โลกร้อน (2.3)
เพราะว่าสถานการณ์โลกร้อนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกิดมาจากเหตุในอดีต
…ถ้าอพยพคนทั้งหมดไปไว้โลกอื่นทันทีเดี๋ยวนี้ โลกร้อนก็ยังมีปัญหาอยู่ อธิบายด้วยกฏการอนุรักษ์พลังงาน ว่ายังมีพลังงานของดวงอาทิตย์ที่แผ่ให้กับโลกสะสมเพิ่มขึ้นทุกวันๆ
ดังนั้น หากจะย้อนผลกลับไปสู่จุดสมดุลย์อีกที เรากลับต้อง “ทำ” มากกว่าแค่ “หยุด” แล้วนะครับ
เพื่อย้อนกระบวนการโลกร้อนกลับ นอกจากจะต้องหยุดสร้างก๊าซเรือนกระจกแล้ว ก็ยังจะต้องพยายามกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากบรรยากาศด้วย ก่อนที่โลกจะเดินไปสู่หายนะแบบดาวศุกร์
ถ้าจะทำให้เกิดผลมากที่สุด น่าจะต้องทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผิวมหาสมุทร เพราะมหาสมุทรมีพื้นที่ถึง ¾ ของพื้นที่ผิวโลก (อาจารย์วิบุลให้ข้อมูลไว้ในความเห็นที่ 10 และคำอธิบายกระบวนการในความเห็นที่ 12 — ใช้ไฟฟ้าสร้าง Ca(OH)2 เพื่อให้ไปจับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ที่ผิวมหาสมุทร ให้กลายเป็นหินปูน CaCO3 แล้วตกตะกอนลงสู่ก้นมหาสมุทร) แต่การทำอย่างนั้นจะใช้พลังงานมหาศาล และอาจเปลี่ยนชีวเคมีของมหาสมุทร เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม แม้ว่าความคิดนี้น่าสนใจมาก
การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม
การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม เป็นวิธีที่อาจทำได้ ถึงจะไม่ง่ายและจะต้องอาศัยเวลายาวนาน มนุษย์ใช้ประโยชน์จากป่าตลอดมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ จนมาถึงยุคปัจจุบัน
ในส่วนของเมืองไทย เราทำลายป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ที่จริงแล้ว เราอยู่ร่วมกับป่าได้โดยไม่ต้องทำลาย [แนวพระราชดำริเรื่องการป่าไม้]
เศรษฐกิจพอเพียงกับความยั่งยืนของชุมชน
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นอกเหนือไปจากการให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับเรื่องของดินและน้ำแล้ว แนวคิดและทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระ ราชดำรินั้น ยังคำนึงถึงความสอดคล้องเกื้อกูลกันระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด ความเข้าใจถ่องแท้ถึงธรรมชาติและสภาวะตามธรรมชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติของพระองค์นั้นทำให้เกิดแนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของทรัพยากรป่าไม้ และเรื่องของการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ซึ่งในส่วนแรกนี้ ตัวอย่างที่พอจะแสดงให้เห็นเป็นสังเขปคือ
ป่า 3 อย่าง ป่าไม้ 3 อย่างเป็นแนวคิดของการผสมผสานความต้องการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยกรป่า ไม้ ควบคู่ไปกับความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ เพื่อป้องกันมิให้เกษตรกรเข้าบุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ จึงควรให้ดำเนินการปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง คือ ป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ป่าหรือสงวนป่าเหล่านี้ นอกจากเป็นการเกื้อกูลและอำนวยประโยชน์ใน 3 อย่าง นั้นแล้ว ป่าไม้ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด ก็จะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และคงความชุ่มชื้นเอาไว้ อันเป็นการอำนวยประโยชน์ อย่างที่ 3 ซึ่งเป็นผลพลอยได้
“ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเข้า พระทัยอย่างลึกซึ้งถึงวิธีแห่งธรรมชาติ โดยที่ได้พระราชทานแนวคิดว่าบางครั้งป่าไม้ก็เจริญ เติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติขอเพียงอย่าเข้าไปรบกวนและทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึง การณ์ หากปล่อยไว้ตามสภาพ ธรรมชาติชั่วระยะเวลาหนึ่งป่าไม้ก็จะขึ้นสมบูรณ์เอง การระดมปลูกป่าด้วยความไม่เข้าใจ เช่น ปอกเปลือกหน้าดินซึ่งมีคุณค่ามากออกไป และปลูกพันธุ์ไม้ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและระบบนิเวศน์บริเวณนั้น นอกจากต้นไม้ที่ปลูกไว้จะตายโดยไม่ได้ประโยชน์แล้วยังทำลายสภาพแวดล้อมอีก ด้วย แนวความคิดที่ลึกซึ้งนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” ซึ่งเป็นที่ยึดถือกันในหมู่ผู้รู้ทั่วไป
