อาสา…อะไร

โดย Logos เมื่อ 23 January 2011 เวลา 3:12 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2984

คืนนี้ ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างปวดเมื่อยกับการเล่น Kinect (แก่แล้วไม่เจียม อิอิ) เจอดราม่าขนาดยาวบนทวิตเตอร์เกี่ยวกับงานอาสา :) เรื่องนี้ผมไม่ได้แปลกใจเลยครับ ในทวิตเตอร์นั้น แต่ละข้อความยาวเพียง 140 ตัวอักษร หากไม่ระมัดระวัง ก็อาจก่อให้เกิดความไม่เข้าใจกันได้ง่าย ขนาดเขียนอธิบายยาวๆ ก็ยังมีความเข้าใจผิดกันได้เนืองๆ เลย เพราะว่าภาษาดิ้นได้และคนมีอวิชชา

จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542

อาสา ก. เสนอตัวเข้ารับทำ.
น. ความหวัง เช่น นิราสา = ความหวังหมดแล้ว คือ ความหมดหวัง, ความต้องการ, ความอยาก. (ป.; ส. อาศา).
อาสาสมัคร ว. ที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความสมัครใจ เช่น ทหารอาสาสมัคร.
น. บุคคลที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความสมัครใจ เช่น เขาเป็นอาสาสมัคร.
สมัครใจ ก. สมัครด้วยความเต็มใจ เช่น งานนี้เขาสมัครใจเป็นแม่ครัว ชาวเขาสมัครใจย้ายถิ่นฐาน.
น. ความเต็มใจ เช่น ทำโดยสมัครใจ.

งานอาสาสมัคร จึงมักจะได้รับการยกย่องเนื่องจากเป็นการเสียสละ ไม่มีใครจ้างหรือไหว้วานให้ทำ ยอมเหนื่อยยากเพื่อทำในสิ่งที่ควรจะทำ แม้ว่าจะไม่ทำก็ได้เนื่องจากไม่ใช่หน้าที่ — ผมคิดว่างานอาสาไม่ใช่งานที่ได้ทั้งเงินและได้ทั้งกล่อง ถ้าเป็นอาสาจริง จะยอมสละแรง สละเวลา และเสียเงิน แลกกับการได้ประโยชน์สาธารณะมาแทน โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีใครรู้เห็นหรอกนะครับ (ถึงมีคนรู้เห็นก็ไม่แปลกเพราะไม่ได้งุบงิบทำนี่นา)

เมื่อมีการรับเงินทองข้าวของบริจาค จำเป็นต้องโปร่งใสอย่างมาก ป่วยการจะไปเรียกร้องให้คนอื่นโปร่งใสในเมื่อตัวเองก็ไม่ทำนะครับ

การรับบริจาคจำเป็นต้องเข้าใจว่าผู้รับบริจาคเป็นเพียงทางผ่านของน้ำใจจากผู้ให้ถึงผู้รับ เวลาระดมเงินและสิ่งของก็ป่าวประกาศไปว่า รับบริจาคเพื่อผู้ตกทุกข์ได้ยากไม่ใช่หรือครับ เงินทองข้าวของที่รับบริจาคมา ผู้บริจาคเพียงแต่ฝากไปให้ผู้ประสบภัยเท่านั้น

จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้ถ่องแท้ ว่าทุกอย่างที่รับฝากมา ต้องจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการบริจาค — หากผู้บริจาคเห็นความจำเป็น ว่ากิจการอาสาก็ต้องใช้เงินในการดำเนินการเช่นกัน เช่นค่าจ้างรถบรรทุก ค่าน้ำมัน ฯลฯ เขาก็ควรระบุวัตถุประสงค์ในการบริจาคมาอย่างชัดเจน ว่าให้ใช้ได้ตามความจำเป็นเพื่อให้ความช่วยเหลือไปถึงผู้ประสบภัย

แต่โอกาสที่ยิ่งใหญ่ของงานอาสานั้น ไม่ใช่แค่การบรรเทาทุกข์นะครับ การบรรเทาทุกข์ การปลอบประโลม อาจจะลดหรือระงับทุกข์ได้ชั่วคราว หากจริงจังกับความทุกข์ยากของชาวบ้าน งานอาสาไม่ใช่งานที่เป็นกระแสผ่านไปผ่านมาเหมือนลมพัด แจกของแล้วก็ผ่านไป พอสื่อเลิกประโคมข่าวก็เลิกทำ; อาสาสมัครควรจะใช้เวลาอยู่กับผู้ประสบภัยสักพัก ชี้ช่องทาง ให้ความคิด ให้ความรู้ ให้ความหวัง ไม่หยุดเพียงแค่การฟื้นฟูให้กลับไปเท่าเดิมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่พาชาวบ้านไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเก่า ถ้าพอใจที่เท่าเดิม เวลาเกิดเหตุอย่างนี้อีก ก็จะทุกข์เหมือนเดิมอีก ดังนั้นกระบวนการนี้ จึงเป็นเรื่องจริงจังและยาวนาน มีค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง

การ “ดีกว่าเดิม” ชาวบ้านเป็นคนตัดสินใจครับ ชาวบ้านจะต้องเป็นคนทำเอง เขารู้ข้อจำกัดของตัวเอง อาสาสมัครทำได้เพียงแต่เสนอแนะเท่านั้น

« « Prev : สิ่งหนึ่ง นำสู่อีกสิ่งหนึ่ง

Next : ถอดบทเรียนน้ำท่วมปลายปี 2553 » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.10253882408142 sec
Sidebar: 0.15228796005249 sec