ยุติความรุนแรงต่อสตรี

โดย Logos เมื่อ 26 September 2008 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5055

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงรับเป็นองค์ทูตสันถวไมตรีของ กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือ “ยูนิเฟม” ในโครงการ “Say NO to Violence against Women” ในประเทศไทย ซึ่งกองทุนนี้ได้ริเริ่มโครงการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วโลกร่วมลงชื่อผลักดัน ให้ประชาคมโลกเร่งยุติความรุนแรงต่อสตรี

ในโอกาสนี้ ขอเชิญผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย ร่วมลงชื่อต่อต้านความรุนแรงต่อสตรี ที่เว็บ http://novaw.in.th/

ปัจจุบัน ๑ ใน ๓ ของเด็กและสตรีโดนทำทารุณกรรม โดยการทุบตี ล่อลวงหรือล่วงละเมิด
ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง
ยิ่งไปกว่านี้ เหยื่อผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่ไม่ได้ดำเนินการเอาเรื่องกับผู้กระทำ เนื่องจากหวาดกลัวการถูกซ้ำเติม และเกรงสังคมจะตราหน้าให้อับอาย

ขอเชิญร่วมลงชื่อเพื่อแสดงจุดยืนในการสนับสนุนการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
และร่วมรณรงค์ให้วาระนี้เป็นวาระเร่งด่วนของประชาคมโลก

ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นวันสากลแห่งการยุติความรุนแรงต่อสตรี กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเฟม จะมอบลายเซ็นต์ของท่านให้เลขาธิการสหประชาชาติบัน คี-มุน

อันเป็นการแสดงถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของทุกท่านในการต่อต้านความรุนแรง

“หนึ่งเสียงของท่านช่วยยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง”

ถ้าล่ารายชื่อได้ครบห้าแสนชื่อ จะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ให้การสนับสนุน ตระหนักถึงปัญหาสิทธิสตรีมากที่สุด อีกทั้งยังสร้างแรงกระตุ้นประเทศอื่นๆ หันมาให้ควสามสนใจต่อสิทธิสตรีและยุติการใช้ความรุนแรง

« « Prev : เงินทุนสิบล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับห้าความคิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่น

Next : วิกฤติการเงินสหรัฐ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 jchrn ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 September 2008 เวลา 6:32

    แวะไปลงชื่อมาแล้วค่ะ ขอบคุณที่แนะนำ…
    ความรุนแรงในมิติของกฎหมายไม่ค่อยทราบนักค่ะ แต่ในทางทฤษฎี ความรุนแรงต่อสตรี อาจมาในรูปแบบ ความรุนแรงด้วยวาจา(psychological abuse) เช่นการข่มขู่ กดดัน บีบบังคับ เยาะเย้ย เพื่อให้ยินยอมอยู่ร่วมด้วยหรือยินยอมในรูปแบบอื่นอย่างกรณีนักเรียนถูกครูดุด่าด้วยคำรุนแรง …..สามีนำเรื่องในมุ้งไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟัง…..ความรุนแรงอาจจะมาในรูปแบบของการกีดกันการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่พึงได้ เช่นการจ่ายงานที่หนักเกินกำลังหรืออาจจะเป็นอันตรายโดยจำยอม …ความรุนแรงอาจมาในรูปแบบของการประจานให้อับอายต่อหน้าสาธารณะชน …โดยระบุชื่อ …ขึ้นเน็ต….ลงคลิป…ใช้คำไม่สุภาพให้เสื่อมเสียฯลฯ

    สำหรับเด็กและคนชรา เวลากล่าวถึงความรุนแรงมักจะรวมถึงการละเลยเลี้ยงดูตามพัฒนาการที่พึงมี และการทอดทิ้งให้ตกอยู่ในอันตรายด้วย

    ตอนนี้นึกได้คร่าวๆแค่นี้ ขออนุญาตร่วมต่อยอดบันทึกค่ะ

    เรื่องความรุนแรง…บางครั้งคนทั่วๆไปมักนึกถึงภาวะสงคราม หรือการทำร้ายทางกาย…แต่สถิติที่ปรากฎโดยทั่วไปหากว่าศึกษาติดตามไม่ว่าจากข่าวสารหรืองานวิจัย…มักจะพบว่าความรุนแรงกว่าร้อยละ 80 เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและมักเกิดกับคนที่รู้จักหรือใกล้ตัว…..แม้แต่กรณีการข่มขืนก็ตาม..ก็ยังพบว่า ผู้หญิงมักกลัวกรณีที่เกิดจากคนแปลกหน้า..ทั้งๆที่ส่วนมากเกิดจากคนที่รู้จักหรือเคยเห็นหน้ามาก่อน..และผู้ที่ข่มขืนมีการติดตามดูพฤติกรรมของผู้หญิงนั้นๆมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว…จนกระทั่งเห็นว่าสามารถลงมือได้

    ยิ่งการข่มขืนอนาจารในเด็กและคนชรา ยิ่งพบว่าเกิดจากคนในบ้านหรือคนรู้จักมักคุ้นเกือบ 85%

    พอก่อนดีกว่าค่ะ เดี๋ยวจะยิ่งโม้ไปมากกว่านี้
    …อิอิ….

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 September 2008 เวลา 6:42
    พี่สร้อยบอกต่อได้นะครับ โดยบอก URL http://novaw.in.th/ (หรือไม่ก็เป็น URL ของบันทึกนี้ http://lanpanya.com/wash/archives/247)
  • #3 Sasinand ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 September 2008 เวลา 10:43

    สนับสนุนและเห็นด้วยมากๆๆๆค่ะ 
    แต่เห็น มีการต่อต้านเรื่องแบบนี้ มาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมีนะคะ แล้วก้เงียบๆกันไป แต่ก็เป็นเรื่องที่ดีที่จะมารื้อฟื้นอีกค่ะ

  • #4 พรรณทิพา โภควัต ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 November 2008 เวลา 11:06

    เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ สังคมเปลี่ยน จิตใจเปลี่ยน ใครๆ ก็ไม่อยากโดนทำร้าย อยู่กันอย่างสันติ เลิกเถอะการทำร้ายผู้หญิง ซึ่งผู้หญิงเป็นเพศเดียวกับแม่เรา  รักแม่มากๆ ๆ หวังดีต่อแม่  ก็เหมือนรักผู้หญิงทุกคน และหวังดีต่อผู้หญิงทุกคน  ขอบคุณนะคะที่ช่วยกันรณรงค์


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.078211069107056 sec
Sidebar: 0.12745809555054 sec