กระบวนทัศน์ใหม่: ประชาชนดูแลตนเอง

โดย Logos เมื่อ 14 November 2011 เวลา 0:28 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2963

ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ตั้งแต่พายุและน้ำท่วมทางใต้สุดของประเทศปี น้ำท่วมครึ่งประเทศ ต่อด้วยภัยหนาวเมื่อปีที่แล้ว ตามด้วยอุทกภัยจากลานินญา น้ำท่วมตลอดแนวเหนือ-ใต้ และตะวันตก-ตะวันออก ไม่นับภัยจากกิจกรรมของมนุษย์เช่นภัยจากการสู้รบตามชายแดน และภัยจากแม่น้ำเน่าเสียด้วยเหตุเรือบรรทุกน้ำตาลล่ม

เฉพาะหนึ่งปีกว่าๆ ที่ผ่านมา กระบวนการอาสาสมัครเข้มแข็งขึ้นมาก แต่กระบวนการแอ็บอาสาก็เช่นกัน

คำว่าอาสาสมัครนั้น อย่าได้เข้าใจว่าจะมาสั่งเค้าเลยครับ ควรจะต้องเคารพเขาต่างหาก พูดคุยและพยายามชี้เป้าที่ชัดเจน เพื่อที่จะมีทั้งการรวมพลัง (ให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน คือบรรเทาความทุกข์ยากของผู้ประสบภัย) และแบ่งสรรกำลังกันออกไปช่วยเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกระจุกตัว

ตามกฏหมายแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจ ผู้ว่าฯ ควรจะเป็นผู้ที่รู้ความเป็นไปของพื้นที่มากที่สุด แต่เครื่องมือของระบบราชการนั้น แทบไม่มีเลยนอกจากระบบรายงานของราชการ ซึ่งหนักไปทางตัวเลขเพื่อตั้งงบประมาณ แทนที่จะเป็นสถานการณ์จริงเกี่ยวกับชีวิตของชาวบ้าน

เครื่องมือที่รัฐน่าจะมี อยู่บน thaiflood.com นะครับ แต่เครื่องมือในลักษณะนี้ เกิดขึ้นมาได้เพราะคนที่ทำงานหน้างาน รู้เห็นความเป็นไป (และพบเจอความไม่ได้เรื่องทั้งหลาย) ทำขึ้นมาเพื่อช่วยให้การบริหารสถานการณ์ในยามวิกฤต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด หากรัฐจะเอาไปทำ ก็กรุณาปรึกษาคนทำงานสักหน่อย จะได้ไม่ประมูลของเล่นมาใช้เหมือนที่ผ่านๆ มา

เครื่องมือในลักษณะนี้ ไม่มีการรวมศูนย์สั่งการหรอกครับ แผนที่แสดงสถานการณ์ขึ้นมา ใครช่วยตรงไหนได้ จองพื้นที่นั้นเอาไว้ก่อนเข้าไปช่วย เมื่อเข้าไปช่วยแล้ว กลับมาอัพเดตข้อมูลด้วย เผื่อว่ามีอะไรขาดไป หรือจะต้องเข้าไปอีกเมื่อไร — กระบวนการอย่างนี้ ไม่ใช่หาถุง หารถ หาเรือลุยไปแจกของ ซึ่งจะเกิดสถานการณ์ที่ไปซ้ำกัน คนที่ได้ ได้มากเกินไป คนที่ไม่ได้ ก็อดอยู่นั่นแหละ หรือว่าลงพื้นที่ซะลึกเชียว แต่เอาของไปไม่พอ จนเกิดความไม่เท่าเทียมกันหรือแตกแยกในชุมชน

นอกจากนี้ยังแก้ปัญหาสำคัญที่ว่าความช่วยเหลือส่วนใหญ่ มักไปจากกรุงเทพ ทั้งนี้เป็นเพราะกรุงเทพมีกำลังทางเศรษฐกิจคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งประเทศ ส่วนกลาง+เครื่องไม้เครื่องมือก็ตั้งอยู่ในกรุงเทพ แต่เมื่อเส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด ชาวบ้านก็ลอยคออย่างเดียว… ซึ่งหากมีระบบประสานงานที่ดี บนความเชื่อว่าคนไทยไม่ทอดทิ้งกัน เมื่อเส้นทางจากกรุงเทพไปพื้นที่ประสบภัยถูกตัดขาด จังหวัดใกล้เคียงยังสามารถช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยได้… กรณีอย่างนี้มีอยู่เยอะเหมือนกัน โดยจะใช้วิธีขอข้อมูลจากคนรู้จักในพื้นที่ประสบภัย วิธีการนี้เป็นการช่วยเหลือโดยตรงแต่ไม่สามารถป้องกันความซ้ำซ้อนได้

หลังจากเกิดวิกฤตศรัทธาเรื่องของบริจาคในภาครัฐ ผมคิดว่ากระบวนการบริจาคเปลี่ยนไปครับ เปลี่ยนเป็นเรื่องการประดิษฐ์ของเพื่อช่วยให้อยู่รอด มากกว่าการซื้อของเอาไปบริจาค… เป็นเช่นเดียวกับจะให้ปลา หรือจะให้เบ็ดตกปลา

วันนี้ กรุงเทพคงลุ้นระทึกเมื่อลือกันว่าศปภ.จะรื้อบิ๊กแบ็กเป็นระยะทาง 30 เมตรให้เสร็จภายในเวลา 18น.ของวันที่ 14พย. แต่วันที่ 13 ชาวบ้านรื้อเองแล้ว เรื่องนี้จะทำให้น้ำไหลเข้ามาตามถนนวิภาวดีรังสิต พร้อมกับคลองเปรมประชากร แล้วจะเลยเถิดไปถึงไหนก็ต้องรอดู

เมื่อเราดูตัวเลขตามแบบความรู้แห้งๆ ก็จะเห็นว่า กทม.มีปั๊มสูบน้ำที่มีกำลังเพียงพอ แต่ถ้าปั๊มเกิดเสียขึ้นมา แล้วน้ำท่วมเขตกรุงเทพชั้นใน ก็เป็นความผิดของกทม.(?)… เอ้อ เรื่องการเมือง ไม่อยากยุ่งหรอกครับ

อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนสามารถดูภาพระดับน้ำในถนนและตรวจสอบระดับน้ำในคลองได้ที่

  • http://thaiflood.opencare.org/ แผนที่ที่มีพิกัดถูกต้อง ตรวจจับด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดเป็นระบบ ทำงานอัตโนมัติ แสดงข้อมูลทั่วประเทศ
  • http://gamling.org/ รายงานโดยภาคประชาชน ลงพิกัดในแผนที่อย่างถูกต้อง พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล
  • http://www.ismyhouseflooded.com/ รายงานโดยภาคประชาชน แยกตามรหัสไปรษณีย์ แต่ตอนนี้ไม่ค่อยมีคนรายงานแล้ว (น่าเสียดาย)

อย่าตกใจเลยครับว่าผมเอารัฐไปไว้ไหน ผมคิดว่ารัฐควรจะเป็น enabler เท่านั้นแหละ ควรเป็นอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว เพราะรัฐทำอะไร เจ๊งและรั่วไหลทุกที

« « Prev : ระดับความสูง

Next : คนมีความผิดพลาดเป็นธรรมดา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.0576848983765 sec
Sidebar: 0.055612087249756 sec