บุก Crisis Camp

โดย Logos เมื่อ 2 November 2010 เวลา 20:36 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3945

บ่ายนี้ ผมบุกวอร์รูมของเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน เพิ่งเปิดดำเนินการบ่ายนี้เองครับ แต่มีอาสาสมัครตัวจริงเข้าทำงานแล้ว

(ผม)ยังไม่มีอะไรทำมากนักครับ คือว่าไม่ได้เอาโน๊ตบุ๊คไป — ไม่ใช้โน๊ตบุ๊คมาสองปีแล้วครับ มีอะไรฉุกเฉิน เปิดมือถือแทนตลอด

วันนี้มีประเด็นน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ไม่ค่อยเข้ามาที่ศูนย์ คือ

0. ศูนย์ Crisis Camp เพิ่งเปิดวันนี้เอง

1. คำแนะนำเรื่องรายงานจากพื้นที่

รายงานที่จะใช้ประโยชน์ได้ทันที คือรายงานที่อ่านแล้ว

  • รู้ว่าอยากให้ช่วยอะไร พร้อมทั้งสถานการณ์อย่างละเอียด (แต่ไม่ต้องบิลท์อารมณ์มากนัก)
  • อยู่ตรงไหน ถ้ามีพิกัดก็เยี่ยมเลย ถ้าไม่มี-ซึ่งส่วนใหญ่คงไม่มี จะต้องอธิบายอย่างละเอียด เนื่องจากผู้ที่เสี่ยงภัยเข้าไปช่วยเหลือ อาจไม่ใช่คนในพื้นที่ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่/หมู่บ้าน ถนน กม.ที่เท่าไหร่/ห่างจากแยกอะไรเป็นระยะเท่าไหร่ บ้านเลขที่ บ้านสีอะไร อยู่ใกล้สิ่งที่สังเกตได้ง่ายอะไรบ้าง
  • ระดับน้ำเท่าไหร่เพื่อที่จะได้รู้ว่าเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างไร
  • ชื่อ+วิธีติดต่อกลับไป
  • มีสถานการณ์อะไรอื่นๆ ในบริเวณนั้นอีกหรือไม่ เช่นบ้านข้างๆ ต้องการอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ ออกไปครั้งเดียวจะได้ช่วยได้หลายๆ กรณี

ทางฝั่งผู้รับรายงาน นอกจากจดบันทึกอย่างละเอียดแล้ว จำเป็นต้องลงเวลาไว้ด้วยครับ

2. วิทยุสมัครเล่น

หน่วยงานช่วยเหลือส่วนใหญ่ไม่ใช่นักวิทยุสมัครเล่นครับ ข้อมูลที่ออกมาจากพื้นที่ผ่านวิทยุสมัครเล่นกลับไม่มาถึงอาสาสมัครส่วนใหญ่ หากใครเข้าเน็ตได้ ตามดู #EcholinkTH ในทวิตเตอร์ด้วย — ระบบวิทยุสมัครเล่นเป็นเครือข่ายสำคัญใน OpenCARE โดยที่ HS1WFK (อดีตเลขาธิการ สวสท.) ร่วมทำงานอยู่ด้วยกันและเป็นผู้ผลักดันสำคัญ ตลอดจน สวสท. เป็นภาคีแรกเริ่มหนึ่งในห้าของเครือข่าย OpenCARE ด้วย

หากมีผู้เชี่ยวชาญกิจการวิทยุสมัครเล่นที่อยากช่วยประสานงาน ขอเชิญที่ห้องไม้ 2 ชั้นสอง โรงแรมพินนาเคิล (Pinnacle) เข้าซอยงามดูพลีไปนิดเดียว ถนนพระรามสี่ กรุงเทพฯ ครับ webm...@thaiflood.com

3. ระดับน้ำ

ถ้าท่วมแค่เข่าคือระดับ 50 ซม.ครับ แค่เอวเป็น 1 เมตร แค่คอเป็น 1.5 เมตร — ส่วนที่ชอบบอกกันว่า 2 เมตรนั้น ท่วมมิดหัวนะครับ ยกมือขึ้นไป โผล่นิดเดียว — ถ้าท่วม 2.5 เมตร จะท่วมเพดานชั้นล่าง

ระดับน้ำที่ถูกต้อง มีความสำคัญในการเลือกพาหนะเข้าพื้นที่ ถ้าท่วมแค่เข่า เอารถที่มีท่อไอเสียสูงเข้าได้ ถ้า 1 เมตร ก็อาจจะต้องเป็นรถทหาร แต่ถ้าเกินนั้น ต้องเป็นเรือแล้วครับ ปัญหาคือเรือในพื้นที่มีไม่มาก เมื่อเรือออกไปแล้ว ควรจะช่วยคนให้ได้มากที่สุดเนื่องจากอาจกลับมาบ่อยนักไม่ได้

ดังนั้น ถ้าน้ำท่วมสูง น่าจะเป็นการดีที่ออกมาจากพื้นที่ก่อนครับ

« « Prev : เครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน

Next : งานอาสาสมัครกับ Crowdsourcing » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

7 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 November 2010 เวลา 23:53

    นอกจากบริจาคแล้ว คอยติดตามข่าวคราว

    ดูเหมือนว่าวิกฤติลักษณะไหนๆก็ตาม การรวมศูนย์บริหารจัดการเป็นเรื่องสำคัญ ระบบสื่อสารยิ่งสำคัญ ระบบการเข้าถึงและตอบสนองตามหลัก Triage

