คิดสั้น
อ่าน: 3145วันนี้ ค้นพระไตรปิฎกเรื่องสัจจะไปเรื่อยๆ ไม่รู้ไปพบ “มสกชาดก” ได้อย่างไร เรื่องราวในพระไตรปิฎก มีอยู่สั้นนิดเดียว คือ
[๔๔] ศัตรูผู้ประกอบด้วยปัญญายังดีกว่า มิตรผู้ไม่มีปัญญาจะดีอะไร เหมือนบุตรของช่างไม้ผู้โง่เขลา คิดว่าจะตียุง ได้ตีศีรษะของบิดาแตกสองเสี่ยงฉะนั้น.
มีอรรถกถาอธิบายความไว้ — มนุษย์อันธพาลโกรธขึ้งฝูงยุง จึงพากันถือธนูและอาวุธพากันเข้าป่าหมายมั่นจะไปรบกับฝูงยุง แต่กลับไปทิ่มแทงประหารกันเอง - ช่างไม้ให้ลูกชายไล่ยุงที่มาเกาะที่ศรีษะ ลูกชายเอาขวานฟันยุง ช่างไม้หัวแบะ ถึงแก่ความตาย
ส่วนข้อถัดไป เป็นโรหิณีชาดก ความว่า
[๔๕] ศัตรูผู้เป็นนักปราชญ์ยังดีกว่า คนโง่เขลาถึงเป็นผู้อนุเคราะห์จะดีอะไร ท่านจงดูนางโรหิณีผู้โง่เขลา ฆ่ามารดาแล้วเศร้าโศกอยู่.
นางทาสีชื่อโรหิณี ไล่แมลงวันที่มารุมตอมมารดาด้วยสาก ฟาดแมลงวันจนมารดาตาย
ยังมีอีกเรื่องหนึ่งคือ อารามทูสกชาดก
[๔๖] ผู้ฉลาดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงจะทำความเจริญ ก็ไม่สามารถจะนำความสุขมาให้ ผู้มีปัญญาทรามย่อมทำประโยชน์ให้เสีย เหมือนกับลิงผู้รักษาสวน ฉะนั้น.
กรุงพาราณสีในอดีตกาล กำลังจะมีงานนักขัตฤกษ์ คนสวนในพระราชวัง ไหว้วานฝูงลิงที่อาศัยอยู่ในอุทยานของพระราชาซึ่งเคยมาหากินในอุทยาน ให้มารดน้ำต้นไม้แทนตน ในขณะที่ตนไปเที่ยวเล่น พญาวานรสั่งลูกฝูงว่าน้ำมีประโยชน์ พึงสงวนไว้ ดังนั้นหากต้นไม้ใดรากลึกให้รดน้ำมาก แต่หากต้นใดรากไม่ลึกให้รดแต่น้อย แต่ว่าธีการดูว่ารากลึกหรือไม่ ก็ให้ถอนต้นไม้ขึ้นมาดู! ฝูงลิงปฏิบัติตามคำสั่งพญาวานรอย่างเคร่งครัด และต้นไม้ก็เสียหายหมด
ทำให้ผมนึกถึงพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเคยนำมาลงหลายครั้งแล้วครับ
« « Prev : ประภาส เขียนถึงขงจื๊อ
Next : ช่างไม่มีเมตตาเสียเลย - ท่านพุทธทาสภิกขุเล่านิทานเซ็น » »
4 ความคิดเห็น
ขอบคุณมากครับ สำหรับบันทึกดีๆ อิอิ
#2 คนชอบหมุนกงล้อซ้ำรอย ประวัติศาสตร์จึงมักซ้ำรอยเสมอ
แบบว่าไม่รู้จักทำ KM กันมั๊งนี่ ปัญญาดีจึงไม่เกิดขึ้น
ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆค่ะ
คนไม่น้อย ชอบคิดเฉพาะหน้ามากกว่าคิดยาวๆค่ะ
นิทาน ขี่ตั๊กแตนจับช้าง เพราะขาดสตินั่นเอง เปรียบเสมือน KM ในสมัยนี้ ถ้าใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างมีสติ วิบัติก็ไม่อาจเกิดได้