แก้ไขหรือรอไป
เน็ตผมเจ๊งครับ ต่อผ่านมือถือได้แต่ไม่ถนัด ดังนั้นจะไม่เขียนอะไรยาวมากๆ
น้ำท่วมหาดใหญ่ ถ้าท่วมแล้ว การแก้ไขโดยการเร่งระบายน้ำนั้น น่าจะถูกต้อง แต่ถ้าชลอน้ำเอาไว้ไม่ให้ท่วมเลย น่าจะดีกว่า
น้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาบรรทัดเข้าสู่นครศรีธรรมราช-พัทลุง และอาจจะไปยังจังหวัดอื่นๆ เกิดจากฝนตกลงกลางคาบสมุทรซึ่งเป็นภูเขา ภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำ ปริมาณน้ำฝนตกวันละ 100-200 มม. คูณกับพื้นที่ภูเขากลายเป็นปริมาตรน้ำมหาศาล แต่น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ ก็จะไหลลงไปรวมกันในโตรกเขา ตามลุ่มน้ำลำธาร และไหลต่อไปยังชุมชน และเมืองซึ่งมักตั้งอยู่ใกล้ทางน้ำเสมอ… เป็นอาการเดียวกับหาดใหญ่ สุโขทัย บางระกำ-พิษณุโลก บางบาล-อยุธยา เมื่อมีฝนตกหนักอีก ผลอย่างนี้ก็จะเกิดอีก
พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กว่าสองพันตารางกิโลเมตร ฝนตกหนัก 600 มม.ในเจ็ดวัน คิดเป็นปริมาณน้ำ 1,200 ล้านลูกบากศ์เมตร ถ้าดินและป่าดูดซับหรือชลอไว้ได้ครึ่งหนึ่ง น้ำที่เหลือ 600 ล้านลูกบากศ์เมตร ไหลไปทางปากช่องในเวลาอันรวดเร็ง ลงเขื่อนลำตะคองซึ่งมีความจุ 300 ล้านลูกบากศก์เมตร ลำตะคองจะไปรับได้ยังไงไหวล่ะครับ น้ำล้นเขื่อน แล้วอะไรที่อยู่ใต้เขื่อน ก็ท่วมแหลกราญกันไป
ฝนตก จะไปห้ามคงยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำอะไรไม่ได้ซะทีเดียวหรอกครับ สำคัญอยู่ที่ว่าทำอะไรหรือเปล่าต่างหาก หรือว่าจะรอให้น้ำท่วมเสียก่อนแล้วจึงจะช่วยเหลือ
จะแก้ปัญหาน้ำของพื้นที่อะไรก็ตาม ลองดูไปทางต้นน้ำซิครับ
« « Prev : ยุ่งยากเกินไปหรือเปล่า
Next : ข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติ » »
2 ความคิดเห็น
หัวใจสำคัญคือการจัดการบริหารทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ แบบสเฮด สหฮาร์ต สแฮนด์ ของทุกหน่วยงานของภาตรัฐที่กินเงินภาษีของราษฎร์ จะทำงานแยกส่วนไม่ได้ ใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน จะได้เลิกทำอะไรแบบที่ผ่านๆมา ปัญหาซ้ำซาก เสียดายเงินภาษี เรามีบทเรียนที่จำเจซ้ำซาก แล้วทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี การเข้าใจธรรมชาติมีข้อมูลปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นระบบ มันมีทางป้องกัน และแก้ไขให้ทันต่อเหตุการได้ แล้วเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส เรียนรู้ปรับให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนไป อาม่าว่ากันไว้ดีกว่าแก้ ขออย่างเดียวอย่าแก้ตัว ขอให้แก้ไข และขอโทษให้มากๆ หาก ทำไม่ได้ ขอความช่วยเหลือจากภาคประชาชน ร่วมด้วยช่วยกัน ไม่ใช่เกิดภัยภิบัติขอเงินบริจาก จนเป็นธุระกิจเสียที่….ใครสร้างกรรมอะไรย่อมได้รับกรรมอย่างแน่นอน