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 November 2010 เวลา 0:25
    [หลัก Triage] การรวมศูนย์จัดการ ไม่น่าจะเวิร์คหากว่ามีข้อมูลที่ไม่ดีกว่าหน้างานนะครับ

    ผมคิดว่า ในกรณีที่โครงสร้างการบริหารเป็นแบบปิรามิด ผู้บริหารที่อยู่ไกลจากเหตุการณ์และได้รับข้อมูลที่ “กลั่นกรองแล้ว” (และรู้ตัวว่าข้อมูลถูกกลั่นกรองแล้ว) ควรจะ empower คนทำงานที่หน้างาน ให้ทำงานได้อย่างดีที่สุด จัดสรรทรัพยากรให้ตามความจำเป็น กระจายอำนาจการตัดสินใจออกครับ

    ในการอาสาช่วยผู้ประสบอุทกภัยครั้งนี้ มีโครงเป็นปลาดาวครับ อาสาสมัครในพื้นที่ เป็นหน้างานอยู่รอบๆ ส่วนตรงกลางคอยประสานระหว่างทีมต่างๆ ซึ่งเป็นอิสระต่อกัน และมีหลายทีมด้วย ดูเหมือนจะยุ่งเหยิงครับ แต่อาจเป็นเพราะเราเพียงแต่ไม่คุ้นเคย เพราะต่างจากโครงสร้างปิรามิดที่ใช้กันอยู่ตามองค์กรทั่วไป

    โครงสร้างปลาดาว คงต้องใช้เครื่องมือและทักษะการประสานงานมาก เหนื่อยแน่ครับ (เดี๋ยวจะเขียนบันทึกเรื่องนี้)

    ไม่ว่าโครงสร้างจะเป็นอย่างไร ก็จะต้องจัดลำดับความสำคัญเสมออย่างพี่ว่าครับ

  • #3 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 November 2010 เวลา 1:25

    ทางใต้หนักหนา สาหัสมาก ระบบสื่อสารทำได้ยากมาก ชาวบ้านที่ไม่สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ จะลำบากที่สุด เรื่องอาหารน้ำดื่มยาที่จำเป็น และการขับถ่าย ยิ่งลมหนาวมาแล้วยิ่งทุกข์ทรมารมากขึ้น มีทางเดียวที่พอจะทำได้ คือใช้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงอาหารที่พร้อมกินได้ทันที แอละของจำเป็นไปหย่อนให้บนหลังคาบ้าน หรือตรงหน้าต่าง หรือจุดที่ผู้ที่ติดอยู่ในบ้านสามารถรับได้ ให้พยามยามดูตามต้นไม้ด้วย อาจมีคนติดตามต้นไม้ด้วย ขอเอาใจช่วยทุกคนค่ะ

  • #4 เครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน เปิดแล้ว | พัชร ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 November 2010 เวลา 1:28

    [...] ลองดูบล็อกคุณ @superconductor เรื่อง บุกศูนย์ฯ ก่อนได้ครับ [...]

  • #5 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 November 2010 เวลา 1:36
    หาดใหญ่ พัทลุง อยู่ใกล้ทะเล น้ำลดเร็วครับพี่

    ตรังน่าห่วงครับ ภูเขา (พื้นที่รับน้ำฝน) อยู่กลางคาบสมุทร ถ้าฝนตกฝั่งตะวันตกของเขา จะไหลไปถล่มเมืองตรัง ซึ่งมีคลองยาว 20 กม.ไปลงทะเล แต่เป็นที่ราบความลาดเอียงต่ำ น้ำไหลช้าครับ อาการจะเป็นเหมือนน้ำท่วมจังหวัดทางภาคอีสานกับภาคกลาง http://flood.gistda.or.th/ServerScripts/thumbflood.py?width=&source=rd2_20101102_RAD_54_0054_0000_2

  • #6 มิสเตอร์สะตอฯ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 November 2010 เวลา 6:00

    สวัสดีครับพี่

    ลูกศิษย์ผมส่งภาพมาให้เมื่อคืนครับ http://www.schuai.net/psupn/
    ผมติดต่อใครไม่ได้ ทราบแต่ว่าต้นไม้โคนล้มเยอะ และเมื่อเช้าก็ได้รับข้อความว่า ไม่มีไฟฟ้าใช้กันเลยไม่ทราบข่าวรายละเอียดจากภายนอกเลยครับ
    พอดีผมต้องเดินทางกลับวันนี้ เส้นทางระหว่างทางคงจินตนาการเอาได้จากปี 2000 ไม่น่าเชื่อว่าสิบปีที่นี้ผมก็ไปปัตตานีไม่ได้ ติดอยู่สี่แยกสนามบิน สามคืนสี่วัน
    ครั้งนี้ผมก็ไม่แน่ใจครับ ติดอยู่ข้างนอกอีกแล้วครับ เครื่องบินลงวันนี้ ก็จะไปหาอะไรกินทำกันหนอ….

  • #7 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 November 2010 เวลา 8:59

    สนามบินหาดใหญ่ใช้ได้แล้วค่ะ เบอร์สอบถาม 074-227000


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.16477298736572 sec
Sidebar: 0.16107106208801 sec