เมื่อนายคุณอยู่บน…หอคอย
อ่าน: 4134มีบทความอันหนึ่งบน palawat.org ซึ่งเขียนเมื่อต้นปี 2550 ผมเคย reblog ไว้นานแล้ว แต่ได้ย้อนกลับไปอ่านอีกครั้งหนึ่งด้วยความรู้สึกที่แตกต่างออกไป
เมื่อก่อนอ่านแล้วมีความรู้สึก “สะใจ” นำโด่งออกมาเลยครับ ขนาดที่ตอนนั้นเป็นผู้บริหารระดับสูงปรี๊ดนะเนี่ย ตอนนี้กลับรู้สึกว่า ความสะใจไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมาเลย ไม่ได้แก้ไขอะไรทั้งนั้น เพียงแต่ได้ระบายความอึดอัดออกมาบ้าง แต่เหตุของความอึดอัดยังอยู่เหมือนเดิม แล้วมันก็จะเป็นอีก
บทความนี้ อ่านแล้วต้องคิดเยอะๆ ครับ แค่บอกว่า ใช่เลย…โดนจริงๆ…สุดยอด แต่ก็ยังทำเหมือนเดิม แบบนี้ได้อ่านหรือไม่ได้อ่าน ก็มีค่าเท่ากันนะครับ (reblog โดยได้รับอนุญาตจากคุณ blackcode เจ้าของบทความ ขอบคุณครับ ผมแก้ตัวสะกดไปสามแห่ง)
ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เคยเล่าให้ฟังว่า…เจ้าของกิจการรายหนึ่งขอให้เป็นที่ปรึกษาปรับปรุงองค์กร
เนื่องจากประสบปัญหามากมายโดยเฉพาะคน ทั้งคุยกับลูกน้องไม่เข้าใจ
สั่งงานไม่ได้เรื่อง ทำให้การบริหารเป็นไปด้วยความลำบาก หลังจาก ดร.สมชาย
เข้าไปศึกษาการทำงานจึงรู้ว่า ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่ลูกน้อง
แต่อยู่ที่เจ้าของกิจการนั้นเอง
ครั้นจะไปบอกเจ้าของกิจการก็กระอักกระอ่วนพอควร….
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าหลายๆ ครั้ง เรามักว่าเราคิดดี เราฉลาด
คนอื่นไม่เข้าใจ ลูกน้องน่าจะ..อย่างโน้นอย่างนี้
โดยไม่มองกลับมาที่ตัวเองก่อนในระยะนี้ผมจะได้ยินหลายคนบ่นถึงเรื่องทำไงดีถ้าเจ้านายเค้าอยู่บนหอคอยงาช้าง
และที่แย่กว่านั้นคือนายเค้าไม่รู้ตัวเสียด้วยว่าได้ทำตัวอยู่บนหอคอยงาช้างเสียแล้ว
เพราะคิดว่าประตูห้องก็เปิดตลอดใครเข้ามาปรึกษาได้ ระบบสื่อสารต่างๆ ก็มี
ว่างๆ เดินมาคุยตอนที่เค้าเดินไม่เดินมาก็ได้ แต่มุมมองของลูกจ้างก็จะคิดว่า
…ใครจะเข้าไปปรึกษาฟระ…พูดมากก็เข้าตัวสิ
ถามว่าทำไมลูกจ้างต้องคิดอย่างนั้น ก็เพราะเป็นลูกจ้างไง
นายเสียงแข็งก็เข่าอ่อนแล้ว และหากมาเจอนายที่ีมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
มีมุมมองแปลกๆ เจอย้อนกลับมา ก็ซวยเลย
ดังนั้นเจ้านายจึงอยู่บนหอคอยงาช้างต่อไป…..สิ่งที่ผมเจอคือ หลายบริษัทพยายามสร้างระบบของตัวเอง
