สัญญาณโลกาวินาศ !?

โดย Logos เมื่อ 20 May 2010 เวลา 1:02 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 3999

เมื่อสองวันก่อน นี้มีข่าวใหญ่ทางดาราศาสตร์ ที่บอกว่าโลกมีโอกาสที่จะถูกอุกกาบาตขนาดยักษ์พุ่งชน มากขึ้นกว่าที่เคยคิดสิบเท่า (an order of magnitude) พอดูละเอียดแล้ว ก็ยังน่าสงสัยสมมุติฐานนี้

เมื่อเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์สมัครเล่น ได้ตั้งกล้องส่องไปยังดาวพฤหัส แล้วพบ”รอยช้ำ”ในบรรยากาศของดาวพฤหัส มีขนาดใหญ่เท่าโลก เมื่อข่าวกระจายออกไป ทั้งนักดาราศาสตร์สมัครเล่นและมืออาชีพ ต่างก็หันกล้องไปดูดาวพฤหัสเพื่อพยายามอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น

แล้วก็มีฉันทามติว่าดาวพฤหัสถูกพุ่งชนโดยดาวหางหรืออุกกาบาต แต่เรื่องที่นักดาราศาสตร์ประหลาดใจอย่างใหญ่หลวงก็คือ การพุ่งชนนี้เกิดขึ้นเพียง 15 ปีหลังจากที่ดาวหาง Shoemaker-Levy พุ่งขนดาวพฤหัสในปี 2537

Agustin Sánchez-Lavega และคณะจาก University of the Basque Country ในเมือง Bilbao ทางตอนเหนือของสเปน ได้ตีพิมพ์การวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการพุ่งชน ตลอดจนโอกาสที่จะเกิดขึ้นที่นำมาซึ่งความกังวล

การประมาณการโอกาสของการชน ทำได้ยากมาบนดาวพฤหัสเพราะมีก๊าซหุ้มอยู่ เมื่อชนแล้ว “รอยช้ำ” ก็จะหายไปในเวลาไม่นาน ดังนั้นนักดาราศาสตร์ จึงพึ่งการสังเกตในประวัติศาสตร์ ซึ่งก็มีเพียงสองครั้งเท่านั้น คือ Shoemaker-Levy 9 ในปี 2537 และการสังเกตของ Giovanni Cassini ในปี 2183 (ห่างกัน 354 ปี) ตลอดจนอาศัยตัวช่วยเช่นการนับจำนวนหลุมอุกกาบาตบนผิวดวงจันทร์ต่างๆ ของดาวพฤหัสดวงที่ไม่มีบรรยากาศ

อย่างไรก็ตาม การพุ่งชนเมื่อปีที่แล้วเปลี่ยนแปลง “โอกาส” นี้อย่างใหญ่หลวง เพราะมันห่างจากการพุ่งชนใหญ่ครั้งก่อนเพียง 15 ปีเท่านั้น อาจจะแสดงว่าดาวพฤหัสถูกพุ่งชนด้วยเทหวัตถุขนาดใหญ่มาก บ่อยกว่าที่เราเคยคิดไว้เยอะ หมายความว่าดาวพฤหัสถูกชนโดยเราไม่รู้เลย — เหตุที่เราไม่รู้เรื่องนี้เพราะความก้าวหน้าเรื่องกล้องดิจิตอล และซอฟต์แวร์ประมวลผลภาพ เพิ่งจะมาถึงมือนักดาราศาสตร์สมัครเล่นเมื่อสิบปีที่ผ่านมานี้เอง นักดาราศาสตร์อาชีพที่เข้าถึงกล้องดูดาวกำลังสูง ก็มองไกลออกไปในจักรวาล ไม่ค่อยได้สนใจ “เรื่องใกล้ตัว” อย่างดาวพฤหัสเท่าใดนัก

