ระดับความสูง
งงกันมานาน ว่าระดับความสูงของบ้านนั้น เท่าไรกันแน่
เมื่อสิบกว่าปีก่อน สหรัฐเริ่มวัดความสูงของพื้นที่และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาความหนาของน้ำแข็งในสภาวะโลกร้อยครับ โปรแกรมนั้นเรียกว่า STRM (Shuttle Radar Topography Mission) คือสำรวจความสูงของผิวโลกด้วยการจับสัญญาณสะท้อนจากเรดาร์ที่ยิงจากกระสวยอวกาศ ข้อมูลความสูงนั้น มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เหมือนกัน เมื่อทำการสำรวจเสร็จ เขาก็ปล่อยข้อมูลที่ได้จากการใช้เรดาร์ความถี่ C-band ออกมาเป็นข้อมูลสาธารณะ เรียกว่า ETOPO1 (ใช้เรดาร์แบบ C-band ความละเอียด 92.5m)
ETOPO1 นี้ เป็นข้อมูลสาธารณะที่บรรดาผุ้ให้บริการแผนที่นำไปใช้ (เพราะฟรี) แต่ไม่ละเอียดเลย การคำนวณอัตราการไหลของน้ำด้วย ETOPO1 จึงไม่แม่นยำ และมีปัญหาคาใจ 3 คำถามที่ตอบไม่มีใครตอบได้: น้ำจะท่วมเมื่อไร จะท่วมสูงเท่าใด และจะท่วมอยู่นานแค่ไหน ที่ตอบไม่ได้ก็เพราะแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ ETOPO1 นี้ ไม่แม่นยำพอ
ดูระดับในแผนที่ออนไลน์ บ้านผมสูง 7-8 เมตร แต่ดูแผนที่ทหารแล้ว เหลือนิดเดียว (แผนที่ทหารแม่นกว่าครับ แต่แผนที่ทหารไม่มีความสูงทุกจุดที่ต้องการรู้ ซึ่งคงต้องใช้วิธีเดิม คือประมาณเอาด้วยวิธี interpolation)
นอกจากแผนที่ความสูงจะสำคัญต่อโมเดลการไหลของน้ำแล้ว ยังสำคัญต่อการระบายน้ำด้วย เพราะน้ำทางเหนือที่มีระดับน้ำสูง ไม่สามารถระบายออกได้อย่างรวดเร็ว แม่น้ำลำคลองคดเคี้ยวยึกยือ แต่ถ้าหากระดับน้ำทางใต้ต่ำกว่าทางเหนือจริง เราต่อท่อดื้อๆ ก็จะช่วยระบายน้ำเหนือลงมาได้
เช่นวันนี้ ระดับน้ำที่หลักหก สูง 3.6 ม.รนก. แต่จาก CCTV ที่หน้า รพ.ชลประทาน ปากเกร็ด น้ำมีระดับ 2.8 ม.รนก. ส่วนต่าง 80 ซม.นี้ น้ำควรจะไหลไปลงแม่น้ำได้เลย ถ้าหากมีทางให้น้ำไหล ต่อให้ตกท้องช้างก็ไม่เป็นไร ตราบใดที่ปลายน้ำออกอยู่ต่ำกว่าปลายน้ำเข้า และท่อนั้นไม่รั่ว — เขตทุ่งสีกัน ห่างแม่น้ำเจ้าพระยาตรงสะพานนนทบุรี (นวลฉวี) เพียง 4 กม ถ้าจะทำท่อ ทำทางให้น้ำไหล (ข้ามคลองประปา) เลียบด้านนอกของคันพระราชดำริไปลงแม่น้ำ ก็ไม่น่าจะยากหรอกครับ ทีบิ๊กแบ็กตั้งหลายพันใบ วางเรียงกันนับสิบกิโลเมตรยังทำได้เลย
ปัญหาคือวันนี้ไม่รู้ว่าน้ำในทุ่งสีกันมีระดับเท่าไหร่ และน้ำในแม่น้ำมีระดับเท่าไหร่
ดังนั้นภาระทั้งหมดสำหรับการป้องกันกรุงเทพชั้นใน จึงไปตกอยู่กับเครื่องสูบน้ำที่คลองบางซื่อ ส่วนชาวบ้านที่น้ำท่วมแล้ว ก็ยังไม่เห็นความหวังใดๆ ว่าน้ำจะลดลงได้อย่างไร… รอไปเรื่อยๆ โดยไม่มีความหวังนี่ มันหงุดหงิดนะครับ
วิธีแก้อย่างรีบด่วย คือสร้างหมุดอ้างอิงที่รู้ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางที่แน่นอน ขึ้นหลายๆ หมุด ระดับน้ำนั้น ก็คือความต่างของผิวน้ำกับหมุดอ้างอิง แค่นี้ก็พอจะรู้ว่ามี head อยู่เท่าไหร่แล้วครับ — ที่เสนออย่างนี้ ก็เพื่อที่สร้างหมุดอ้างอิง วัดความสูงด้วย GPS ครั้งเดียว ต่อไปให้คนแถวนัน้้ดูความแตกต่างของระดับน้ำ กับขีดอ้างอิงได้ โดยไม่ต้องเอา GPS ไปวัดทุกครั้ง
ถ้ามี head (ความสูงที่แตกต่าง) ก็ใช้ซะดีไหมครับ จะได้ไม่ต้องปวดหัวกับเรื่องเติมน้ำมันเครื่องสูบน้ำ
แต่ถ้าทำไม่ได้เพราะมัน “ถูกไป” นี่ โกรธกันจริงๆ นะ
« « Prev : เรื่องของการสูบน้ำ รีบสูบเถอะ
Next : กระบวนทัศน์ใหม่: ประชาชนดูแลตนเอง » »
3 ความคิดเห็น
พื้นที่ราบภาคกลาง ตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาถึง กทม. ระยะทาง 300 กม. มีระดับความสูงแตกต่าง (head) เพียง 3 เมตรเท่านั้น
ดังนั้นถ้าน้ำท่วม กทม. สูง 3 เมตร มันจะดันน้ำสวนทางการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาจนไปท่วมนครสวรรค์พอดี
ปล. นครสวรรค์ +25 ม.รทก. เขื่อนเจ้าพระยา +17 ม.รทก. นะครับ
ข้อมูล นครสวรรค์ 25 เขื่อนเจ้าพระยา 17 ต้องตรวจให้ดีครับ ผมสำรวจมานาน หาความลาดชัน หลายข้อมูลยืนยันตรงกันว่า ที่ราบภาคลกาง (ส่วนใหญ่) ระดับความสูงไม่เกินประมาณ 3 เมตรครับ
นครสวรรค์ตอนเหนืออาจสูงกว่านครสวรรค์ส่วนใหญ่มาก เพราะมีสันเขาทางเหนือมาประชิด
ชัยนาทเองก็ลักษณะเดียวกัน ทางตอนเหนือมีระดับสูง แต่เฉลี่ยส่วนใหญ่จะต่ำ