ฟืนเทียม

โดย Logos เมื่อ 12 January 2012 เวลา 6:11 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3162

พอไม่เขียนบันทึกทุกวัน ก็มีถามถึง

จากการที่ทดลองสร้างเตาเผาถ่าน biochar แบบง่ายๆ ที่สวนป่า โดยประสบความสำเร็จอย่างน่าชื่นชมตัวเอง ได้ความร้อนสูงโดยใช้ไม้เชื้อเพลิงน้อย [ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.] ก็เกิดคำถามตามมาว่าความร้อนเหล่านี้ จะเอาไปทำอะไรดี

ถ้าจะให้ดี ควรใช้ Cogeneration (CHP) หรือ กระบวนการแปลง syngas เป็นสารคล้ายน้ำมัน (Fischer-Tropsch process) แต่รู้สึกว่าจะไปกันใหญ่ ช่างมันก่อน เก็บเรื่องนี้ไว้แล้วหันมาดูเรื่องเชื้อเพลิงดีกว่าครับ

การใช้กิ่งไม้แห้งซึ่งไม่มีค่ามาเป็นเชื้อเพลิงนั้นก็ดีอยู่ กิ่งไม้เล็กๆ ไม่ต้องตัดต้นไม้ แค่เก็บเอากิ่งที่หักจากลม หรือหักตามอายุก็พอแล้ว หรือไม่ก็ตัดแต่งกิ่งซึ่งยิ่งตัดก็ยิ่งแตก สร้างร่มเงาให้กับดินทำให้ดินไม่เสื่อมสภาพเร็วนัก

แต่ถ้าไปเก็บกิ่งไม้เอาตอนที่จะจุดไฟ มักไม่ทันการแล้ว หมายความว่ากิ่งไม้ต้องเก็บไว้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งก็มีปัญหาการเก็บอีก เพราะกิ่งไม้เล็กมักจะหงิกงอไม่เป็นระเบียบ ถ้ามีผงถ่านหรือเผาถ่านแล้วแตกหักเสียหาย เราสามารถเอาถ่านมาอัดใหม่เป็นก้อนได้ (เรียกว่า charcoal briquette) จะเป็นเบ้าเหล็กกระทุ้งให้ถ่านเข้าไปอัดกันก็ได้ หรือว่าจะใช้เครื่องอัดก็ได้ มักรวมเศษถ่านเป็นถ่านก้อนใหญ่ออกมา

แต่ยังมี briquette อีกแบบหนึ่งซึ่งนำเยื่อไม้มาอัด โดยไม่ต้องเผาถ่าน เปลือกไม้และเนื้อไม้เป็นเซลลูโลสทั้งนั้น เมื่อนำมาทุบแล้วเอาไปแช่น้ำ ก็จะมีลักษณะยุ่ย จากนั้นจึงนำไปอัดรวมกันครับ

เก็บเอาเศษไม้มาสับให้ละเอียด แช่น้ำทิ้งไว้ให้เปื่อย จากนั้นก็เอามาเทลงในแบบหล่อซึ่งสร้างด้วยท่อพีวีซีซึ่งเจาะรูเล็กๆ ให้น้ำออกครับ แล้วก็เอาไปอีดด้วยคานธรรมดา สำหรับคานที่อัดก้อน briquette นั้น สร้างด้วยไม้

นอกจากเอาเศษไม้มาสับ แช่น้ำ แล้วอัดแล้ว ยังสามารถเอาเศษกระดาษ หรือว่าเอามูลสัตว์ที่หมักก๊าซชีวภาพแล้วมาอัดได้อีกด้วย ขยะ biomass สามารถทำอย่างนี้ได้หมดเลย

ปริมาณความร้อนขึ้นกับน้ำหนักของเชื้อเพลิง ถ้าใช้ฟืนเทียมดังกล่าว ก็จะมีความหนาแน่นสูงกว่าเศษกิ่งไม้หรือเศษกระดาษ ไม่เปลืองที่เก็บ ใช้ไม่กี่ก้อนก็สามารถให้ความร้อนสูงได้ เหมาะกับหม้อต้มก๋วยเตี๋ยว กระทะเคี่ยว หรืออะไรก็ตามที่ต้องการความร้อนนานๆ

« « Prev : ทริปสวนป่า 6-8 ม.ค.

