แรงบันดาลใจ และโอกาส

โดย Logos เมื่อ 29 June 2009 เวลา 0:19 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4836

อ่านบันทึกนี้ เห็นรูปหนังสือ Popular Electronics เดือน January 1975 ทำให้ระลึกถึงแรงบันดาลใจอันแรก ที่ทำให้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เมื่อครั้งกระโน้นได้ครับ

ผมอ่าน Popular Electronics เดือน January และ February ปี 1975 ของพ่อ หนังสือทั้งสองเล่มน่าจะยังเก็บอยู่ที่ไหนสักที่ในบ้าน ในสมัยนั้นคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องเกินฝัน (IBM PC ตัวแรกออกสู่ตลาดปี 1981 เข้าเมืองไทยปีถัดมา ราคาเครื่องละเกือบแสนโดยมีแต่ฟลอบปี้ดิสก์ขนาด 5¼”) ในตอนนั้นผมเรียนมัธยม เริ่มหัดเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องคิดเลขโปรแกรมได้ TI-59 ซื้อหนังสือ Fortran IV (อ.เดือน เล่มสีเขียว) จากศูนย์หนังสือจุฬามาเรียนเอง มั่นใจว่าเขียน Fortran เป็นโดยไม่มีคอมพิวเตอร์ไว้ลองเล่น ต่อมาเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย จึงได้ลอง และก็เล่นได้ไม่ติดขัด

นี่ผ่านมา 34 ปี ทำให้หวนระลึกได้ว่าตัวเองมีโอกาสดีที่พบแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ตั้งแต่เด็ก จนทำให้เป็นคนที่มีชั่วโมงบินสูงในเรื่องนี้ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น electronics, discrete logic, computer architecture, software engineering ฯลฯ

มีเรื่องประหลาดอีกอย่างหนึ่งคือผมเรียนภาษา C จากการอ่าน source code ของ Ron Cain’s Small-C Compiler ที่ตีพิมพ์ใน Dr. Dobb’s Journal (DDJ) หลังจากเรียนปริญญาตรีจบไม่นาน ประมาณปี 1980 ในเวลานั้น วารสาร DDJ ไม่มีขายในเมืองไทย ต้องสมัครเอาโดยตรง

แรงบันดาลใจทั้งสองตัวอย่าง จะไม่เกิดผลอะไรเลยหากไม่ได้รับโอกาส เรื่องการหัดเขียนโปรแกรมเกิดขึ้นได้เพราะพ่อซื้อ TI-59 ซึ่งแพงมากให้ได้เล่น; ส่วนเรื่องภาษา C และ compiler construction ก็จะไม่ไปไหนถ้าบริษัทที่ทำงานอยู่ด้วยในตอนนั้น ไม่ไว้ใจวิศวกรจบใหม่ถึงขนาดว่าได้ใช้ development system กึ่งส่วนตัวในขณะที่มหาวิทยาลัยยังสอนเรื่อง single board computer ใช้ Z-80 อย่างเป็นล่ำเป็นสัน

แรงบันดาลใจต้องหาเองครับ ส่วนโอกาสต้องอาศัยผู้อื่นหยิบยื่นให้ ถ้ามีไม่ครบทั้งสองอย่าง สิ่งยิ่งใหญ่ก็อาจจะไม่เกิดขึ้น

อาคีมีดิส (คนที่ร้องยูเรก้า) พบความถ่วงจำเพาะเนื่องจากเจ้าเมืองให้เขาพิสูจน์ให้ได้ ว่าช่างทองที่ทำมงกุฎมาให้ โกงทองหรือไม่

ถ้าไม่มีโอกาส ก็ไม่มียูเรก้าครับ

ดังนั้น จึงต้องถามใจพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ พี่เลี้ยง หัวหน้างาน ฯลฯ ว่าคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องของการให้โอกาส ซึ่งไม่เหมือนกับการถีบลงน้ำกลางทะเล แล้วให้ว่ายน้ำเข้าฝั่งเอง

« « Prev : วิชาเหมือนสินค้า

Next : การให้ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 June 2009 เวลา 3:40

    โอกาสดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ก็อาจจะเจอ
    ถ้าไม่อยากได้ อยู่เรื่อยๆเรียงๆ
    บางทีเจอก็ไม่รู้ไม่ชี้ บางทีรู้ชี้แต่กึ๋นไม่พอต้อง รอๆ ๆต่อไป
    กว่าจะร้องยูเรก้าได้ มันต้องกล้าพอสมควรถึงจะทะลุโลก
    ที่รอกอดสร้างเสริมต้นทุนของโอกาสให้แก่ตัวเอง น่านับถือ
    ไม่อย่างงั้นโอกาสมา ถ้าสติปัญญาไม่ถูกทิศถูกทาง
    ก็จะเลือกไปยุ่งกับเรื่องพื้นๆ
    ไหนเลยจะได้เรียนล่วงหน้าไล่เกาะติดกับวิทยาการใหม่ๆ
    จะเรียกว่ารู้ฉวยโอกาสให้ตัวเอง จึงเดินล่วงหน้าคนส่วนใหญ่เสมอ
    ขออิอิ 1 จอก

  • #2 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 June 2009 เวลา 6:17

    อนุโมทนาความเห็นแรกว่า…

    • ขออิิอิ 1 จอก

    เจริญพร

  • #3 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 June 2009 เวลา 6:30

    ไอ้หยา ทำไมหรือจึงเป็นเทวดาของอาม่า ต้นทุนครอบครัวคือกรรมดี ที่ติดตัวมาตั้งเกิด คีย์เวิรด การลงทุนกับลูกมีแต่คำว่าได้กับได้ค่ะ   ….อิอิอิ

  • #4 Pad4thai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 June 2009 เวลา 20:55

    จะซักล้าง ซักใจ ใช่ไกลอืน
    ไม่ต้องฝืน ต้องย่าง ต้องห่างหา
    ไม่ต้องไกล แต่ไกล ในดวงตา
    ล้างอุรา ล้างจิต ถึงนิพพาน

  • #5 bojs ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 June 2009 เวลา 0:11

    From Malcolm Gladwell’s “Outliers” book:  source: Wikipedia

    Outliers has two Parts; “Part One: Opportunity” contains five chapters, and “Part Two: Legacy” has four. The book defined “Outliers” as people who do not fit into our normal understanding of achievement, Outliers deals with exceptional people, especially those who are smart, rich, and successful, and those who operate at the extreme outer edge of what is statistically possible

    A common theme that appears throughout Outliers is the “10,000-Hour Rule”. Gladwell claims that greatness requires enormous time …. Bill Gates met the 10,000-Hour Rule when he gained access to a high school computer in 1968 at the age of 13, and spent 10,000 hours programming on it. In Outliers, Gladwell interviews Gates, who says that unique access to a computer at a time when they were not commonplace helped him succeed. Without that access, Gladwell states that Gates would still be “a highly intelligent, driven, charming person and a successful professional”, but that he might not be worth US$50 billion.. Gladwell explains that reaching the 10,000-Hour Rule, which he considers the key to success in any field, is simply a matter of practicing a specific task that can be accomplished with 20 hours of work a week for 10 years. He also notes that he himself took exactly 10 years to meet the 10,000-Hour Rule, during his brief tenure at The American Spectator and his more recent job at The Washington Post…..

  • #6 ลานซักล้าง » เสร็จกับสำเร็จ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 July 2009 เวลา 0:26

    [...] “อย่างสูง” นั้น คุณ bojs เคยกล่าวถึงหนังสือชื่อ Outliers ของ Malcolm [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.31290411949158 sec
Sidebar: 0.33222079277039 sec