ผลไม้ราคาตกต่ำ (ลำไย)

อ่าน: 5307

จากข้อความในบันทึกของครูบาว่า

…เมื่อเช้านี้ฟังทีวีรายการข่าวเรื่องลำไย

ลำไยเกรดA ราคา 9 บาท

ลำไยเกรดB ราคา 6 บาท

ลำไยเกรดC ราคา 2-3 บาท…

อย่างนี้ตายหยังเขียดครับ กิโลละไม่ถึงสิบบาท จะไม่เจ๊งชัยได้อย่างไร

ในขณะเดียวกัน ผมก็ไม่คิดว่าการเรียกร้องให้รับจำนำหรือประกันราคา จะเป็นการแก้ไขปัญหาอะไร (การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้แก้อะไรเลย แต่เลื่อนปัญหาไปไว้ในอนาคตเท่านั้น)

การแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำในกรณีของลำไยนี้ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น่าสนใจที่สุดครับ คือทำไมจะต้องขายลำไยในรูปผลิตภัณฑ์ลำไยด้วย

ข้อเสนอนี้ ให้บดลำไยเกรดต่ำ(ไม่ต้องปอกเปลือก)จนละเอียด กลายเป็นน้ำ กรองเอาน้ำหวานๆ ออกมา ผสมกับน้ำปูนใส หรือ Calcium Hydroxide Ca(OH)2 {ซึ่งคือการเอาปูนแดงหรือปูนขาวมาละลายน้ำ}

เมื่อผสมน้ำหวานกับน้ำปูนใส ทิ้งไว้สามชั่วโมงให้ตกตะกอน แยกตะกอนออกไป นำเอาน้ำเชื่อมเข้มข้นสีใสๆ มาปรับความเป็นกรดด่าง แล้วอุ่นให้น้ำเชื่อมเข้มข้นให้น้ำระเหยออกไปที่อุณหภูมิ 60°C (ซึ่งอุณหภูมิขนาดนี้ ไม่ต้องตั้งเตาไฟ แต่สามารถใช้แสงอาทิตย์อุ่นได้) น้ำตาลในน้ำเชื่อมก็จะตกผลึกเป็นก้อนนำมาบริโภคได้ ขายเป็นน้ำตาลสุขภาพได้ ประมาณดูต้นทุนคร่าวๆ น่าจะมีราคาดีกว่าขายเป็นลำไยครับ น้ำเชื่อมที่ไม่ตกตะกอน คือกากน้ำตาล (โมลาส) เอาไปทำอะไรอีกมากมาย — (1)

น้ำเชื่อมที่เอามาตกตะกอน เป็นน้ำตาลสุขภาพเพราะ น้ำเชื่อมนั้น มีน้ำตาลสามชนิดคือ กลูโคส : ซูโครส : ฟรุกโตส ในอัตราส่วน 1 : 4 : 1

น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) และน้ำตาลฟรุกโตส (C6H12O6 เช่นกันแต่โครงสร้างโมเลกุลต่างกัน) เป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว ร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ได้เลย ส่วนน้ำตาลที่ขายกันอยู่ทั่วไปในตลาดนั้น เป็นน้ำตาลเชิงซ้อน คือน้ำตาลซูโครส (C12H22O11)

ในน้ำเชื่อมเข้มข้นนั้น มีกลูโคสกับฟรุกโตสอยู่ครึ่งหนึ่ง ตรงนี้ใส่ยีสต์ลงไปหมัก ก็จะได้เอทานอล น้ำตาลอีกครึ่งหนึ่ง ยีสต์หมักไม่ได้ ถ้าจะแปลงซูโครสเป็นกลูโคสและฟรุกโตส ทำได้ด้วยกระบวนการเคมี ซึ่งมีสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในของสหรัฐรองรับอยู่ (หมดอายุวันที่ 4 มิ.ย. 2021) กระบวนการนี้ ต้องอาศัยนักเคมีช่วย แต่ก็เป็นวิธีเพิ่มมูลค่าลำไยแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น — (2)

