วันสิ่งแวดล้อมโลก กับ EM Ball

อ่าน: 6022

วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี (เมื่อวาน) สหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งธีมในปีนี้เป็นเรื่องป่า พื้นที่ป่าต้องเป็นหนึ่งในสามของพื้นที่ที่มีอยู่ (ด้วยตัวเลขอย่างเป็นทางการ เมืองไทยมีไม่ถึงหรอกครับ นี่ยังไม่นับการบุกรุก) วิกฤตแต่ละเรื่อง ใหญ่ทั้งนั้น วิกฤตสิ่งแวดล้อมนั้น แก้ไขได้ยากเนื่องจากการทำลายใช้เวลาเดี๋ยวเดียว แต่ว่าการฟื้นฟูนั้นกลับใช้เวลานาน บ่อยไปที่เป็นสิบปี อย่างไรก็ตาม วิกฤตเฉพาะหน้าของเมืองไทยในวันนี้ มีอยู่หลายเรื่อง แก้ไม่จบเสียที (หรือไม่ได้แก้ก็ไม่รู้)

วันนี้ทางศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ThaiFlood.com) อาสาดุสิต (ArsaDusit.com) และ เครือข่ายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ภาคประชาชน (PS-EMC) ชวนไปโยนลูกโบกาฉิ (EM Ball) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์พันธุ์พิเศษสำหรับแก้น้ำเสีย หวังว่าจะช่วยให้สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยาเน่าจากการที่เรือบรรทุกน้ำตาลล่มที่อยุธยาดีขึ้นบ้าง แต่เรื่องอย่างนี้ต้องไปดูแห่ เมื่อเจอวิกฤตอยู่ต่อหน้าต่อตา จะน่ิงเฉยทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่ไหวแล้วครับ

การเอา EM Ball ไปโยน ตามหลักการ เป็นการเอาจุลินทรีย์ไปบำบัดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่กรณีที่น้ำมี DO ต่ำนั้น  ผู้มีความรู้ก็กังวล ว่าจุลินทรีย์จะยิ่งไปแย่งออกซิเจนในน้ำ ดังนั้นถึงจะไม่ได้นอน (อีกแล้ว) ก็ต้องไปคุยหาความรู้

ดูคลิปกันก่อนนะครับ ที่จริงถ่ายมามากกว่านี้ แต่ว่าเสียงไม่ดีเพราะผมอยู่ไกล เลยไม่รู้จะเอามาลงทำไม ส่วนคุณภาพของภาพ ผมลดขนาดลงเพื่อที่ผู้ที่ต่อเน็ตความเร็วไม่สูง หรือวงจรระหว่างประเทศแน่น(ถูกเอาเปรียบ) จะดูได้อย่างไม่อึดอัดนัก

ผมหนีกลับก่อน เพราะไม่ได้นอน จึงง่วงมาก

คลิปอีกสองอัน ขโมย iwhale ซึ่งถ่ายลุงเฉลียว ปานเนียม อธิบายการทำงานของ EM Ball มา ลุงเฉลียวออกเดินทางตอนตีสี่ครึ่ง เพื่อมางานในวันนี้่ซึ่งนัดพร้อมกัน 9 โมง จะลงเรือ 10 โมง แต่กว่าจะลงเรือได้ก็ช้าไปมากแล้ว

คุณลุงเฉลียว ปานเนียม ผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ลูกบอลจุลินทรีย์ ที่ผลิตขึ้นมานั้น ประกอบด้วยสารต่างๆหลายชนิด เช่นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และยีสต์ ซึ่งยีสต์ตัวนี้จะช่วยย่อยสิ่งที่ไม่ดีมาให้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกำจัด และมีคุณสมบัติทำให้เกิดอ๊อกซิเจนมากขึ้นในน้ำ โดยเรามีประสบการณ์ในการในการช่วยบำบัดน้ำทะเลที่เสียหาย ซึ่งผลออกมาก็สามารถทำให้น้ำทะเลมีสภาพที่ดีขึ้น ทั้งนี้เคยเดินทางไปเป็นวิทยากรในการเพิ่มอ๊อกซิเจนให้น้ำทั้งในประเทศและ ต่างประเทศมาแล้วหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และลาว เป็นต้น ซึ่งถ้าเราเติมบอลจุลินทรีย์ ลงไปในแม่น้ำมากๆ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาทำให้ตะกอนและสารตกค้างอื่นๆหมดสภาพลงและช่วยให้เกิด อ๊อกซิเจนมากขึ้นในแม่น่ำลำคลองอีกด้วย ถ้าประชาชนท่านใดสนใจจะเรียนรู้ก็สามารถไปดูงานได้ที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เลขที่ 322/1 ม.3 ต.ทัพหลวง อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ตนเองยินดีและเต็มใจที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปช่วย เหลือฟื้นฟูสภาพแม่น้ำลำคลองที่มีปัญหาให้ดีขึ้นต่อไปในอนาคต