Next : ปั๊มลม » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 January 2012 เวลา 17:50

    อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าจะประหยัดกว่าคือ เอาไม้แห้งและใบไม้แห้งมาทำป่น แล้วเอามาอัดในเตาเลยครับ อัดให้มีรูตรงกลาง โดยเอาไม้กลมยัดกลางแล้วใช้ค้อนทุบ จากนั้นจุดไฟตรงด้านล่างของรูกลมนั้น

    เตาแบบนี้รุ่นน้องผมเล่าให้ฟังว่าตอนเขาเด็กๆ ช่วยพ่อตำอยู่บ่อย (ที่จ.ร้อยเอ็ด) ผมฟังแล้วทึ่งในภูมิปัญญามากๆ กำลังจะให้มีการจำลองเตาแบบนี้เพื่อทดลองดู

    สำหรับถ่านที่ผสมลงในดินนั้น ผมเชื่อว่ามันมีขนาดทีดีที่สุดอยู่ กล่าวคือ หยาบเกินไปก็ไม่ดี ละเอียดเกินไปก็ไม่ดี เท่าที่ผมทดลองใช้ถ่านช่วยในการกลั่นน้ำ ขนาดประมาณ 0.5 ซม. จะดีที่สุด เพราะมันช่วยดูดซับและระเหยน้ำได้ดี แบบทางสายกลาง

    เรื่องเผาถ่านให้ดีเป็นเรื่องยากมาก ผมกำลังให้นศ. ป.โท ศักยภาพสูงคนหนึ่ง เป็นหลักในการตั้งกลุ่มวิจัยนี้อยู่ ตั้งใจว่าจะผลิต ถ่านกัมมันต์เป็นหลัก เพราะเราขายถ่านได้กก.ละ 5 บาท แต่ถ่านกัมมันต์กก.ละ 200 บาท เพียงแต่ต่อยอดเล็กน้อยเท่านั้นเอง โดยเฉพาะต้องทำอภ.ให้ได้สูงมากๆ ระดับ 1000 C ซึ่งผมเชื่อว่าสามารถทำได้ไม่ยากนัก โดยใช้วิธีการพื้นๆ

    แก็สที่เผาไหม้ออกมาจากถังในนั้น ผมเข้าใจว่ามาจากพวกสาร non-volatile ที่เกาะอยู่กับโมเลกุลของเซลลูโลสและลิกนิน ไม่ได้เกิดจากกระบวนการ gasification เนื่องเพราะอภ.ในช่วงนี้ยังต่ำกว่าอภ. gasification อยู่มาก (คือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของ อภ. gsf เท่านั้นเอง)

    เป้าหมายงานวิจัยของผมคือ เผาให้เร็วที่สุด และให้ได้ yield ของ ถ่านกันมมันต์สูงสุดด้วย ..มันเป็นโครงการที่น่าสนุกและท้าทายมากทีเดียว

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 January 2012 เวลา 18:07
    ผมจะไปสร้างบ้านที่สวนป่า ถ้าท่านอาจารย์จะธุดงค์ นิมนต์ผ่านมาทางนั้นบ้างนะครับ

    ผมไม่ได้เสนอใบไม้เนื่องจากคิดว่ามวลเบากว่า คือคิดจะใช้เผาแทนถ่านเลยครับ ดังนั้นปริมาณความร้อนก็ขึ้นกับมวลของเชื้อเพลิง


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.084179878234863 sec
Sidebar: 0.16296100616455 sec