บางแห่งตั้งคณะกรรมการ 2 -3 ชุด ในการกลั่นกรองเรื่องต่างๆ
ทั้งที่จำนวนพนักงานไม่ได้มากมาย (คือ พยายามไปเลียนแบบองค์กรใหญ่ๆ่ มา
โดยไม่ได้คำนึงปัจจัยและองค์ประกอบของตัวองค์กรเอง)
บางแห่งคณะกรรมการทำตัวเป็นเทวดาอยู่บนหอคอยงาช้าง
เวลามีเรื่องเข้าสู่การพิจารณา มักทำหน้าที่ลูกแม่ซัก (คือ ซักถามแหลก
แนะนำจุดโน้นจุดนี้ น่าจะทำโน่นนี่)
และโยนกลับให้ผู้เสนองานนั้นไปทำมาเพิ่มเติม
บางองค์กรมีทั้งสองแบบที่ว่ารวมกันเลย
โดยคิดว่าเป็นแนวทางที่ดีและมีประสิทธิภาพให้กับองค์กร
แต่ความจริง..ระบบนั้นอาจเป็นเส้นทางสู่ความหายนะขององค์กรในมุมมองการบริหารงานนั้น การมีการกลั่นกรองหลายๆ ชุด
จะทำให้เรื่องที่นำเสนอรอบคอบ ลดความเสี่ยงลง
ยิ่งหากมีคณะกรรมการที่มาจากหลายฝ่ายยิ่งดี เพราะได้มุมมองที่หลากหลาย
ทั้งการเงิน การผลิต การตลาด แต่คำถามคือ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือ….- เกิดอะไรขึ้นถ้า
คณะกรรมการนั้นทำหน้าที่ลูกแม่ซัก ที่คอยโยนปัญหากลับไปที่ผู้เสนอ
โดยทำตัวเหนือปัญหา ให้ไปแก้แล้วค่อยมาเสนอใหม่ ทำตัวเป็นฉันไม่เกี่ยว
นี่เป็นปัญหาเธอ เธอต้องแก้เอง แทนที่…จำทำตัวเป็นทีมงานเดียวกัน
ช่วยกันพัฒนาคิดร่วม ที่สำคัญที่สุดคือ ผลักดัน ให้มันสำเร็จ- เกิดอะไรขึ้นถ้า
คณะกรรมการนั้นมีความรู้และแนวคิดที่หลากหลายเกินไป
เพราะบางองค์กรไม่มีการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ
ที่จะทำให้ทุกคนมีคุณภาพใกล้เคียงกัน มีมุมมองและเข้าใจทางธุรกิจพอๆ กัน
เข้าใจระบบการเงิน การตลาด การผลิต ที่ใกล้เคียงกัน สิ่งเหล่านี้
เมื่อต่างกันมากๆ คนรู้การเงินก็คุยเรื่องการเงิน
การตลาดก็จะถามในมุมการตลาด การผลิตก็อยากได้ในมุมของตัวเอง
และที่ร้ายกว่านั้นคณะกรรมการบางคน ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเลย แต่ซักไว้ก่อน
เอาปัญญาน้อยๆ โลกทัศน์แคบๆ เอามาซักไซ้ไล่เรียงไว้ก่อนกรณีดังกล่าว…ยิ่งหากคุณอยู่ในธุรกิจที่มีการแข่งขันรุนแรง ผลกำไรน้อย
หรืออยู่ในอุตสาหกรรมช่วงขาลง ความอยู่รอดขององค์กรอาจต้องพึ่งพา ความเร็ว
นวัตกรรม และประสิทธิภาพของการทำงาน
ดังนั้นการทำให้มากเรื่องจึงเป็นเรื่องปัญญาอ่อนของหลายๆ องค์กร
ที่มั่นใจว่าเป็นอย่างนั้นเพราะ…มันจะออกอาการ อาการที่ว่าคือ….