ส่วนกระบวนการใน (1) เป็นสิ่งที่ชาวบ้านทำได้เอง ไม่ต้องใช้ความรู้อะไรมาก แต่ต้องระวังเรื่องความสะอาดในกระบวนการผลิตครับ

เอ๊ะ ถ้าจะลองทำดู ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย จะได้รู้เรื่องกันไปว่าเวิร์คหรือไม่

« « Prev : แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ยืนยัน การเอาชนะกองกำลังติดอาวุธ ทำได้ยากมาก

Next : ดัชนีบิ๊กแม็ค » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

10 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 July 2009 เวลา 8:35

    ที่ผ่านมาเราแก้ปัญหาลำไยวนอยู่ในอ่างค่ะ คิดแค่ลำไยสด ลำไยอบแห้ง ลำไยกระป๋อง และลำไยแช่แข็ง  โดยลืมข้อจำกัดของลำไยว่ากินได้ไม่มากก็เจ็บคอแล้ว!

    การระดมส่งเสริมที่ผ่านมายืนอยู่บนความเชื่อว่า ลำไยเป็นผลไม้ที่ไม่มีคู่แข่งในตลาดโลก(แต่ลืมว่าไทยค้าขายไม่เก่ง) ซึ่งความเชื่อนี้เริ่มไม่เป้นความจริง เพราะจีนกับกัมพูชาก็เริ่มปลูกลำไยกันเป็นล่ำเป็นสันแล้ว

    การทำน้ำตาลจากลำไยควรดันองค์ความรู้ลงสู่ระดับชาวบ้าน มากกว่าจะมุ่งแต่อุตสาหกรรมเพียงด้านเดียว เพราะนักวิจัยส่วนใหญ่ไม่มีหัวการค้าและถ้าพ่อค้าได้องค์ความรู้นี้ไปฝ่าย เดียวเกษตรกรก็จะกลายเป็นลูกไล่อีกครั้ง 

    เกษตรชาวสวนลำไยมีการรวมตัวกันหลายกลุ่ม เรามีกลุ่มสหกรณ์มากมาย มีกลุ่มแม่บ้าน มีกลุ่มยุวเกษตรซึ่งมีเงินทุน มีสมาชิก ขาดแต่องค์ความรู้ที่เหมาะสมเท่านั้นเอง

    จำได้ว่าปี 47 (รบ.ชุดไหนก็คงไล่ถูกนะคะ ) ได้สนับสนุนเครื่องบรรจุลำไยกระป๋องให้ชุมชนในลำพูนเพื่อดึงลำไยออกนอกตลาด แต่เครื่องมาถึงตอนปลายฤดูลำไย  และเกษตรกรไม่มีความรู้ในการบรรจุ ไ่ม่มีตลาด จะขายที่โอทอปก็ไม่เวิร์ค จนหลังๆไม่ทราบว่าเครื่องนี้ยังอยู่หรือไม่ และนำไปบรรจุผลไม้ ผักชนิดอื่นนอกจากลำไยจะดีหรือเปล่าเพราะลำไยก็มีแค่ฤดูเดียว