ดาวพฤหัสมีโอกาสถูกพุ่งชนมากกว่าโลกมากนัก เพราะมันใหญ่กว่า และมีมวลมากกว่าโลกมาก ดังนั้นจึงดึงดูดเทหวัตถุเข้าสู่ตัวมันได้มากกว่าโลก

ในปัจจุบัน วงการดาราศาสตร์เชื่อว่าโลกถูกชนโดยเทหวัตถุขนาด 1 กม. ทุกๆห้าแสนปี ซึ่งอุกกาบาตขนาดนี้ สามารถล้างอารยธรรมของโลกได้ในแบบที่เราคาดไม่ถึงทีเดียว

การค้นพบการพุ่งชนดาวพฤหัสเมื่อปีที่แล้ว (แม้ว่าเร็วไปที่จะด่วนสรุป) อาจหมายถึงการเปลี่ยนความถี่ของการที่ดาวเคราะห์ถูกวัตถุขนาดใหญ่ชน จาก 354 ปี เหลือ 15 ปี ด้วยสัดส่วนเดียวกัน การประมาณการว่าโลกถูกวัตถุขนาดใหญ่ชนทุก 500,000 ปี ควรจะเปลี่ยนเป็น 21,000 ปีหรือไม่ เมื่อสองหมื่นปีก่อน มนุษย์ยัง “ไม่มีอารยธรรม” เลย (บางทีผมก็สงสัยว่าวันนี้ มีหรือไม่)

อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยก็ยังพยายามค้นคว้าต่อไปโดยด่วน เพราะว่าการตั้งสมมุติฐานโดยใช้ “ตัวอย่าง” อันเดียว ดูจะเลื่อนลอยไป

« « Prev : เส้นทางของพระแก้วมรกต

Next : ในความเชื่อใจ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 knownone ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 May 2010 เวลา 1:21

    ในวันที่เมืองไทยกำลังวินาศ มองไปไกลๆอย่างนี้ก็ดีครับ
    เพราะเหตุการณ์วันนี้จะเป็นแค่เสี้ยวเล็กๆในประวัติศาสตร์ของไทย
    คิดเรื่องโลกแตกก็ดีครับ ได้ตั้งสติว่ามีอะไรที่ควรต้องรีบทำหรือเปล่า
    แต่ถึงเวลาจริงๆคงไม่รู้สึกอะไรหรือแม้แต่เสียดายอารยธรรมมนุษย์(ที่ไม่แน่ใจว่ามีจริงหรือเปล่า)
    เพราะโลกจะเป็นแค่เสี้ยวเล็กๆในประวัติศาสตร์ของจักรวาลเท่านั้นเอง

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 May 2010 เวลา 19:47

    ถ้าดาวที่ว่ากำลังพุ่งมา คงจะกลบข่าวผีบ้าเผาบ้านเมืองอย่างแน่นอน

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 May 2010 เวลา 20:34
    บางทีสิ่งที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นผลของความละเลย ไม่ใส่ใจในปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้น ปล่อยให้หมักหมมมานานนะครับ รวมทั้งความไม่รู้สึกรู้สมต่อการเบียดเบียน ประทุษร้ายต่อคนและทรัพย์สินของผู้อื่น (และการจัดตั้ง [1] [2])

    ผมเชื่อเรื่องกรรมครับ ถ้าไม่อยากเจออีก ก็อย่าก่อกรรมต่อกันอีกเลย — การไม่ก่อกรรมต่อกันนี้ ไม่ใช่ว่าไม่รู้ผิดชอบชั่วดี จะให้รักกัน สมานฉันท์ปรองดอง เจรจาลูกเดียว — ถ้าไม่รู้อะไรผิดอะไรถูก ก็เรียกว่าไม่รู้ผิดชอบชั่วดีครับ ต่อให้ได้ ปญอ.(ปริญญาเอก) ก็มีความหมายเพียง ปญอ.(ปัญญาอ่อน)


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.57010912895203 sec
Sidebar: 0.69805097579956 sec