- องค์กรไม่มีนวัตกรรมใหม่ในสินค้าหรือบริการทางธุรกิจ ใดๆ เลย หรือเกิดน้อยมาก
- รายได้หดตัว ผลกำไรน้อยลง
- มูลค่าตลาด หรือส่วนแบ่งตลาดหดตัวลง
- ระบบงานภายในยุ่งเหยิง ล่าช้า และเรื่องมาก แทนที่จะรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับองค์กรคือ ปรับโครงสร้าง ลดระบบที่ซ้ำซ้อน
และพัฒนาบุคลากร (อันนี้สำคัญที่สุด) พูดง่ายนะครับ
แต่ทำไม่ได้ง่ายอย่างที่ว่า ส่วนในรายละเอียดยังไม่ขอพูดถึง
ไว้มาปากหมาวันหลังเพราะคำถามวันนี้คือ ทำไงดีถ้าเจ้านายอยู่บนหอคอยงาช้าง…..คำตอบคือ
ปล่อยให้เค้าอยู่บนนั้นต่อไปถ้าเค้าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ (คนหลายๆ
คนมักคิดว่าตัวเองฉลาด ทั้งที่ตัวเองนั่นแหละโคตรโง่เลย
….ผมชอบคำนี้มากครับ)
และเมื่อคุณรู้แล้วคุณก็อย่าเอาเยี่ยงอย่างที่งี่เง่าแบบนั้น
สิ่งที่คุณควรทำวันนี้คือ พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
ทำงานในหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด
โดยหวังว่าองค์กรของคุณจะกลับตัวกลับใจพัฒนาเป็นบริษัทชั้นนำ
มีผลประกอบการที่ดี มีโบนัสที่เยอะ และมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น
แต่หากไม่เป็นอย่างนั้น…..อัตาหิอัตโนนาโถ..ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
…หากคุณพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบของตน
ไม่ต้องกลัวอดตายครับ (แค่คางเหลือง ไม่ก็เป็นโครขาดสารอาหาร)
….สุดท้ายอย่าให้มองตัวเราก่อนว่าตัวเองทำได้ดีหรือยัง
อย่ามัวแต่ไปโทษโน่นโทษนี่ เราทำดีหรือยัง เราพัฒนาตัวเองขึ้นหรือยัง
ส่วนใครจะโง่…คือปล่อยให้มันโง่ดักดานไปเถอะครับ….:)
บทความข้างบนนี้เป็นมุมมองของพนักงาน จริงอยู่ที่ว่าจะให้ไปถามหัวหน้าหรือพูดไปตรงๆ ก็คงรู้สึกสยดสยองน่าดู… แต่ผมก็ยังคิดว่าควรจะสอบถาม/สืบหาข้อเท็จจริงครับ เมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่ (ตัวเองคิดว่า) ควรจะเป็น มีอะไรที่ (ตัวเราไม่รู้ว่า) ทำไม่ได้/เป็นข้อจำกัดอยู่หรือเปล่า หึหึ เรื่องมันเริ่มต้นที่ว่าเราแต่ละคนที่อยู่ในองค์กร ปรารถนาดีต่อองค์กรและพยายามทำให้องค์กรดีจริงหรือเปล่า
ผมไม่เชื่อว่าจะมีใคร “ถูก” ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นนาย หรือตัวเรา
ข้อเท็จจริงก็คือเราไม่สามารถจะรู้ในเรื่องที่คนอื่นรู้ทั้งหมดหรอกนะครับ ทุกอย่างในโลกนี้ เมื่อมองจากมุมที่ต่างกัน ก็จะเห็นภาพที่ต่างกัน ในความเห็นที่แตกต่าง จะบอกได้อย่างไรว่าของใครถูก ถูกทั้งคู่ หรือผิดทั้งคู่; ถ้าเผอิญไปอยู่ในองค์กรที่ top-down/พูดอะไรไม่ได้เลย ก็น่าสงสารมากนะครับ ดันไปอยู่ในสถานที่อโคจรเอง แทนที่จะเกิดการรวมพลังกันออกไปสู้ข้างนอก กลับต้องมาขัดแย้งกดดันกันเองข้างใน คนที่มีใจก็ทำใจหล่นหาย สถานที่นั้นเหมาะกับเครื่องจักร ไม่เหมาะกับคนหรอกครับ เพราะเครื่องจักร แม้เกเรเป็นบางครั้ง แต่มันไม่เถียง แหะๆๆๆๆ
โอ๊ย…แต่อย่างว่าแหละ ถ้าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้ตามคำแนะนำนะครับ เมืองไทยเป็นมหาอำนาจไปแล้ว เพราะมีคนรักชาติคอยให้คำแนะนำทุกรัฐบาลอยู่ตลอดมา… ไทยเข้มแค๊กๆๆๆๆ อิอิ
« « Prev : อิอิ อ๊ะอ๊ะ ภาคทำไม
Next : อิอิ อ๊ะอ๊ะ ภาค(ทำ)อะไรหว่า » »
3 ความคิดเห็น
อ่านแล้วไม่ได้รู้สึกสะใจอะไร
แต่รู้สึกแปลกใจ
เวลาระบบอะไรที่มีซับซ้อน หลายชั้นเป็นคอนโด(ที่ทางขึ้นกับลงคนละทาง..ลิฟท์มักสวนทางกันเสมอ) ก็มักจะนึกถึงระบบราชการ ไม่เคยนึกว่าองค์กรเอกชนจะร่วมนิยมความซับซ้อน(ที่ตัวเองมักจะตำหนิเวลาต้องไปติดต่องานราชการ)ด้วยเหมือนกัน
อ่านแล้วนอกจากจะแปลกใจแล้ว ยังเกิดความสงสัยว่า หรือว่าการทำงานไม่ว่าในองค์กรอย่างไร เมื่อมาอยู่เมืองไทย ก็นิยมเป็นเจ้าขุนมูลนายทั้งสิ้น??? …คำว่านิยม ตัวผู้บริหารใหม่ๆ อาจจะไม่นิยมหรอกบางทีลูกน้องนั้นแหล่ะไปสร้างวัฒนธรรมให้ผู้บริหารเอง
พอเสพติดอำนาจก็เลยเข้าล๊อค …ติดกรงหอคอยไป????