ส่วนคลิปนี้ เครือเนชั่นสัมภาษณ์ตั้งแต่เช้า

มีนัดกันรอบสอง วันที่ 7 มิถุนายนนี้ เวลา 8:30 น. ที่เดิม อิงนที รีสอร์ต ต.กระแชง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี (แผนที่: http://goo.gl/maps/QfB7 พิกัด: 14.04641N,100.55618E)

« « Prev : กู้วิกฤตแม่น้ำเจ้าพระยา

Next : วันไหว้บ๊ะจ่าง กับ EM Ball » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 June 2011 เวลา 22:16

    ปฏิกิริยาทาง ชีวเคมี ข้าพเจ้าบ่ฮู้ แต่ที่เห็นๆ คือทำเป็น ลูกบอลกลมๆ ไม่น่าดีเท่าทำเป็นแผ่นแบนๆ ด้วยเหตุผลทาง เรขาคณิตธรรมดา ที่จะทำให้มวลเท่าๆกัน มีพท. สัมผัสมากกว่า ทำให้เร่งปฎิกิริยาได้เร็วกว่า

    ยกเว้นถ้าอยากได้ช้าๆ ก็ดีแล้ว

    แต่เท่าที่ได้เคยรับรู้มาบ้าง พวกจุลินทรีย์ประเภท anaerobic นั้น จะผลิต co2 เป็นหลัก ไม่น่าผลิต O2 ได้นะครับ

    นักจุลชีววิทยาเก่งๆ ยังมีอีกมากในประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่ พวกไม่เก่งมักดัง พวกเก่งๆ มักไม่ดัง ..เป็นธรรมดาของประเทศไทย แหละครับ

    นี่ไม่ได้ว่าท่านผู้นำเสนอเป็นการเฉพาะนะครับ เพราะไม่รู้จักท่าน แต่ว่าในภาพรวมทั่วๆไปเท่าที่เคยพบเห็นมา

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 June 2011 เวลา 22:49
    ทรงกลมมีพื้นผิวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่น หากจะครอบปริมาตรอันเดียวกัน แต่ผมก็ไม่รู้ว่าอัตราการละลายปล่อยเชื้อนั้น คำนวณไว้อย่างไร พรุ่งนี้จะไปถามอีกทีครับ

    สำหรับผม ทั้งหมดนี้เป็นการเรียนรู้และทดลอง ผมไม่ปักใจเชื่ออะไรง่ายๆ แต่ก็ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ในเรื่องที่ผมไม่รู้ การที่เคยเป็นผู้บริหารระดับสูงนั้นสอนว่า การตัดสินใจโดยความไม่รู้ มักจะเสียหายหนักครับ; เท่าที่กะดู คิดว่า EM Ball ไม่น่าจะแพร่ไปได้ไกลเนื่องจากปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับความเร็วและปริมาณของแม่น้ำ — เวลาทิ้งก็ทิ้งกันไปตามแต่เรือจะพาไป มีหลายจุดที่เป็นกระจุก ซึ่งอาจถือว่าเป็นจุดสังเกตได้ ว่าถ้าปลาหน้ารีสอร์ต (ที่เรียงแถวโยนและถ่ายรูป) มีมากกว่าอีกฝั่งหนึ่ง EM Ball อาจจะได้ผลครับ สองสามวันคงรู้ผล ที่จริงพรุ่งนี้ ก็จะไปที่รีสอร์ตนั้นอีกครั้งหนึ่ง

    มีคนห่วงใยในประเด็นของการแย่งออกซิเจนในน้ำมากเหมือนกันครับ เมื่อวาน SMS ดังหลายครั้ง ผมตอบเท่าที่เข้าใจ อะไรที่ตอบไม่ได้ก็ไปสัมภาษณ์มา แต่คลิปในบันทึกถัดจากบันทึกนี้ (อ.มนัส) เป็นเหตุเป็นผลกว่านะครับ คลิปในบันทึกนี้ เป็นบรรดาผู้ที่ไปเห็นผลเชิงประจักษ์มา

  • #3 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 June 2011 เวลา 9:26

    คิดอีกทีอาจเป็นไปได้ครับ เพราะต้องการโอทูนิดเดียว ระดับ ppm เท่านั้น ซึ่ง โอทูก็เป็นกากเหลือของปฏิกิริยาชีวเคมีอยู่แล้ว แต่มีน้อยมาก  แต่การเป่าอากาศนั้น มีโอทูถึง 21% เรียกว่ามันดีกว่าใช้ em 10 ล้านเท่าเลยนะครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.44754815101624 sec
Sidebar: 0.39715695381165 sec