    ถ้ากัดไม่ปล่อย เอาจริง ไม่จับจด …เราก็คงไม่ต้องแก้ปัญหาแบบอยู่ในอ่างเหมือนเดิม

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 July 2009 เวลา 8:47
    • ผมเห็นประเด็นนี้ ตอนที่เบิร์ดบันทึกไว้ สนใจขึ้นมาจนนึกไปว่าจะขึ้นเชียงใหม่ไปศึกษารายละเอียด แน่ะ..แต่ติดต่อทางโทรก่อนดีกว่า
    • เป็นปัญหาในดงหลวงด้วยเพราะเกษตรกรปลูกลำใยกันไม่น้อย ชาวบ้านคนหนึ่งบอกว่า เอาไปนั่งขายที่ตลาดหน้าอำเภอสามวันได้มา 100 บาท แถมไม่หมด เลยปล่อยคาต้นอย่างนั้น ใครอยากกินก็ไปเด็ดเอา  วันก่อนมีการทำ field day ชาวบ้านก็ตอกใส่หน้าอย่างจังเรื่องไปส่งเสริมแล้วไม่มีตลาด ราชการก็ไม่รับผิดชอบ….?????
    • โครงการที่ทำอยู่ก็สนับสนุนการแปรรูป
    • เอมันน่าที่จะสานต่อเรื่องนี้ วันนี้ไม่สำเร็จก็น่าที่จะเริ่มอะไรสักอย่างในเรื่องนี้
    • ชาวบ้านก็ซื้อกากน้ำตาลปีละมากๆเพื่อเอาไปทำปุ๋ยชีวภาพที่เราส่งเสริมอยู่
    • เอ…..เรื่องมันไปกันได้นี่ ทำไมเราไม่คิดต่อ สานต่อให้จบ
    • เราเองก็มี connection กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. คณะเกษตรศาสตร์ มข. ปรึกษาเรื่องเหล่านี้ให้มันเป็นโครงการ เป็นกิจกรรมได้ไหม ยิ่งดึงมหาวิทยาลัยลงมายิ่งดี ถือเป็น research เพื่อชุมชน น่าจะไปได้ดี มหาวิทยาลัยได้ exercise ปัญญา โครงการก็ตรงเป้ากับนโยบาย ชาวบ้านก็จะได้รับอานิสงค์การพัฒนาเทคโนโลยี่เพื่อชุมชน
    • เอาแบบง่ายๆ เอาแบบชุมชนทำเองได้
    • ผมจะสานต่อเรื่องนี้ครับ ดูซิจะไปถึงไหน
    • ผมเองก็เอาบทความที่ เบิร์ดลิงค์ไว้ให้ไปศึกษาเมื่อคืน แล้วทำ flow chart ไว้ด้วยถึงขั้นตอนที่เขาแนะนำเบื้องต้น ซึ่งคิดว่าไม่ยาก
    • ขอบคุณ ที่คอนมาขยายกระบวนการ ขั้นตอนละเอียดลงไปอีก จะเอาไปปรึกษากันต่อครับ

    เข้าหมู่บ้านก่อนนะ มีการคุยกันกับชาวบ้านในเรื่องการปลูกพืช

  • #3 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 July 2009 เวลา 9:44

    มีเจ้าภาพแล้ว ท่านบางทรายเป็นหัวหอก  เราเป็นด้ามหอก ติดต่อ ติดตาม  นำความรู้มาแก้ปัญหาให้ชุมชน  เอาง่ายๆแค่กากน้ำตาลมาเลี้ยงวัว ทำปุ๋ยชีวภาพ ก็ทื่อๆเท่อๆได้แล้ว ถ้าเป็นเก็ดน้ำตาล เม้ดน้ำตาล หรือในรูปอื่นอีก ทำดีๆลำใยจะไม่พอเข้าโรงงานด้วยซ้ำไป

  • #4 แป๋ว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 July 2009 เวลา 17:56

    พี่บางทรายลองไปคุยกับ รศ.ดร.ประสิทธิ์ ใจศีล ดูนะคะ เพราะอาจารย์เขาทำเอทธานอลจากอ้อยอยู่น่าจะขยายผลมาถึงลำไยได้ค่ะ

  • #5 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 July 2009 เวลา 19:04

    มีงานวิจัยจากลำไยที่ต่อยอดกลายเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชิ้นเชียวค่ะ โดยเฉพาะเครื่องสำอางค์