ถูกครับพี่…ดีครับผม…เหมาะสมครับท่าน
พินอบพิเทาจนผิดธรรมชาติ อันนี้ต่างกับการมีสัมมาคารวะ {จปผ๑ หน้า 27 บรรทัดที่ 6-8}
องค์กรที่ดี ไม่ใช่ว่าไม่มีปัญหาเลย แต่เขาเอาใจใส่ดูแลแก้ปัญหาอย่างจริงจัง (ถ้าเขารู้ว่ามี) แก้ไขที่สาเหตุ เพื่อจุดประสงค์ร่วมกัน เพื่อประโยชน์ของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม: องค์กรต้องมาก่อนตัวบุคคล ถ้าองค์กรอยู่ไม่ได้ บุคคลก็อยู่ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นราชการ เอกชน วัด ชุมชน เมือง ประเทศ หรืออะไรก็ตาม เมื่อมองจากแง่พลวัตของสังคมแล้ว มีโอกาสเป็นอย่างนี้เหมือนกันทั้งนั้น
ถ้าคนที่อยู่ “ภายใน” ไม่ทำให้มันดี จะไปให้ใครมาทำให้ จริงไหมครับ ถ้าตัวเราเป็นใหญ่ ตัวเราถูกเสมอ เราก็ไม่ฟังคนอื่น เอะอะอะไร เราถูก-คนอื่นผิดเสมอ อย่างนี้จะไปแก้ไขอะไรได้ครับ
องค์กรขนาดใหญ่ (เช่นราชการ หรือ conglomerate) อาจหลีกเลี่ยงความซับซ้อนในโครงสร้างได้ยาก ควรแก้ด้วยการกระจายอำนาจ ซึ่งก็ต้องมีการเลือกสรรบุคคลมาดูแลรับผิดชอบให้ดี และสำคัญที่สุดคือมีความไว้วางใจกัน — ถ้าไม่ไว้ใจ อำนาจก็ไม่กระจายออกมา ปลายยอดของปิรามิดก็จะเป็นคอขวด ซึ่งสถานการณ์อาจจะยิ่งหนักกว่าเก่าแบบที่เห็นในระบบราชการครับ
[...] อ่านบทความที่ลานซักล้าง แล้วเก็บมาคิด สิ่งที่ได้คือคำตอบ ซึ่งเราก็เคยตระหนักในความเป็นจริงที่ว่านั้นมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่หลายครั้งหลายคราวผมกลับหลงลืมไปเอง สิ่งที่คุณควรทำวันนี้คือ พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ทำงานในหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด อัตาหิอัตโนนาโถ..ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน …หากคุณพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบของตน ไม่ต้องกลัวอดตายครับ (แค่คางเหลือง ไม่ก็เป็นโรคขาดสารอาหาร) ….สุดท้ายอยากให้มองตัวเราก่อนว่าตัวเองทำได้ดีหรือยัง อย่ามัวแต่ไปโทษโน่นโทษนี่ เราทำดีหรือยัง เราพัฒนาตัวเองขึ้นหรือยัง [...]