ประชุมอย่างกูเกิล
อ่าน: 2980เมื่อเกือบสามปีก่อน BusinessWeek ตีพิมพ์เกี่ยวกับ Marissa Mayer ผู้ซึ่งเป็น Vice-president เกี่ยวกับ “search product” ซึ่งเป็นเรือธงของกูเกิล
โดยธรรมชาติ เธอเป็นคนที่งานยุ่งมากครับ แต่ก็มีประชุม 70 ครั้งต่อสัปดาห์ แถมยังเป็นด่าน(กลั่นกรอง)สุดท้าย ก่อนที่จะเสนอความคิดของโครงการกับผู้ก่อตั้งบริษัททั้งสอง Sergey Brin และ Larry Page
ในบริษัทอย่ากูเกิลนั้น “งาน” เยอะมาก เกิดขึ้นในการประชุม และทุกทีมที่ร่วมประชุม จะต้องเข้าใจอย่างชัดเจนถึงขอบเขต ทิศทางทางยุทธศาสตร์ และข้อมูลที่สามารถนำไปปฏิบัติต่อได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามให้ทีมรู้สึกได้รับความยอมรับและกำลังใจ เขาใช้หลัก 6 ประการ
1. Set a firm agenda.
ในการประชุม หรือ “ขอคุย” จะต้องมีกำหนดการล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้ใช้เวลา+เตรียมการอย่างตรงประเด็นที่สุด แน่นอนว่ากำหนดการสามารถปรับได้ แต่ในขณะเดียวกัน กำหนดการเป็นการบังคับให้ผู้ร่วมประชุมเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ไม่มัวมาคุยเรื่อยเปื่อยเพ้อเจ้อ
2. Assign a note-taker.
มีการจดบันทึกการประชุม ที่กูเกิล จอหนึ่งฉายสไลด์ จอหนึ่งจดบันทึก ถ้าผิดแก้ไขทันที อีกจอหนึ่งเป็นนาฬิกา!
ผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ยังตามเรื่องได้จากบันทึกการประชุม
3. Carve out micro-meetings.
เรื่องที่เป็นรายละเอียด อันไม่จำเป็นจะต้องเอาทุกคนมานั่งประชุมเสริมบารมี เสียเวลาทำงานทำการ ก็นัดประชุมย่อย หาข้อสรุปก่อน — slot เล็กทำให้การตัดสินใจ ดำเนินไปได้โดยไม่ต้องรอประชุมพร้อมกันหมด
4. Hold office hours.
slot เปิดสำหรับใครที่มาขอความเห็น โดยเธอนั่งประจำอยู่ในออฟฟิศวันละ 90 นาที พร้อมที่จะคุยเรื่องความคิดใหม่ๆ เธอได้ความคิดเรื่องนี้มาจากประสบการณ์การสอนที่สแตนฟอร์ด (เธอเป็นอาจารย์สอน Brin และ Page มา) — วิธีนี้ เธอคุยได้ 15 เรื่อง (เฉลี่ยคนละ 7 นาที) แต่ใครจะมาคุย ก็มาเขียนชื่อไว้ที่บอร์ดหน้าห้อง มาก่อน คุยก่อน
5. Discourage politics, use data.
“อย่ามาลีลา”
การตัดสินใจให้ไฟเขียว ไม่ได้ขึ้นกับว่าใครเป็นผู้เสนอ แต่โครงการได้ไฟเขียวด้วยความคิดที่เฉียบแหลมที่สุด; ไม่มีคำว่า “ฉันชอบความคิดนี้” มีแต่คำว่า “จากการวัด วิธีออกแบบแบบนี้ ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 10%” ด้วยวิธีนี้ ความคิดดีที่สุดสำหรับองค์กร จะได้รับโอกาสให้เกิดขึ้นจริง
6. Stick to the clock.
รักษาเวลา
วิธีการเหล่านี้ อาจใช้ได้ที่กูเกิล เพราะวัฒนธรรมการทำงาน และคนของเขาเป็นอย่างนั้น แต่มันอาจใช้ไม่ได้กับองค์กรของท่าน สิ่งหนึ่งที่แน่นอนก็คือ แม้ว่าท่านปฏิบัติตามนี้เป๊ะเลย องค์กรของท่านก็จะไม่เป็นแบบกูเกิล
ผมเขียนบันทึกเรื่องนี้ เพราะคิดว่าเราเสียเวลาไปมากแล้วกับการประชุมที่ไม่มีประสิทธิภาพ เรื่อยเจื้อย เพ้อเจ้อ และไม่มีข้อสรุป
« « Prev : Viewpoints for Thailand
1 ความคิดเห็น
[...] ประชุมอย่างกูเกิล [...]