มหาสมุทรแห่งความอยาก

โดย Logos เมื่อ 30 August 2008 เวลา 4:06 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4174

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ป.ธ.​๙) ตั้งคำถามเรื่องการแข่งขันและชัยชนะไว้อย่างน่าสนใจ

เราถาม

นักกีฬาทุกประเภทย่อมจะเล่นกีฬาตามกติกา ถ้าเล่นผิดกติกาก็จะถูกปรับแพ้ หรือหมดโอกาสเจริญก้าวหน้า ส่วนคนที่เล่นกีฬาตามกติกาอย่างสัตย์ซื่อและด้วยใจเป็นธรรม ย่อมประสบผลสำเร็จตามสมควร การเป็นคนอยู่ในโลกก็ไม่ต่างอะไรกับการเกิดมาเล่นกีฬาโลก เพราะชีวิตมีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่แข่งกับตนเองก็ต้องแข่งกัคนอื่น หรือบางทีก็แข่งกับชาวโลก มีคนเป็นจำนวนมากทีาหลงเล่นกีฬาโลกโดยไม่รู้กติกา พยายามเป็นผู้ชนะตลอดเวลาแต่ดูเหมือนว่า ยิ่งอยากครอบครองชัยชนะให้มากที่สุด เขาเหล่านั้นก็กลับพาตัวเองเข้าสู่ภาวะทุกข์มากที่สุดเช่นกัน กติกาของโลกนอกจากเรื่องโลกธรรม ๘ แล้ว ยังมีกติกาอื่นอีกหรือไม่ที่นักกีฬาโลกทั้งหลายควรจะรู้

ซึ่งมีคำตอบ ธัมมุทเทส ๔ อยู่ในพระไตรปิฎก

ธัมมุทเทส ๔

[๔๔๖] ท่านพระรัฐปาละถวายพระพรว่า มีอยู่แล มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธัมมุทเทส ๔ ข้อ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ธัมมุทเทส ๔ ข้อเป็นไฉน? คือ

๑. ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่หนึ่งว่า โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน ดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง แล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

๒. ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สองว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

๓. ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สามว่า โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้อง ละสิ่งทั้งปวงไป ดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต.

๔. ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สี่ว่า โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาส แห่งตัณหา ดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ดูกรมหาบพิตร ธัมมุทเทส ๔ ข้อนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ม.ม. ๑๓/๓๐๕/๓๖๔-๓๖๕

ซึ่งท่าน ว.วชิรเมธี อธิบายไว้ให้หนังสือตะแกรงร่อนทอง ดังนี้

พุทธศาสนาถือว่า “ความอยาก” ของมนุษย์นั้นไม่มีสิ้นสุด ความอยากของมนุษย์มีสภาพเหมือนทะเลคือเติมอย่างไรก็ไม่เต็ม คนที่พยายามใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อเติมทะเลแห่งความอยากจึงนับเป็นคนเขลา โลกของเราทุกวันนี้คือโลกของการกระตุ้นให้มนุษย์ทั่วทุกภูมิภาคของโลกพากันออกวิ่งไปข้างหน้าเพื่อ “ตักน้ำไปเติมทะเล” (น้ำ = วัตถุ-เงิน-ความมั่งคั่ง-กิน-กาม-เกียรติ-อัตตา/หน้าตา, ทะเล= ใจ)​ ซึ่งเติมอย่างไรก็ไม่มีวันเต็ม

โลกภายใต้การขับเคลื่อนของลัทธิทุนนิยม, บริโภคนิยม จึงเป็นโลกที่กำลังดำดิ่งสู่หายนะอย่างไม่มีทางเลี่ยง นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและนักการตลาดแม้รู้จุดอ่อนของมนุษย์ว่ามีความอยากไม่สิ้นสุด แทนที่จะบอกให้มนุษย์หยุดความอยากด้วยความรู้จัก “พอ” (สันโดษ) ก็กลับถือเอาจุดอ่อนของมนุษย์ตรงนี้เองมาเป็นจุดเด่นแล้วสร้างการตลาดด้วยวิธี “ยั่วให้อยาก” แล้ว “หลอกให้ซื้อ” จยมนุษย์ถูกลดทอนคุณค่าลงมาจากสัตว์ผู้ประเสริฐเหลือเพียงฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ผลิต กับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บริโภค จะพูดให้ตรงกว่านั้นก็ได้ว่า ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้หลอก อีกฝ่ายเป็นผู้ถูกหลอก เสียดายศักยภาพอันประเสริฐเลิศล้ำทางจิตและปัญญาของมนุษย์ ถูกนำมารับใช้เพียงแค่เรื่องของการ “บริโภค” เท่านั้น

ปัญญาชนทั้งหลายที่เห็นด้วยกับพระพุทธเจ้าย่อมทราบดีว่า “โลก (หมายถึงใจ) ย่อมพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา” ดังนั้น จึงพยายามดำเนินชีวิตโดยไม่วิ่งตามความอยาก แต่เป็นฝ่ายจำกัดความอยากฝห้พอดี แล้วดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง เมื่อพอดีจนพอเพียงแล้ว ก็มีวันเวลา ความคิด กำลังกาย กำลังใจ เหลือมากพอที่จะหันกลับมาพัฒนาชีวิตให้มี “คุณค่า” สมกับที่เกิดมาเป็นมนุษย์

ส่วนบรรดาผองชนผู้ไม่รู้จักธรรมชาติของความอยากทั้งหลาย ก็คงจะสูญเวลาไปทั้งชีวิตกับภารกิจคือการพยายามเติมน้ำทะเลให้เต็ม ซึ่งต่อให้เกิดมาสักร้อยชาติภารกิจนี้ก็ไม่มีทางบรรลุผล คนที่เกิดมาแล้วอุทิศชีวิตทั้งหมดให้กับการวิ่งตามความอยากนั้น วันเวลาของเขาจะหมดไปับการแสวงหา “มูลค่า” มากกว่า “คุณค่า” ซึ่งในที่สุดแล้ว เจ้า “มูลค่า” ทุกอย่างที่เขาครอบครองนั้น ล้วนเป็นมายา ว่างเปล่า สมกับที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป

สิ่งที่คนทั้งโลกถูกนักเศรษฐศาสตร์ตาบอดและนักการตลาดขาดจริยธรรม “ยั่วให้อยากแล้วหลอกให้ซื้อ” รวมทั้ง “ยุให้แข่งขันเพื่อที่จะครอบครองอย่างเบ็ดเสร็จ” นั้นคือหนทางกันดารอันจะนำไปสู่อบายภูมิโดยแท้ ภาวะอย่างนี้ รัฐบาลสัมมาทิฐิชุดไหนรู้ทัน ก็คงเป็นบุญของคนไทย แต่หากรู้ไม่ทัน คนไทยส่วนใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นต้องถูกต้อนไปเป็นคนคอย “ตักน้ำไปเติมทะเล” เหมือนกับคนอื่นๆทั่วโลก

ตะแกรงร่อนทอง หน้า 118-122

« « Prev : นิทานในนิทาน

Next : ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 Sasinand ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 August 2008 เวลา 10:09

    โชคดีนิดหน่อยค่ะ ที่   “ยั่วให้อยากแล้วหลอกให้ซื้อ”  ส่วนใหญ่ ใช้ไม่ค่อยได้กับพี่
    มีแต่จะซื้อเพราะอยากได้เอง เพราะจำเป็น  ไม่ใช่ถูกยั่วให้ซื้อ..


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.3342809677124 sec
Sidebar: 0.13592290878296 sec