คลายร้อน
อากาศไม่ได้ร้อนด้วยตัวเองหรอกครับ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่แผ่มาให้โลกอย่างทั่วถึง
ปีนี้เอลนินโญ่รุนแรง ทำให้อากาศบริเวณอุษาคเนย์ (mainland southeast asia) มีอุณหภูมิสูงขึ้น พอนานๆ ไป ก็เข้าขั้นร้อนตับแตก
เพราะเราไม่ทำอะไร จึงปล่อยให้เสียความชุ่มชื้นในบรรยากาศไป พอความชื้น(สัมพัทธ์)ในบรรยากาศลดลง เมฆก็ไม่รวมตัวกัน แสงแดดทะลุลงมากระทบพื้นผิวโลกได้ แถมเราทำลายป่าไปจนจะโกร๋นหมดแล้ว เมื่อดินโดนแดดเผา อากาศร้อนก็ลอยสูงขึ้นไปไล่เมฆที่อาจจะหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่ว่าจะมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่เท่าไหร่ อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้นทำให้อากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงเกิน dew point เมฆก็สลายตัว ทำให้แสงแดดส่องลงมาได้มากขึ้น ร้อนหนักเข้าไปใหญ่ วนเวียนไปเป็นวัฏจักร
เอาล่ะครับ เรื่องที่ผ่านไปแล้ว ก็ผ่านไปแล้ว เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ แต่ถ้าจะถอดบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำซากอีก ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง (แต่ก็ยังไม่ทำอะไรกัน)
ทีนี้เมื่อเข้าใจเหตุของความร้อนแล้ว วิธีบรรเทาก็ไม่ยากจนเกินไป กล่าวคือป้องกันไม่ให้แสงอาทิตย์ตกลงมากระทบพื้น
ร่มเงา
ที่น่าจะดีที่สุดคือต้นไม้ใหญ่ครับ ปลูกบัง หรือคลุมวัสดุที่อมความร้อนมากเช่นคอนกรีต รวมทั้งอาคารสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือน หลังคา ฯลฯ รวมทั้งถนนด้วย
พูดง่ายนะ ถ้าปลูกวันนี้ เมื่อไหร่จะโต… ที่แน่ๆ คือปลูกวันนี้ จะเอาผลพรุ่งนี้ไม่ได้หรอกครับ ยังมีวิธีอื่นอีก
ที่ดีที่สุด ต้นไม้ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้ยืนต้น ซึ่งใช้เวลาในการเติบโตหลายปี ต้นไม้ดูดคาร์บอนไดออกไซด์ มาสังเคราะห์แสง แล้วเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเชลลูโลส ซึ่งมีมากในเนื้อไม้
แต่ไม้ยืนต้นโตช้า คราวหลัง จะโค่น จะถอน จะถาง ก็หัดคิดซะก่อน ไปวิทยาลัยการเกษตรกับครูบา ถางต้นไม้กันซะราบพนาสูญ ทำตัวเป็นคนกรุงเทพไปได้ ผ่านไปที่ไหนก็ราบไปหมด เมืองท่องเที่ยวราบทุกเมือง ปายอยู่สุดขอบฟ้ายังไม่รอดเลย
ถ้ามีเงินถุงเงินถัง หรือใจร้อนรอไม่ได้ ก็อาจใช้ตาข่ายพรางแสง (แสลน) มาบังแดด แต่ถ้าคิดว่ามีเวลา ใช้ไม้เลื้อย ไม้เถามาบังแดด จะประหยัดกว่ามากครับ
31 ต.ค. 52 | 28 พ.ย. 52 |
ปลาย ก.พ. 53 เขียวครึ้มเต็มหมดแล้ว (ถ่ายมา แต่หารูปไม่เจอ) |
ตาข่ายพรางแสงสีดำ อาจจะไม่ดีเท่าสีอื่น เพราะสีดำดูดความร้อนเอาไว้; แน่นอนว่าคนขายเขาจะบอกว่าของเขาดี ทนทาน ทนความร้อน ทน UV ถ้าเชื่อไปทั้งดุ้น ก็เป็นเหยื่อต่อไปเถิดครับ (ใช้ได้นะ แต่ไม่ดีเท่าสีอื่น)
เอาล่ะ ทีนี้หากสร้างที่บังแดดในแนวระนาบ เช่นกรณีของโรง-เพิงจอดรถ หรือโรงเพาะชำต้นไม้ ความร้อนจะแสงแดด ถูกกันไว้ในระดับที่สูงกว่าศรีษะ ข้างใต้หลังคา แต่บางทีเรากลับยังไม่รู้สึกว่าเย็น ทั้งนี้เหตุส่วนใหญ่น่าจะเป็นเพราะ ความร้อนยังแผ่เข้ามาได้จากส่วนที่ไม่ได้บังแดดไว้ ถ้าร่มเงาจะสร้างความเย็นได้บ้าง ก็ต้องสร้างร่มเงาเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ
« « Prev : จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน จากมุมมองของมนุษย์ธรรมดา
Next : Whatever will be, will be » »
1 ความคิดเห็น