ปุ๋ยสั่งตัด (3)

อ่าน: 4961

เมื่อรู้ว่าดินที่เพาะปลูก อยู่ในชุดดินใด และทำการวัดปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ในดินออกมาแล้ว ก็สามารถเปิดตารางเทียบดูได้ว่ากับพืชที่ปลูกลงบนชุดดินแบบนั้น และมีธาตุอาหารแบบที่วัดออกมา ควรจะปรับปรุงธาตุอาหารด้วยอะไร เป็นปริมาณเท่าไหร่

การตะบี้ตะบันใส่ปุ๋ย โดยไม่รู้ว่าดินขาดธาตุอะไร เป็นปริมาณเท่าไหร่ เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า ไม่ให้ผลผลิตมากเท่าที่ควรจะเป็น

คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยทุนวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน มหาวิทยาลัยแห่งฮาวาย ได้จัดทำเว็บไซต์การจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ (Site-specific nutrient management) ขึ้นมา

ในเว็บไซต์นี้ มีโปรแกรมสองชุด ชื่อว่า SimCorn และ SimRice ใช้สำหรับเปิดตารางดูค่าว่าชุดดินกับธาตุอาหารที่มีอยู่ จะต้องเพิ่มอะไรอีกเท่าไหร่ แล้วในกรณีที่สูตรธาตุอาหารที่พืชต้องการจากดิน ไม่มีขายเป็นปุ๋ยสูตรสำเร็จรูป โปรแกรมทั้งสองนี้ สามารถคำนวณส่วนผสมจากแม่ปุ๋ยหลักได้ด้วย

โปรแกรม SimCorn ใช้กับข้าวโพด ส่วนโปรแกรม SimRice ใช้กับข้าวเปลือกและยางพาราซึ่งใช้ธาตุอาหารในปริมาณ กก./ไร่ เท่าๆกัน

สำหรับเรื่องของชุดดิน ถ้ารู้พิกัด ก็สามารถถามกรมพัฒนาที่ดินตามบันทึกดินได้ แต่ถ้าไม่มี GPS โปรแกรมสามารถจะ “เดา” ชุดดินจากเนื้อดิน สีดิน ชิ้นส่วนหยาบ ร่วมกับจังหวัดที่ตั้งได้

ข้อเสียของโปรแกรมทั้งสองคือใช้ร่วมกับฐานข้อมูล Microsoft Access รุ่น 2000 หรือใหม่กว่า

« « Prev : ปุ๋ยสั่งตัด (2)

Next : ถ่านแกลบ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

14 ความคิดเห็น

  • #1 vee ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 0:16

    มีคน port ไปเป็น php แล้วหรือเปล่าครับ? คุ้นๆ อะ

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 0:26
    ไม่รู้เหมือนกันครับ
  • #3 vee ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 0:33

    http://naist.cpe.ku.ac.th/soil/soilsuggest.php เผื่อลองดูนะครับ

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 0:40
    ดีมากเลย ขอบคุณครับ คงยังพัฒนาอยู่ แต่ก็น่าจะเอาขึ้นเว็บ — เกษตรกรไปอินเทอร์เน็ตคาเฟ่หรือไป อบต. ก็สามารถจะใช้เว็บนี้ได้

    ในส่วนของ input มีปัญหาสองอย่าง

    1. ควรให้เลือกชนิดของพืชได้: ข้าว ข้าวโพด ยางพารา
    2. ควรให้เลือกว่ารู้จังหวัด รู้ชุดดิน หรือรู้พิกัด — ปัญหาคือในหนึ่งจังหวัด จะมีชุดดินหลายชุด เช่นจังหวัดขอนแก่น มีชุดดิน 15 ชนิด (บรบือ บ้านจ้อง เชียงใหม่ จตุรัส โคราช น้ำพอง ปากช่อง โพนพิสัย สตึก ตาคลี ท่าม่วง ทับกวาง ท่ายาง วาริน และยโสธร) ชุดดินแต่ละชนิด ใช้ปุ๋ยไม่เท่ากันครับ — ชื่อชุดดิน เป็น key ของ database lookup; พิกัด geolocation ไป lookup ชื่อชุดดินได้; ส่วนชื่อจังหวัดน่าจะหยาบไปหน่อยนะครับ
  • #5 vee ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 1:02

    มีแบบ sms ด้วยนะครับ http://naist.cpe.ku.ac.th/uknowcenter/ … ผมไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับ ว่าที่ผมเอามาโพส เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด หรือเข้าไปถูกที่หรือเปล่า …

    geolocation คืออะไรหรือครับ? จังหวัดคงไม่ได้เอาไว้หาชุดดินหรือเปล่าครับ? เห็นมีช่องให้ใส่ชุดดินต่างหาก

  • #6 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 1:08
    geolocation คือพิกัดเส้นรุ้ง เส้นแวงครับ ผมลองเล่นดูแล้วเห็นว่ามีชุดดินอยู่จริง แต่มันไม่ตรงกับข้อมูลที่ได้มาจาก distribution CD ที่ได้มาเมื่อสองวันก่อนครับ

    Result table ของข้าวที่ จ.ขอนแก่น มีชุดดินอยู่ 16 ชุด แต่สำหรับข้าวโพดกลับมี 15 ชุด งง!

  • #7 vee ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 1:08

    http://naist.cpe.ku.ac.th/soil/soilsearch.php หน้านี้น่าจะเอาไว้หาชุดดินครับ … แต่เหมือน charset หน้านี้แปลกๆ ผมเปิดดูไม่ได้อะ  T_T

  • #8 vee ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 1:08

    คือดูได้แต่เหมือนตัวอักษรแสดงไม่ถูกอะครับ

  • #9 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 1:10
    ฮา หน้าเดียวกัน ใช้ charset สองแบบ tis-620 กับ Unicode (utf-8)
  • #10 vee ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 1:10

    ข้าวโพดเลือกอย่างไรอะครับ? ผมหน้าที่ผมเข้าเห็นแต่ข้าวอะครับ …

  • #11 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 1:15
    ที่ naist คงกำลังพัฒนาอยู่มั๊งครับ ส่วนที่ release แล้ว โหลด SimCorn หรืแ SimRice ข้างบนไปลอง
  • #12 vee ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 1:46

    ผมไม่มี Access ล่ะครับ (ใช้ Ubuntu)

  • #13 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 March 2009 เวลา 1:47
    แหะๆ ผมก็ไม่มีครับ ไม่เคยใช้ และไม่คิดว่าจะใช้
  • #14 จอมป่วน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 21 March 2009 เวลา 12:57

    วิทยากรชาวบังคลาเทศที่ไปทำงานร่วมกันที่ปากีสถานเล่าให้ฟังว่า  ที่บังคลาเทศมีนโยบายให้แต่ละหมู่บ้านทำปุ๋ยหมักจากขยะชีวภาพของแต่ละหมู่บ้านที่แยกตั้งแต่ระดับครัวเรือน  แล้วทางกระทรวงเกษตรของเขาจะแนะนำการ Enrichment  (เติมสารอาหาร -N P K  ให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดและพื้นที่  ทำให้ดินร่วนซุย ( Soil Conditione)  และได้สารอาหารครบ)  เป็นการแก้ปัญหาขยะ(ลดปริมาณขยะ)  และลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.16352581977844 sec
Sidebar: 0.16298699378967 sec