หลังคาโค้งระบายอากาศ

โดย Logos เมื่อ 29 December 2011 เวลา 1:40 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4049

Buckminster Fuller (1895-1983) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์ geodesic dome อันดังเปรี้ยงปร้าง

เขาได้รับสิทธิบัตร 25 ชิ้น และเมื่อ geodesic dome เกิดเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่ว มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าความร้อนภายในโดม ไม่ว่าจะมากน้อยแค่ไหน ก็จะลอยขึ้นสูง ไปรวมกันที่ยอดโดม (ฟูลเลอร์เรียกว่า “dome effect”) ทีนี้หากเปิดเป็นช่องระบายอากาศที่ยอดโดม อากาศร้อนลอยออกไป อากาศเย็นก็จะไหลเข้ามาตามช่องเปิดต่างๆ แทนที่อากาศร้อนที่ลอยออกไปแล้ว เป็นเหมือนการบังคับให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ โดยไม่ต้องใช้พลังงานอื่นนอกจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ในช่วงสงครามโลก กองทัพบกสหรัฐจ้างฟูลเลอร์ให้ออกแบบที่พักทหารสำหรับเขตอากาศร้อนทารุณ (ของอ่าวเปอร์เซีย) ซึ่งการออกแบบนี้ ใช้ “dome effect” โดยปักเสาต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง จากนั้นใช้สลิงจากยอดเสา ยึดโครงสร้างน้ำหนักเบาเอาไว้ ดูไปดูมาก็คล้ายๆ กับร่มเหมือนกัน แต่เรียกว่า Dymaxion house

Dymaxion house:

  • เป็นที่พักพิงชั่วคราวซึ่งสร้างได้ง่าย ตั้งเสา ทำโครง แล้วเอาผ้ามุง ก็จะได้ร่มเงาขนาดใหญ่ ไม่อึดอัด ราคาถูก
  • เป็นที่ประชุมของชุมชน
  • เป็น “ห้องเรียนในร่ม” นอกห้องเรียน
  • ถ้าหากรอบๆ มีผ้ากันรอบๆ เป็นกระโจม ความร้อนจากหลังคาและจากตัวคนลอยขึ้น ก็จะเป็นกระโจมที่มีการไหลเวียนของอากาศ ซึ่งหมายความว่าตั้งผ้าเปียกดักไว้กรองอากาศ ก็จะลดการรบกวนของฝุ่นควันจากการเผาป่า/ไฟไหม้ป่า ซึ่งลอยมาทางเหนือทุกปี

คลิปข้างล่างนี้ แสดงให้เห็นสามเรื่องคือ (1) หลังคงไม่ต้องโค้งก็ได้ ตราบใดที่เอียงเทอากาศร้อนไปรวมกันตรงกลาง (2) อากาศร้อน ลองออกตรงกลางซึ่งสูงที่สุดเสมอ (3) แม้ภายในจะเต็มไปด้วยควัน ควันก็ลอยออกทางยอด ไม่มีหลุดออกมาทางช่องเปิดอื่นๆ ที่อยู่ต่ำกว่าเลย ซึ่งช่องเปิดเหล่านั้น รับเอาอากาศที่เย็นกว่าจากภายนอกเข้าไป

« « Prev : กาลักน้ำ รดน้ำต้นไม้

Next : เตรียมตัวไปสวนป่า » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 December 2011 เวลา 8:25

    หลักการคล้ายๆ กับ เครื่องอบแห้ง “กระโจมแดด” ของผมเลย แต่ของผมนั้นต้องการให้ร้อนและระบายอากาศพร้อมกันไป

    ขณะนี้ผมได้ทำการวิจัยเรื่อง “บ้านอยู่สบาย” มาประมาณสิบปีแล้ว วิธีการคล้ายๆ กันนี้แหละ แต่เราเอามาทำให้มันเป็นวิชาการ และมีนวัตกรรมเสริมในบางส่วน

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 December 2011 เวลา 13:04
    ผมคิดถึงกลดหลังใหญ่ จะกางไว้กลางสวนป่าครับ
  • #3 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 December 2011 เวลา 7:39

    พวกอินเดียแดงในอเมริกาเหนือ และ พวกเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนในมองโกลเขาก็รู้เทคนิคนี้มานานแล้วครับ หน้าหนาวให้ความอบอุ่น หน้าร้อนให้ความเย็นสบาย

    กลดที่พพจ.ทรงออกแบบไว้ ก็นับว่าดีมากๆครับ กระทัดรัด practical ดีมากๆ ยกเว้นกันฝน ผมเคยออกแบบกลดแบบใหม่ไว้ เอาไปจ้างคนเย็บ แกไม่ยอมทำให้สักที จนผมลืมไปเลย


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.36319899559021 sec
Sidebar: 0.12598705291748 sec