    สารสกัดจากเมล็ดลำไยมีคุณสมบัติในการช่วยลดโรคปวดข้อ และเสริมความงามได้อย่างเยี่ยมยอดเชียวค่ะ
    สาร Longan - Phytocomplex™ ในเมล็ดลำไยได้นำไปใช้ในเครื่องสำอางค์พรีม่า เฮิร์บ โดยเภสัชกร อัครวิชญ์ วินิจเขตคำนวณ ร่วมกับทีมวิจัยของ ศ.ดร.อุษณีย์ วิเขตคำนวณ หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะแพทยศาสตร์ มช. เครื่องสำอางค์จากสารในเมล็ดลำไยนี้ได้รับการคัดเลือกเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแห่งชาติ ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(สนช.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สภาการวิจัยแห่งชาติ(สกว.) และเป็นหนึ่งในโครงการหนึ่งอุตสาหกรรมหนึ่งจังหวัดของเชียงใหม่ ที่ถูกคัดเลือกโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยด้วยค่ะ ^ ^

    ลำไยมีมากกว่าที่คิด สามารถเป็นน้ำตาล เป็นเครื่องสำอางค์ระดับพรีเมี่ยม และยังเป็นยารักษาโรคปวดข้อได้ด้วย นอกจากน้ำผึ้งจากดอกลำไย อิอิอิ…อยู่ที่เราจะเชื่อมได้หรือไม่เท่านั้นเองค่ะ ม.แม่ฟ้าหลวงมีอาจารย์ที่สนใจทำเกี่ยวกับลำไยอยู่เช่นเดียวกัน แต่ยังหาไม่เจอ ไว้เจอตัวแล้วจะเล่าให้ฟังนะคะว่าได้ผลประการใดบ้าง

  • #6 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 July 2009 เวลา 19:13
    อ.ชาคริต ลานคนธรรมดา ทำด้านพลังงานทดแทน-เรื่องไบโอดีเซลครับ
  • #7 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 July 2009 เวลา 23:42

    #4 ขอบคุณอาจารย์แป๋วครับ

    #3 พ่อครูบาฯครับ จะลองวิ่งดูสักตั้งว่าจะไปถึงไหนนะครับ

  • #8 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 July 2009 เวลา 6:49

    เป็นอีกก้าวหนึ่ง ของชาวเฮ นะครับ ท่านบางทราย
    ผมรู้ตื้นๆ จะทำเรื่องมะรุม มะกล่ำ ครับ

  • #9 ป้าจุ๋ม ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 August 2009 เวลา 20:45

    -ป้าจุ๋มอ่านเรื่ิองการแปรรูปลำไยตามที่กล่าวข้างต้น ก็เห็นด้วยค่ะ และอยากนำมาทดลองทำด้วยตัวเองแบบง่ายๆแต่ก็ไม่ได้ทำสักที…แต่หลังจากไปบ้านแม่ลำใยครั้งนี้ได้ข่าวว่าลำไยกิโลฯละ 1 บาท…โถมากไปแล้วน๊ะ…วันนี้เข้าที่ทำงานสำรวจอุปกรณ์แล้วลองเขียนขั้นตอนและวิธีการ รวมทั้งดูวัตถุดิบที่จะใช้ เช่นน้ำปูนใส และอื่นๆดูว่าพร้อม ตอนนี้มาถึงพระเอกคือลำไย ก็จะไปซื้อปรากฎว่าช่วงนี้ใกล้สาร์ทจีน ลำไยกิโลฯละ 35 บาท ไอ้หยา!!!คงต้องพับไว้ก่อนค่ะ เลยซื้อมาแค่ช่อเดียวพอทานกันคนละ 5-6ลูกพอ…อิอิ
    -คิดว่าหลังสาร์ทจีนราคาคงจะลงตามเดิม เพราะปีนี้ผลผลิตลำไยมากจริงๆค่ะ

  • #10 ลานซักล้าง » น้ำตาลลองกอง ได้หรือไม่ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 January 2011 เวลา 17:35

    [...] [ผลไม้ราคาตกต่ำ (ลำไย)] [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.17243909835815 sec
Sidebar: 0.14078307151794 sec