น้ำท่วม ข้อมูลก็ท่วมด้วย

อ่าน: 4316

คำว่า Information Overload เป็นคำที่ Alvin Toffler นำมาใช้จนแพร่หลาย เมื่อเขาเริ่มบรรยายถึงสังคมแห่งข่าวสารเมื่อ 40 ปีก่อน

อาการ Information Overload เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณข้อมูลหลั่งไหลเข้ามาจนประมวลไม่ทัน คืออ่านอย่างหาความหมาย แล้วคิดต่อจนรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไม่ทัน

มีอีกคำหนึ่งคือ Sensory Overload ซึ่งน่าจะตรงกว่าสำหรับคำว่า “รับไม่ไหว” มากกว่า

ในเมื่อรับไม่ไหว มันก็ไม่ไหวล่ะครับ คนที่เจออาการ Information Overload เข้าบ่อยๆ เขามักข้ามไปเลย ซึ่งอันนี้กลับเป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คืออาจจะพลาดข่าวสารสำคัญ

ในปัจจุบัน มีสถานการณ์วิกฤตอุทกภัยเกิดขึ้นทั่วประเทศ เครื่องมือสื่อสารก็มีมากขึ้นเยอะ ทำให้ข้อสนเทศ​ (data) และสารสนเทศ​ (information) หลั่งไหลเข้าสู่เครือข่ายสังคม มากน้อยแล้วแต่ความป๊อบ

แต่ถ้าเป็นศูนย์รวมเช่น #thaiflood hash tag หรือเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับน้ำท่วม คนที่เฝ้าติดตาม อาจจะเจอ Information Overload ได้ — เมื่อวานผมเดี้ยงไป พอตื่นขึ้นมา เจอข้อความใน #ThaiFlood ห้าพันข้อความ เอื๊อก…

ไม่มีทางจะระงับอาการ Information Overload ได้เนื่องจากสารสนเทศนั้น ผู้อื่นเป็นผู้สร้างขึ้น เราดันไปตามเอง ฮี่!!!

แต่มีวิธีการง่ายๆ ที่พอจะช่วยผลของอาการได้ เช่น

  • ให้เวลากับข้อความประเภท “ต้องรู้” “สถานการณ์” ให้มากขึ้น; ส่วนพวก “รู้ไว้ก็ดี” “ความเห็นที่ไม่เกี่ยวกับสถานการณ์” “การระบายอารมณ์” ข้ามไปก่อนก็ได้
  • ให้ความสำคัญกับ “คุณภาพของสารสนเทศ” มากกว่าปริมาณข้อความ ข้อความที่กระชับ+ชัดเจน ดีกว่าข้อความยืดยาวที่ไม่เข้าเรื่องเสียที
  • เรียนรู้และฝึกที่จะเขียนข้อความที่มีความหมายกระชับ+ตรงประเด็น ติดต่อตรงกลับไปหาผู้ส่งสารสนเทศโดยตรงหากไม่เข้าใจ เช่นคุยกันเฉพาะเรื่องสองคน ก็ไม่ต้อง Cc: คนอีกห้าสิบคน
  • สมองคนเราดูเหมือนจะรับอะไรได้ทีละหลายอย่าง ที่จริงมันคิดได้ทีละเรื่องครับ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้อย่างรวดเร็วจนดูเหมือนคิดได้หลายเรื่องพร้อมกัน ร่างกายและการกระทำยิ่งช้ากว่าสมองมากมาย ร่างกายทำทีละอย่างเท่านั้น ดังนั้นหากเรื่องที่กำลังคิดกำลังทำเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ ก็ขอให้ทำทีละเรื่อง ไม่ต้องกลัวว่าจะหลุดวงโคจรไป เพราะว่าเรื่องที่ต้องทำในเวลานี้ มีมากมายเหลือเกิน
  • รู้จักใช้เวลาพักอย่างสงบบ้าง จริงอยู่ที่มีคนเดือดร้อนมากมายหลายล้านคน (วันนี้ ปภ.ว่า 6.1 ล้านคนทั่วประเทศ) แต่ถ้าตัวเราทำไม่ไหว เราจะไปช่วยใครได้ครับ

กรณีทวิตเตอร์ที่ติด hash tag ที่เกี่ยวกับน้ำท่วม มีการ retweet กันเยอะ ซึ่งก็ไม่ผิดหรอกนะครับ ไม่ได้ห้ามเพราะเป็นสิทธิด้วยซ้ำไป — แต่การ retweet ข้อมูลจาก hash tag ไปสู่ follower ข้อความนั้นกลับเข้า hash tag อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ข้อความเดียวกันเกิดซ้ำอีก ในมุมหนึ่งก็เป็นการดีที่ย้ำถึงความสำคัญของข้อความ แต่อีกมุมหนึ่ง จะทำให้ข้อความเดียวกันเกิดซ้ำ (บางข้อความซ้ำกว่า 20 ครั้ง ข้ามคืนไปแล้ว ยังโผล่กลับมาอีก)

ผมคิดว่าคงจะดีกว่าที่เชิญชวน follower มาตามดู hash tag ดังกล่าวเอง จะเป็น #thaiflood #pmflood #hdyflood #TWT4TH #ArsaDusit #Pb1 #EcholinkTH #1500miles #CrisisCampTH หรืออะไรก็แล้วแต่ บรรดา follower เลือกเองว่าจะตามดูหรือไม่ แล้วปริมาณการ retweet ก็จะน้อยลงด้วย เป็นการช่วยทุกคนที่ตาม hash tag เหล่านั้นอยู่แล้วไปในตัว

ทางศูนย์ช่วยเหลือต่างๆ ควร filter hash tag ของตัวเองจาก public timeline แยกเอาข้อความใหม่ (ที่ไม่ได้ retweet ไม่ได้ reply) ออกไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้าสถานการณ์และความคืบหน้า ข้อความเหล่านั้นเป็นสารสนเทศที่ผู้ส่งสาร ตั้งใจส่งเข้าใน hash tag ช่วยให้มี signal-to-noise ratio ที่ดีกว่า ข้อมูลขยับช้ากว่า มีเวลาคิดถึงผลกระทบต่อเนื่องมากกว่า

« « Prev : งานอาสาสมัครกับ Crowdsourcing

Next : ไอทีกับการจัดการภัยพิบัติ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 November 2010 เวลา 2:57

    น้ำท่วม โดนข้อมูล ทับ เดี๊ยงได้
    ข้อมูลเก่าเหมือนน้ำขัง บูด เน่า เป็นข้อมูลขยะ ได้
    ถ้ามีวิธีคัดแยกข้อมูลเก่าออกไปแยกไว้
    ข้อมูล ใหม่ สดๆ จะให้ผลต่อผู้รับ สนใจ ติดตาม ได้ดี
    สารสนเทศ อุตลุด คราวนี้ เป็นโจทย์เกิดในสภาพจริง เส้นจราจรข้อมูล
    ไม่ทราบว่าจะติดสัญญาณไฟ เขียว-แดง-เหลือง -บอกสถานะ/ระดับ ข้อมูล ได้ หรือ ดีไหม?

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 November 2010 เวลา 3:12
    อันนี้เรื่องยาวเลยครับ พูดไปก็จะมีคนหมั่นใส้ แต่ไม่พูด คนทำงานที่คอยเฝ้าติดตามตายหมด

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.086672067642212 sec
Sidebar: 0.1708869934082 sec