กระถางในดิน

อ่าน: 4058

กลับมาจากสวนป่า เกิดความคิดวิปลาสอีกแล้วครับ

ดินทางเหนือและอีสานนั้น แห้งแล้งมานานเนื่องจากการหักร้างถางป่า ทำให้แสงแดดเผาพื้นดิน ทำลายความอุดมสมบูรณ์ในดิน จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ไม่ได้ ใส่ปุ๋ยเคมี ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้หน้าดินแข็ง เมื่อฝนตกลงมา น้ำซึมลงไปในดินไม่ทัน ก็ไหลไปตามความลาดเอียง เป็นน้ำหลาก (run-off) ชะเอาหน้าดินลงไปด้วย ช่วยเร่งดินถล่ม

การที่จะนำความอุดมสมบูรณ์กลับมาสู่ดิน นอกจากแก้ไขเรื่องความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยวิธีห่มดินแล้ว (ปลูกไม้ยืนต้นให้ร่มเงาก็ได้ แต่ว่าช้าหน่อย) ก็ยังต้องบำรุงน้ำใต้ดินอีกด้วย สภาพดินปนทราย หากว่าหน้าดินยังไม่แข็งนัก เมื่อฝนตกลงมา น้ำจะซึมหายไปหมด โอกาสทองของต้นไม้ มีอยู่ครู่เดียว ยกเว้นว่าฝนตกทุกวัน แต่เมื่อพ้นหน้าฝนไป ก็ลำบากเหมือนเดิม

ความคิดแรกคือปล่อยละอองน้ำไปในอากาศ แล้วให้ความชื้นเทียมเหล่านี้ ไปรวมตัวกับความชื้นในอากาศกลั่นตัวเป็นน้ำค้าง จะใช้พลังงานเท่าไรยังเป็นเรื่องรองลงไป แต่มีปัญหาอยู่สองอย่างคือ (1) เราไม่รู้ว่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีเพียงพอหรือไม่ (2) ละอองน้ำอาจจะระเหยไปในอากาศซะเอง ดังนั้นหากคิดว่าน้ำเป็นทรัพยากร ระบบน้ำหยดน่าจะให้ผลตรงกับระบบรากมากกว่า แต่ก็มีปัญหาต้องแก้ตรงที่สายยางมีราคาแพงครับ ถ้าจะตั้งสปริงเกอร์หรือหัวฉีดน้ำฝอย ก็ต้องให้ครอบคลุมระยะของร่มเงาไปจนถึงโคนต้น http://phytosphere.com/vtf/treewater.htm

พืชผัก พืชล้มลุก พืชอาหารที่ระบบรากไม่ลึก บางทีปลูกในกระถางก็ได้ ถ้าหากว่กระถางใหญ่พอที่จะไม่ขวางการเจริญเติบโตของรากตลอดอายุเก็บเกี่ยว แต่กระถางก็มักจะใหญ่และมีราคาแพงอยู่ดี ดังนั้นเมื่อมองว่าน้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่า จะต้องใช้อยุ่างคุ้มค่า ผมจึงคิดจะทำผนังที่กักเก็บน้ำเอาไว้ให้รากได้ใช้ประโยชน์

วิธีการคือในแปลงปลูก ขุดดินให้ลึกผิดปกติ แล้วเอาโฟมบุทั้งด้านล่างและด้านข้าง จะฉีด จะหล่อ หรือจะเอาโฟมสำเร็จรูปหรือโฟมเหลือใช้มาปู ก็ไม่ต้องสนใจรอยต่อหรอกครับ น้ำซึมออกไปได้น้อยเมื่อเทียบกับปล่อยไว้เฉยๆ เมื่อบุโฟมแล้ว เอาดินกลบในหลุม แล้วจึงเอาต้นไม้ลง

เมื่อเรารดน้ำ น้ำจะถูกผนังโฟมกักไว้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นน้ำจึงอยู่ในดินที่รดน้ำแล้วเป็นส่วนใหญ่ ระเหยออกทางผิวหน้าและซึมออกตามรอยต่อของโฟมได้เป็นส่วนน้อย

หากเป็นอย่างนี้ เราก็รดน้ำพืชผักน้อยลงได้ เพราะเค้ามีน้ำอยู่ใต้ดินใกล้รากอยู่แล้ว

เข้าใจครับว่าโฟมไม่ย่อยสลายในธรรมชาติ แต่เมื่อลงมือบุทำผนังโฟมแล้ว เราก็ไม่ย้ายแปลงปลูกเหมือนกัน เพราะว่าขุดดินออกเปลี่ยนหรือปรับปรุงดินได้ ในกรณีนี้ โฟมไม่ได้ต่างอะไรกับกระถางหรอกนะครับ แต่บรรเทาภัยแล้งและรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินได้ดีขึ้น

ที่จริง จะเป็นฟิวเจอร์บอร์ดแบบบาง พลาสติกลูกฟูก PP Board หรือวัสดุอะไรก็ได้ที่น้ำไม่ซึมผ่านและไม่ทะลุง่ายๆ จากน้ำหนักของดินก็ได้ ทำอย่างนี้ ไม่ต่างอะไรกับปลูกข้าวในท่อปูนเท่าไรหรอกครับ

« « Prev : ใกล้ไกลกระทบถึงกันหมด

Next : บ้านดินโครงไม้ไผ่ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 December 2011 เวลา 6:05

    ถ้าปูดินสัก 1 ฟุตปลูกพืชล้มลุกน่าจะพอดี
    1 น่าทดลองสภาพจริง
    2 เปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆ
    3 ตอนนี้กะเอาถ่าน/ปุ๋ยคอก/ปูเพื้นที่แปลงผัก
    4 อีกวิธีหนึ่งที่ทำ เจาะหลุม ใส่ปุ๋ย กลบดิน หยอดพันธุ์ รดน้ำ เหมาะกับพืชทนแล้ว พบกว่ามันเลือดแตกหน่อเร็ว เพิ่งไปเจอ เลยไม่ได้ชวนชม จะลงรูปในเฮฮาให้ชม
    >> เรื่องน้ำ ยังเป็นวุ้น ต้องสนุกไปอีก นาน เป็นหัวเรื่องที่สำคัญ ยิ่งทำ ยิ่งมันส์

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 December 2011 เวลา 20:17
    ลึกหนึ่งฟุตน่าจะดีครับ ผมกำลังรอถังเหล็กจากน้อง ถ้าได้มาก็จะลองทำเตาเผาถ่าน Biochar เลยครับ
  • #3 nuntawun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 April 2012 เวลา 18:32

    ทำเฉพาะหน้าแล้งใช่ไหมคับ หน้าฝนกลัวน้ำขังแล้วพืชตาย


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.18541812896729 sec
Sidebar: 0.13090205192566 sec