-wave ได้ มีเวลาอีกไม่กี่วินาทีที่ S-wave จะมาถึง แต่การรายงานของต่างประเทศ จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 นาที ส่วนใหญ่ประมาณครึ่งชั่วโมงถ้าเฝ้าเว็บต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา และบางทีนานกว่านั้น

ดังนั้นก็ไม่ต้องไปสนใจเรื่องข้อมูลของแผ่นดินไหวบนบก มากไปกว่าในลักษณะของข่าวหรอกครับ เตือนอะไรใครไม่ได้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ก็จะได้รับผลกระทบไปแล้ว ก่อนที่จะมีข่าวสารของทางราชการซะด้วยซ้ำไป

สำหรับแผ่นดินไหวบนบก มีตารางของระดับกิจกรรมของ ศภช. โดยใช้ความแรงกับระยะห่างจากชายแดนไทยมาตัดสินใจระดับของกิจกรรมตาม SOP ถ้าตกในช่องสีแดง จะได้ดูโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจกันนะครับ ช่องเฝ้าระวังและช่องแจ้งข่าวไม่ถือว่ามีความเร่งด่วน (แผ่นดินไหวไปแล้ว ผู้ที่รับรู้ถึงความสั่นสะเทือน ก็รับรู้ไปแล้ว)

แผ่นดินไหวในทะเล

SOP กำหนดกรอบพื้นที่เฝ้าระวังในมหาสมุทรไว้สองกรอบซ้อนกัน คือพื้นที่ใกล้ และพื้นที่ไกล

พื้นที่ใกล้ คือมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันออก (ใต้บังคลาเทศ) อ่าวเบงกอล ทะเลอันดามัน หัวเกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา และอ่าวไทย เส้นรุ้งที่ 88-103 องศาตะวันออก และเส้นแวงที่ 3-23 องศาเหนือ ครอบคลุมแนวเปลือกโลกมุดตัว (subduction zone) ในทะเลอันดามัน ส่วนทางฝั่งอ่าวไทย ไม่น่าจะมีแนวเปลือกโลกมุดตัวเนื่องจากไม่เคยปรากฏหลักฐานของแผ่นดินไหว

ส่วนพื้นที่ไกล คือมหาสมุทรอินเดียทั้งหมด ใต้เกาะสุมาตรา ทะเลจีนใต้ ไปยังฟิลิปปินส์ เส้นรุ่งที่ 75-125 องศาตะวันออก เส้นแวงที่ 7.5 องศาใต้ ถึง 25 องศาเหนือ

เรื่องแผ่นดินไหวไกลๆ เรียงกันไปเป็นตับแล้วเรารู้สึกว่าใกล้เข้ามาแล้วนี้ ก็เป็นเพียงตรรกะธรรมดา ว่าในเมื่อแผ่นเปลือกโลกขยับตัว มันก็น่าจะขยับไล่กันไป แต่เมื่อดูละเอียด จะเห็นว่าแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียนถูกแผ่นแปซิฟิคหรือแผ่นฟิลิบปินโนชน แผ่นอินโด-ออสเตรเลียนก็จะขยับด้านใต้ คือใต้เกาะสุมาตรา หรือใต้เกาะชวา — ส่วนแผ่นดินไหวทางภาคเหนือนั้น มาจากแผ่นดินบิด โดยอนุทวีปอินเดียชนกับทวีปเอเซียแถวเทือกเขาหิมาลัย ทำให้ที่ราบสูงทเบตเลื่อนไปทางตะวันออกไปทางเสฉวน แล้วเสฉวนเลื่อนลงใต้ เบียดยูนานและสิบสองจุไทย ดังการวัดด้วย GPS ที่อยู่ในลิงก์ข้างบนนะครับ

อย่างไรก็ตาม หากเกิดสึนามิขึ้นแถวฟิลิบปินส์ ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของไทย สึนามิจากฟิลิบปินส์ จะใช้เวลาสิบชั่วโมงกว่าจะมาถึงชายฝั่งไทย ซึ่งในช่วงเวลานี้ ก็น่าจะมีการยืนยันความมีอยู่จริงของคลื่นสึนามิจากประเทศเพื่อบ้าน(ที่อาจจะโดนสึนามิก่อน เช่น ฟิลิบปินส์ ซาบาร์ บรูไน ซาราวัค เวียดนาม มาเลเซีย หรือแม้แต่ติมอร์เลสเต และปาปัวนิวกีนี)

« « Prev : วัดมงคลชัยพัฒนา สระบุรี

Next : นาฬิกาแดด » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 August 2011 เวลา 1:38

    มันเกี่ยวกับ source strength , path length, damping , amplification

    สองอันแรก พอวัดและทำนายได้ แต่ สองอันหลังยากครับ

    พรหมลิขิต และ กรรมตามสนองก็ ทำนองเดียวกันแหละ อิอิ

    ทำแรงบางครั้งก็ได้ผลค่อย เพราะมันมีปัจจัยทอนเสริมตามเส้นทาง ต่างกันไป

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 August 2011 เวลา 1:53
    ครับพี่ เขียนให้บรรดาศาสดาพยากรณ์และสาวกที่อยู่นอกลานอ่าน-ให้เห็นข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ส่วนจะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่ครับ (อจินติตสูตร)

    ทางส่วนราชการ ทำอะไรคนไม่ค่อยรู้ มีข้อจำกัดก็ไม่บอก ดังนั้นความคาดหวังกับความเป็นจริงจึงมักไม่ตรงกัน แล้วก็เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ไม่พอใจ (แต่ไม่ได้ช่วยอะไร) ผมไม่ได้บอกว่าอะไรจะเกิดหรือไม่เกิด แต่เอา SOP มาให้ดูครับ ถ้าใครไม่ชอบตรงไหน ทำเสริมได้เลยแล้วประกาศให้รู้ ไม่ต้องบ่น จะได้มีประโยชน์ต่อคนอื่นด้วย แล้วจะได้ไม่ผูกขาด ทำซ้ำซ้อน หรือแย่งกันทำครับ

  • #3 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 August 2011 เวลา 9:21

    มีการทดลองแบบ Pseudo science (ที่นักวิทยาศาสตร์สายหลักตั้งข้อกังขาเยอะมาก แต่เบิร์ดว่าสนุกดี หึหึหึ) ของ ดร.มาซารุ อิโมโตะ เกี่ยวกับผลึกน้ำที่น่าสนใจอยู่ภาพหนึ่งค่ะ เป็นภาพผลึกน้ำใต้ดินจากภาคตะวันตกของจังหวัดชิมาเนะ ก่อนและหลังแผ่นดินไหว ซึ่งผลึกน้ำก่อนแผ่นดินไหว ไม่สามารถรวมเป็นผลึกที่สวยงามได้ แต่หลังแผ่นดินไหวเริ่มรวมตัวอีกครั้ง ก็น่าสนใจดีค่ะ ถ้าจะลองคุยรายละเอียดกับดร.คนนี้ดู

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 August 2011 เวลา 1:26
    Dr Masaru Emoto จะมาบรรยายที่หอประชุมกองทัพเรือวันที่ 1 ก.ย.เช้ายันเย็น งาน WATER & CRYSTALS Hado Seminar ครับ

    ผมได้รับเชิญด้วย แต่วันนั้นมีประชุม ก็เลยไปฟังไม่ได้


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.26880097389221 sec
Sidebar: 0.17418193817139 sec