น้ำตาลลองกอง ได้หรือไม่
เมื่อปลายปี 2549 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ประกาศงานวิจัยเรื่องน้ำตาลลำไย [ผลไม้ราคาตกต่ำ (ลำไย)] เป็นการแปรรูปลำไยซึ่งขณะนั้นมีปริมาณล้นตลาด ไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงขึ้น
มีอีเมลแจ้งข่าวมาเมื่อคืน ว่าตอนนี้การฟื้นฟูจากอุทกภัยและวาตภัยทางใต้ยังไม่เสร็จสิ้น ชาวบ้านชายฝั่งที่ปัตตานีทำประมงไม่ได้มาสองเดือนกว่าแล้ว เพราะว่าเรือเสียหาย เมื่อไม่มีเรือ ก็ไม่มีรายได้มาซ่อมแซมบ้านซึ่งเสียหายเหมือนกัน ฝนก็ยังตกอยู่ ความช่วยเหลือก็เข้าไม่ถึง มีชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นหัวคะแนนเป็นจำนวนมาก ตกสำรวจได้เป็นเอกฉันท์ซะทุกครั้ง ชาวบ้านเครียดจัดเพราะไม่มีอะไรทำ ไม่มีความหวัง ไม่มีอนาคต แล้วก็อาจจะเกิดเป็นเงื่อนไขแบบที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นมา
ที่ปัตตานี มีการประกันราคาลองกอง โดยมีราคาประกัน เกรดเอ 24 บาท เกรดบี 16 บาท และเกรดซี 8 บาท/กก. ข่าวไม่ได้พูดถึงค่าเก็บซึ่งอยู่ที่ 3 บาท/กก. แบบนี้ชาวสวนที่มีลองกองเกรดต่ำก็คงไม่ได้อะไรเท่าไหร่หรอกนะครับ ตอนนี้ไม่ใช่หน้าลองกองเสียด้วยซิ
แต่ถึงอย่างไรก็ยังน่าคิด ว่าถ้าหากทดลองนำลองกองเกรดต่ำมา ปอกเปลือกลองกอง(เพราะมียาง) แล้วเอามาปั่นคั้นน้ำหวาน(ด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้) กรองกากออก(กากผสมน้ำแล้วคั้นเอาความหวานได้อีก) ไล่น้ำ ตกตะกอน ด้วย yield สัก 50% — ตัวเลขสมมุตินะครับ — ลองกอง 1 กก. ได้น้ำตาลลองกอง 0.5 กก. ดังนั้นน้ำตาลลองกอง จะมีต้นทุน 16 บาท/กก. ในขณะที่น้ำตาลขาดตลาดและมีราคาแพงกว่านั้น กำไรที่อาจจะได้มา ก็เอามาแบ่งให้ชาวบ้านอีกเด้งหนึ่ง นอกเหนือจากค่าแรงที่ได้ไปก่อน
อาจจะเป็นเช่นเดียวกับน้ำตาลลำไย คือร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าน้ำตาลทรายที่ขายกันอยู่ในตลาด เป็นน้ำตาลไบโอ หากมีความหวานมาก ก็อาจขายได้ในราคาที่แพงกว่าน้ำตาลทรายในตลาด เพราะใช้ปริมาณน้อยกว่าแต่หวานเท่ากันครับ เป็นอาหารฮาลาลด้วยมั๊งครับ
ทั้งหมดนี้ไม่สำคัญเท่ากับว่าชาวบ้านมีอะไรทำ ไม่ฟุ้งซ่านมากนัก มีรายได้มาจุนเจือครอบครัวบ้าง ยังมีความหวัง…
« « Prev : แบบสำหรับสร้างเตา Gasification แบบ Updraft
Next : จะเอาอะไรไปเลี้ยงโลก » »
3 ความคิดเห็น
ปัญหาของเมืองไทยคือ มีนักวิจัยมากมาย แต่ไปทำงานวิจัยรับใช้โจทย์ฝรั่งเสียมาก ทั้งที่ปัญหาในเมืองไทยเราล้นหลาม ไม่น่าเชื่อว่าเราส่งออกมันสำปะหลังมากมาย แต่ไม่มีใครรู้ว่ามันสายพันธุ์ต่างๆมีองค์ประกอบ proximate/ultimate อย่างไรบ้าง แต่เราไปทำกันนาโน โก้เป็นบ้า
เรื่องผลไม้ก็มีให้ทำมาก เหลือแสน ก็หาคนทำน้อยมาก
ที่นิวซีแลนด์มีผลไม้ไม่กี่สกุล เช่น กีวี นั้นเขาวิจัยกันจนออกมาเป็นproduc นับพันชิ้น
ลองกองนั้นอย่าว่าแต่น้ำเลยครับ ผมว่า แม้แต่เปลือก เมล็ด ยาง ของมันก็ควรวิจัยหาทางเพิ่มรายได้ใช้ประโยชน์
เมื่อสิบกว่าปีก่อน หน่วยงานให้เงินวิจัยเขากำหนดแต่โจทย์รับใช้เมืองนอก ต้องตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ผมเลยด่าเสียยกใหญ่ ไม่น่าเชื่อว่าเสียงผมคนเดียวสามารถเปลี่ยนมาเป็น 50/50 ได้แล้วในวันนี้ 50 ที่ได้มาคืองานวิจัยด้านการเกษตรครับ (ที่ผมรู้เพราะมี “นายใหญ่” มาบ่นให้ผมฟังว่ามีคนเขาเขียนบทควาสมด่ามา เกิดการตื่นตัวกันใหญ่ โดยท่านไม่รู้ว่าผมคือคนที่ด่าไปนั้น)
ผมว่าถ้าเราช่วยกันให้ข้อมูลกับรัฐบาล (ผมให้มาจนมือจะหงิกแล้ว) ว่าต้องกำหนดโจทย์วิจัยให้สอดคล้องกับปัญหาของประเทศ เลิกเห่อตีพิพม์วารสารนานาชาติเสียที ก็คงจะช่วยเกษตรกรไทยได้มากกว่านี้ครับ