ปั๊มลม
อ่าน: 3976เรื่องปั๊มลมนี้ คาอยู่ในใจมานานแล้วครับ
ปั๊มลมที่สร้างแรงดัน สามารถจะปล่อยอากาศลงไปในท่อ ทำให้ท่อ/สายยางยกน้ำข้ามคันได้ เป็นการระบายน้ำขัง/น้ำค้างทุุ่งได้ดี จะระบายน้ำออกได้เร็วแค่ไหน ขึ้นกับปริมาตรอากาศที่ปล่อยออกไป [ปั๊มน้ำที่ใช้อากาศ]
บันทึกนี้ เอาวิธีสร้างกระบอกลูกสูบที่ทำด้วยไม้มาให้ดู การทดลองของเค้ากลับกับที่เราต้องการ กล่าวคือเค้าเอาลมจากเครื่องดูดฝุ่นมาเป่าลูกสูบเพื่อให้เกิดการหมุนเพลา แต่เราจะเอากำลังกลหมุนเพลาเพื่อให้ลูกสูบเคลื่อนที่แล้วปั๊มลมออกมา
ซึ่งต้องดัดแปลงแบบนิดหน่อยนะครับ คือว่าลิ้นอันที่สองที่ส่งลมสลับไปยังทั้งสองส่วนของลูกสูบไม่จำเป็นแล้ว เราจะทำเช็ควาล์วโดยให้แผ่นยางยึดสกรูไว้เพื่อให้ลมจากลูกสูบดันแผ่นยางออกมาจากลูกสูบได้ทางเดียว
ถ้าสร้างแรงดันได้ 1 บาร์ ก็จะยกน้ำได้สูง 10 เมตร (หรือว่าส่งอากาศลงไปปล่อยใต้ผิวน้ำได้ลึก 10 เมตร) แรงดันจะได้มากน้อยแค่ไหน คงแล้วแต่ว่าลูกสูบมีรอยรั่วซึมแค่ไหนนะครับ ถ้าสร้างด้วยไม้หรือท่อพลาสติก ก็คงสร้างแรงดันได้ไม่มาก แต่ถ้าสร้างได้ 0.1 บาร์ เราก็ผลักอากาศลงไปในน้ำได้ 1 เมตรจากผิวของน้ำ ซึ่งก็มากพอที่จะสูบน้ำออกไปเรื่อยๆ
ในกรณีของบ่อบาดาลก็เช่นกัน ถ้าปั๊มลมมีแรงดัน 0.1 บาร์ แต่ระดับน้ำอยู่ลึก 6 เมตรจากพื้นดิน เราก็สามารถปล่อยอากาศที่ระดับลึก 7 เมตรได้ เมื่อปล่อยอากาศแล้ว อากาศจะลอยขึ้นมาตามท่อเอง ส่วนจะนำน้ำออกมาได้แค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่าน้ำจะมาปล่อยที่ระดับสูงแค่ไหน ยิ่งปลายท่ออยู่สูง น้ำก็ยิ่งขึ้นมาได้น้อย (แปลว่าต้องใช้เวลานาน) และยังขึ้นกับปริมาณอากาศที่ปล่อยลงไปใต้ท่อด้วย
ถ้าจะถามว่าทำไมไม่ใช้ปั๊มน้ำ ปั๊มไดรโว่ ปั๊มซับเมอร์ช… ก็อย่างที่บอกไว้ละครับ ว่าน้ำเป็นจุดตายของหลายๆ ที่ รวมทั้งสวนป่าด้วย และไฟฟ้าก็ไม่ได้มีเสถียรภาพเหมือนในกรุงเทพ แต่พลังงานกลในการหมุนนั้น พอหาได้ ลมก็ได้ ถีบจักรยานก็ได้ ฯลฯ ถ้าไฟฟ้าดับ น้ำก็จะไม่ขาด แต่ถ้าสูบน้ำเยอะๆ ขึ้นไปบนถังเก็บ ค่าสร้างถังเก็บน้ำก็แพง หนัก และเสี่ยงจากแผ่นดินไหว… ดังนั้นผมว่าถังเก็บน้ำเตี้ยๆ และใช้พลังงานธรรมชาติ ฟังดูน่าเล่นกว่าครับ ปั๊มน้ำที่ใช้ปั๊มลมยังมีข้อดีที่ว่า ปั๊มลมไม่ต้องอยู่ใกล้ปลายท่อครับ แต่มีสายลม (สายยาง) ต่อไปก็ได้
« « Prev : ฟืนเทียม
Next : เที่ยววัดบวรนิเวศวิหาร » »
2 ความคิดเห็น
แรงดันอากาศจะยกน้ำได้ก็ต่อเมื่อมีผนังกั้นนะครับ เช่นผนังของลูกสูบบรรจุอยู่ในท่อที่มี seal กันรั่วซึม จากนั้นจะต้องนำเอาลูกสูบจากด้านบนลงไปด้านล่าง แล้วปล่อยอากาศเข้าไปเป็นระลอก ถ้าปล่อยอากาศที่ด้านล่างเฉยๆ ฟองอากาศจะลอยขึ้นด้วยหลักการของแรงลอยตัว ซึ่งแรงดันของอากาศจะเกิดการสมดุลกับแรงดันของน้ำ จึงไม่เกิดการยกตัวของน้ำด้วยแรงดันแต่อย่างใด
ผมเชื่อว่าการที่นำยกตัวขึ้นนั้นเกิดจากแรงเสียดทานของฟองอากาศทีกำลังลอยตัวขึ้นแล้วกระทำแรงนี้ต่อน้ำเสียมากกว่า ซึ่งระบบเช่นนี้แม้พอทำงานได้ ก็จะมีปสภ. ต่ำมากครับ ไม่น่าถึง 10% ในขณะที่ ปั๊มปกติทั่วไปทำงานได้ประมาณ 80%
ผมมีแนวคิดที่จะใช้ล้อรถมอไซค์ในการวิดน้ำ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม เสียแต่ว่า นศ.มีจำนวนจำกัด ไม่ค่อยมีมาสมัครทำโครงงานกับผม วันนี้มีมาสองกลุ่ม ให้ไปทำเครื่องขัดขาวข้าวกล้องแบบไร้การแตกหัก กับเครื่องหยอดเมล็ดข้าวเพื่อทดแทนการดำนา ไปแล้ว กลุ่มหน้ามาอาจให้ลองทำเครื่องสูบน้ำมอไซค์นี้ดูครับ