เรื่องของการสูบน้ำ รีบสูบเถอะ

โดย Logos เมื่อ 12 November 2011 เวลา 2:28 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2661

งาน w ที่ใช้ในการยกน้ำมวล m ขึ้นสูง h จะเท่ากับ mgh ในสภาพที่น้ำขังเป็นแอ่ง จึงต้อง “ทำงาน” จึงจะระบายน้ำออกไปได้ครับ

การทำงานนั้นมีสองอย่าง คือลงมือทำ จะตัก จะวิด จะผลัก จะสูบ ฯลฯ ก็เป็นการทำงาน; งานอีกอย่างหนึ่ง คือพูด บ่น ด่า กระแทก ฯลฯ และรอให้คนอื่นมาทำให้ โดยตัวเองก็ไม่ทำอะไร ฝากความหวังไว้กับคนอื่นซึ่งไม่มีปัญญาไปควบคุมเขา — จะทำอย่างไหน ก็แล้วแต่ครับ

ทีนี้ทำไมต้องสูบน้ำออก วิญญูชนก็คงตอบได้อย่างมีเหตุมีผลนะครับ ส่วนพวกตรรกะผิดเพี้ยนนั้น ตอบอะไรมา ส่วนใหญ่พิจารณาแล้ว ไม่เข้าท่าอยู่ดี

แต่ได้ยินเรื่องราวที่พิลึกพิลั่นมาเรื่องหนึ่ง

ตึกรามบ้านช่อง มีเสาเข็ม คำนวณตามมาตรฐานความปลอดภัย ตึกสูงตอกเสาเข็มลึกลงไปถึงชั้นหิน อย่างบ้านผม เสาเข็ม 24 เมตรเหมือนกัน น้ำหนักของบ้า่นก็ถ่ายผ่านเสาเข็มลงไปสู่ชั้นหิน แต่จะมีสักกี่บ้านที่ใช้เสาเข็มยาวเฟื้อยอย่างนั้น

บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ ใช้เสาเข็มสั้น เสาเข็มสั้นรับน้ำหนนักอยู่ได้ด้วยแรงเสียดทานระหว่างเสาเข็มกับดิน ซึ่งในสภาวะปกติ มันก็รับน้ำหนักอยู่ครับ

แต่พอน้ำท่วมนานๆ เข้า ดินก็เปียก แรงเสียดทานระหว่างเสากับดินน้อยลง แล้วเสาเข็มจะรับน้ำหนักอยู่หรือ?

รับน้ำหนักอยู่หรือไม่อยู่ ผมก็ไม่รู้ แต่คงไม่ใช่ว่าอาคารต่างๆ จะจมหายลงไปในดินแบบธรณีสูบ เพราะว่าอาคารต่างๆ มีลักษณะคานยึดเข็มและตั้งอยู่บนผิวดินด้วย แต่เสาเข็มอาจทำหน้าที่ของมันได้ไม่เหมือนกับที่ออกแบบไว้

ไม่ว่าเรื่องนี้จะจริงหรือไม่ ก็รีบเอาน้ำออกไปเถิดครับ ที่ไปตั้งกระสอบแถวถนนพระรามสองเนี่ย รู้หรือเปล่าว่าทำอะไรลงไป

« « Prev : ความมหัศจรรย์ของคลองลัดโพธิ์

Next : ระดับความสูง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 iwhale ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 November 2011 เวลา 2:40

    ที่ไปตั้งกระสอบแถวถนนพระรามสองเนี่ย รู้หรือเปล่าว่าทำอะไรลงไป << หายนะมาเยือน


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.58038902282715 sec
Sidebar: 0.51604199409485 sec