ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (9)
อ่าน: 5163วิดีโอคลิปอันนี้ คล้ายกับการทดลองที่สวนป่าครับ เป็นเตาเผาถ่าน biochar อย่างง่าย ซึ่งสร้างได้เอง
การเผาที่อุณหภูมิสูงเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับเตาของช่างตีดาบ ซึ่งโดยปกติเขาจะเป่าลมเข้าไปในเตา แต่ในคลิปนี้ใช้ stack effect ดูดลมร้อนออก ซึ่งก็ให้ผลเหมือนกับเหมือนกับการเป่าลมเข้า เพียงแต่เราไม่ต้องใช้พลังงานในการเป่าลม แต่ใช้ความร้อนที่เกิดขึ้นเร่งให้อากาศไหลออกมาจากเตาผ่านปล่อง แล้วอากาศจากภายนอกก็ไหลเข้าไปในเตาด้วยปริมาณที่พอๆ กัน ปล่องยิ่งสูงก็ยิ่งดูดแรงครับ
มีประเด็นที่ดีอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจาก biochar ดูดความชุ่มชื้นไว้ได้ดี ดังนั้นก่อนที่เราจะนำเอาถ่านไปโรยในดิน ก็ควรราดน้ำจนเปียกโชก ผสมกับปุ๋ยหมักทิ้งไว้สักสองอาทิตย์เพื่อให้จุลินทรีย์ตามธรรมชาติเข้าไปเกาะ biochar ราดน้ำจนเปียกโชกอีกครั้งหนึ่งก่อนนำไปปรับปรุงดิน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ biochar ไปแย่งความชุ่มชื้นจากดินแข่งกับปลายรากต้นไม้ และปุ๋ยหมักผสม biochar ก็จะมีทั้งความอุดมสมบูรณ์และความชุ่มชื้นไปพร้อมๆ กัน จะช่วยให้ต้นไม้โตได้เร็ว
เรื่องเก่าๆ ย้อนอ่านได้ที่ tag biochar
« « Prev : สร้างดินคุณภาพดีโดยเลียนแบบธรรมชาติ
Next : วันสุดท้ายของ BOI Fair 2011 » »
3 ความคิดเห็น
ในความเห็นผมการเป่าลมให้แรงขึ้นไม่อาจเพิ่มอุณหภูมิเผาไหม้ได้นะครับ แต่มันเพิ่มอัตราการเผาไหม้เท่านั้นเอง (ยกเว้นกรณีที่อากาศน้อยเกินไปทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ถ้าอย่างนี้การเป่าลมแรงขึ้นจะทำให้อภ.สูงขึ้นครับ) ในเตาตีเหล็กอากาศน้อยเกินไป ลมแรงก็เลยช่วย และการที่ลมร้อนแรงขึ้น ทำให้อัตราการส่งผ่านความร้อนจากไฟไปสู่เหล็กสูงขึ้นด้วย เลยได้ประโยชน์สองต่อ
ผมวิจารณ์ว่าการเผาbiochar แบบนี้มีข้อด้อยคือสิ้นเปลืองพลังงานมาก เพราะเผาเร็วเกินไป ทำให้เกิดการสูญเสียออกปลายปล่องมาก ผนวกกับการสูญเสียผ่านถังเหล็ก ภูมิปัญญาโบราณคือ slow burn ใช้เวลา 20 วันกว่าจะสุก เตาอิวาเตะทำ อภ. ได้ถึง 1000 C แต่มันไม่ uniform บางจุดก็ไม่ถึง
ผมตั้งเป้าว่าเตาของผมจะเผาได้ 1000 C และใช้เวลา 3 วัน โดยมีสัดส่วนการได้ activated carbon 30% โดยน้ำหนักของเนื้อไม้(แห้ง)ทั้งหมด
http://www.doctorfire.com/flametmp.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Fire#Typical_temperatures_of_fires_and_flames
http://en.wikipedia.org/wiki/Stove#Efficiency