NEO ในสัปดาห์โป๊ะเช๊ะ
Neo แปลว่าใหม่ ก็ได้ แต่ในที่นี้เป็นตัวย่อมาจาก Near Earth Object ซึ่งหมายถึงเทหวัตถุในอวกาศที่โคจรมาใกล้โลก คำว่าใกล้โลกนี้ มีความหมายสัมพัทธ์ คือใกล้เมื่อพิจารณาด้วยหน่วยทางดาราศาสตร์ แต่ถ้าวัดเป็นกิโลเมตรแล้ว ยังยาวกว่าระยะทางรอบโลกหลายเท่านัก
วัตถุต่างๆ ที่ล่องลอยไปในอวกาศ ต่างเกิดขึ้นและดับไปตามกาลเวลา เพียงแต่ในขณะที่สังเกตเห็นนั้น นักดาราศาสตร์ได้วัดขนาด คำนวณวงโคจร และพบว่าโคจรเข้ามาใกล้โลกมาก เมื่อเทียบกับเทหวัตถุที่เรารู้จักดีอื่นๆ เช่นดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ต่างๆ ดวงอาทิตย์ ดาวหาง ฯลฯ และเมื่อพบเทหวัตถุ+ตรวจสอบวงโคจรแล้ว ก็ใส่ไว้ในตาราง
ตามวงโคจรนั้น ไม่ชนโลกหรอกครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถตรวจพบเทหวัตถุที่โคจรเข้าใกล้โลกได้ทั้งหมด และไม่ได้หมายความว่าวงโคจรจะไม่เปลี่ยนหากเกิดถูกชน หรือถูกเหวี่ยงโดยเทหวัตถุที่ไม่เคยรู้ว่ามีอยู่จริง ต่อให้คำนวณออกมาแม่นยำเพียงใด ก็ยังมีสมมุติฐานแนบไปคู่กันอยู่ด้วยเสมอ และคนเราไม่รู้ทั้งหมดหรอกนะครับ
ระยะทาง AU คือ หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งคือระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ประมาณ 93 ล้านไมล์ หรือประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร
ส่วนระยะทาง LD คือ ระยะห่างเฉลี่ยของดวงจันทร์ คือประมาณ 384,000 กิโลเมตร
ตารางข้างล่างนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าจะดูให้เกิดอะไรขึ้นมา แต่ผมก็คิดว่าตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน ไปจนวันที่ 7 ตุลาคม จะมีเทหวัตถุที่ตรวจพบล่วงหน้า ผ่านเข้ามาใกล้โลก อย่างน้อยวันละลูก ก็น่าสนใจดี แม้ผมจะตอบไม่ได้ว่ารู้แล้วยังไงต่อ เป็นสถิติแล้วยังไง
ไม่ต้องโดนเทหวัตถุจากอวกาศหล่นใส่ตายหรอกนะครับ คนเราตายได้ง่ายกว่านั้นมาก ว่าแต่เกิดมาเพื่อทำอะไร ทำแล้วหรือยัง แล้ววันนี้ทำอะไรกันอยู่
Object Name |
Close Approach Date |
Miss Distance (AU) |
Miss Distance (LD) |
Estimated Diameter* |
H (mag) |
Relative Velocity (km/s) |
(2010 RK135) | 2010-Sep-26 | 0.0696 | 27.1 | 20 m - 44 m | 25.7 | 7.86 |
(2010 EX11) | 2010-Sep-26 | 0.1286 | 50.1 | 39 m - 88 m | 24.2 | 6.37 |
(2010 RJ64) | 2010-Sep-26 | 0.1385 | 53.9 | 42 m - 94 m | 24.0 | 4.94 |
(2010 SD12) | 2010-Sep-27 | 0.0808 | 31.4 | 47 m - 100 m | 23.8 | 13.67 |
(2010 SH) | 2010-Sep-28 | 0.1501 | 58.4 | 60 m - 130 m | 23.2 | 12.75 |
(2010 RD130) | 2010-Sep-29 | 0.0384 | 14.9 | 21 m - 48 m | 25.5 | 11.30 |
(2010 RT30) | 2010-Sep-29 | 0.1482 | 57.7 | 60 m - 130 m | 23.2 | 6.39 |
(2009 SH2) | 2010-Sep-30 | 0.0183 | 7.1 | 28 m - 62 m | 24.9 | 4.56 |
(2004 RQ252) | 2010-Sep-30 | 0.1270 | 49.4 | 90 m - 200 m | 22.3 | 15.48 |
137032 (1998 UO1) | 2010-Oct-01 | 0.0824 | 32.1 | 1.3 km - 2.9 km | 16.6 | 30.48 |
250620 (2005 GE59) | 2010-Oct-01 | 0.1979 | 77.0 | 660 m - 1.5 km | 18.0 | 20.87 |
(2008 UC202) | 2010-Oct-01 | 0.1459 | 56.8 | 6.0 m - 13 m | 28.2 | 4.12 |
(2010 SJ) | 2010-Oct-01 | 0.0496 | 19.3 | 54 m - 120 m | 23.5 | 6.56 |
(2006 TD) | 2010-Oct-02 | 0.1240 | 48.3 | 88 m - 200 m | 22.4 | 11.58 |
(2007 SO6) | 2010-Oct-03 | 0.1986 | 77.3 | 25 m - 55 m | 25.2 | 11.49 |
(2009 UY19) | 2010-Oct-03 | 0.1796 | 69.9 | 55 m - 120 m | 23.4 | 6.04 |
(2005 CN) | 2010-Oct-03 | 0.1089 | 42.4 | 72 m - 160 m | 22.8 | 9.14 |
(2010 MR87) | 2010-Oct-04 | 0.1496 | 58.2 | 340 m - 750 m | 19.5 | 19.83 |
(2010 RC130) | 2010-Oct-05 | 0.0323 | 12.6 | 130 m - 280 m | 21.6 | 9.02 |
(2010 RD) | 2010-Oct-06 | 0.0592 | 23.0 | 22 m - 49 m | 25.4 | 3.87 |
(2009 CN5) | 2010-Oct-07 | 0.1732 | 67.4 | 270 m - 600 m | 20.0 | 10.57 |
(2010 RA91) | 2010-Oct-07 | 0.0605 | 23.6 | 56 m - 120 m | 23.4 | 8.49 |
85770 (1998 UP1) | 2010-Oct-07 | 0.1882 | 73.2 | 220 m - 500 m | 20.4 | 17.08 |
(2010 RK64) | 2010-Oct-07 | 0.1818 | 70.8 | 200 m - 450 m | 20.6 | 9.13 |
(2008 TF2) | 2010-Oct-07 | 0.1430 | 55.6 | 26 m - 57 m | 25.1 | 16.69 |
5 ความคิดเห็น
เคยถามตัวเองว่าเกิดมาทำไม
ได้คำตอบว่าเกิดมาเพื่อให้โลกนี้มี”เรา”
ซึ่งยืนอยู่บนการรู้ว่า”เจ้าเป็นไผ” ถ้าเราไม่รู้ตัวเองเราจะทำหน้าที่ตัวเองไม่ถูก เป็นนกก็ต้องบิน เป็นปลาก็ต้องอยู่ในน้ำ จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ควรรู้ว่าเราเป็นใคร ถึงจะทำหน้าที่ของตัวเองได้ถูกต้องเต็มกำลัง จะได้ไม่เสียทีที่เกิดมา ^ ^
เทหวัตถุ คำนี้ไม่ได้อ่านเจอมานานแล้ว
ถ้าจะหล่นใส่หัวแล้วตาย มีโอกาสเท่าไหร่คะ มีวิธีคำนวณได้หรือเปล่าคะ
#2 ถ้าของแข็งตกลงมาจากนอกโลก แล้วยังเหลือเป็นก้อน ก็จะมีพลังงานมากพอที่จะทะลุร่างกาย ถ้าโดนเข้า น่าจะรอดยากครับ คำนวณโอกาสรอดไม่ได้ แต่เดาว่าใกล้ 0% เต็มที ส่วนโอกาสโดนตัวคน คำนวณได้โดยใช้พื้นที่หน้าตัดของร่างกาย หารด้วยพื้นที่ผิวโลก — ถ้าเป็นลูกใหญ่ โมเมนตัมสูง ต่อให้ไม่โดนตัว เมื่อตกกระทบพื้น พลังงานจลน์ก็เปลี่ยนเป็นความร้อนและพลังงานอื่นๆ ครับ ตายได้เหมือนกัน ขึ้นกับมวล และความเร็วของอุกกาบาต ส่วนวัตถุจะถูกจับและดูดลงสู่โลกด้วยแรงดึงดูดหรือไม่ ขึ้นกับความเร็วของวัตถุเอง [escape velocity] แต่รัศมีของขอบเขตนั้น ไม่ใช่พื้นผิวโลก แต่เป็นบรรยากาศชั้นบน ซึ่งจะเริ่มเบรควัตถุให้มีความเร็วลดลงจนต่ำกว่า escape velocity ทำให้ไม่สามารถหนีแรงดึงดูดของโลกออกไปได้ แต่ถ้าบรรยากาศเบรคแล้ว วัตถุยังมีความเร็วมากพอ ถ้าไม่กระทบอะไร ก็จะผ่านบรรยากาศออกไปครับ
เมื่อวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา มี 2010 GA6 ผ่านเข้ามาใกล้โลกมาก ใกล้กว่าวงโคจรของดวงจันทร์เสียอีกครับ ถือเป็นการเฉียดแบบที่นักดาราศาสตร์ส่วนหนึ่งระทึกใจมาก ส่วนบ้านเรา มีประท้วงครับ ระทึกใจไปอีกแบบหนึ่ง ตอนนั้นกำลังฮึ่มฮึ่มกัน คือฮึ่มทั้งสองฝ่าย
ดวงที่น่าหวาดเสียวมาก ชื่อ 99942 Apophis มีขนาด 270 เมตร เคยผ่านเข้ามาใกล้มากช่วงปลายเดือนมิ.ย. ค.ศ.2005 (อุกกาบาตลูกที่เคยตกที่ทุ่งทังกัสกาในไซบีเรีย น่าจะมีขนาดประมาณ 350 เมตร) Apophis มีโอกาส 2.7% ที่จะชนโลกในปี ค.ศ.2029
ดูๆแล้วไม่น่าเป็นห่วงจากเรื่องนอกโลกเท่ากับเรื่องในโลก
ไม่มีอะไรจากนอกโลกมาตก คนไทยก็มีเรื่องตกใจเล่นๆและตกใจจริงๆอยู่เรื่อยๆ อิ