“ฝายชะลอความชุ่มชื้น” (Check Dam) ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่เกิดจากพระปรีชาสามารถอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงคิดค้นขึ้นเพื่อเป็นวิธีการในการสร้างความ ชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ด้วยวิธีง่าย ๆ ประหยัด และได้ผลดี นั้นคือการสร้างฝายเล็ก ๆ ให้สอดคล้องไปกับสภาพธรรมชาติ โดยการใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ฝายชะลอความชุ่มชื้น (check dam) มีอยู่ 2 ประเภทคือ ฝายต้นน้ำลำธาร สำหรับกักกระแสน้ำไว้ให้ไหลช้าลง และสามารถซึมลงใต้ผิวดินเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณนั้น และอีกประเภทหนึ่งคือ ฝายดักตะกอนดินและทรายมิให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างฝายทั้ง 2 ประเภทสามารถสร้างความชุ่มชื้นและชะลอความชุ่มชื้นและอนุรักษ์ป่าไม้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่ง ดังตัวอย่างที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
แนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่งก็คือ ทฤษฎีในการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยการดำเนินการ ตามแนว “ทฤษฎีใหม่” อันเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ซึ่งมีอยู่จำกัดให้ก่อประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันก็มีน้ำไว้ใช้ตลอดปี เป็นการอำนวยประโยชน์ต่อทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปด้วย
“ทฤษฎีใหม่” อันเกิดจากพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยภาพของพระองค์นั้น มีหลักสำคัญง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน สรุปได้ว่า พื้นที่ถือครองโดยถัวเฉลี่ยของเกษตรกรไทยอนุมานว่าจะมีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ แบ่งพื้นที่ตามวิธีการทฤษฎีใหม่จะเป็นนาข้าว 5 ไร่ พืชไร่ พืชสวน 5 ไร ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 2 ไร่ สระน้ำ 3 ไร่ (ลึกประมาณ 4 เมตร) จุน้ำได้ประมาณ 19,000 ลูกบาศก์เมตร หรือสูตร 30-30-30-10
ในที่นี้ใคร่ขอนำแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่ที่ได้พระราชทานรายละเอียดเมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2537 มาเพื่อเป็นการอธิบายความให้ชัดเจน ดังนี้
ถ้าพูดอย่างสรุปที่สุด เป็นวิธีปฏิบัติของเกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็ก (ประมาณ 15 ไร่) ซึ่งเป็นอัตราถือครองโดยเฉลี่ยของเกษตรกรโดยทั่ว ๆ ไป
หลักสำคัญ : ให้เกษตรกรมีความพอเพียงโดยเลี้ยงตัวเองได้ (Self Sufficiency) ในระดับที่ประหยัด
มีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี โดยถือว่าครอบครัวหนึ่งทำนา 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี ข้อนี้เป็นหลักสำคัญของทฤษฎีนี้
เพื่อการนี้จะต้องใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าต้องมีน้ำใช้ระหว่างช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อ 1 ไร่ หากแต่ละแปลงเกษตรมีเนื้อที่ 5 ไร่ และแบ่งตามสัดส่วน 30-30-30-10 จะมีพื้นที่การเกษตรที่ต้องการน้ำอยู่ 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
นาข้าว 5 ไร่ จึงต้องมีน้ำ 5 X 1,000 = 5,000 ม.3
พืชไร่ หรือไม้ผล 5 ไร่ จึงต้องมีน้ำ 5 X 1,000 = 5,000 ม.3
รวม 10,000 ม.3
ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีน้ำสำรองไว้หน้าแล้ง โดยเฉลี่ยประมาณ 10,000 ม.3 จึงได้ตั้งสูตรคร่าว ๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย
สระน้ำเนื้อที่ 3 ไร่ ขุดลึก 4 เมตร จะมีน้ำจุได้ประมาณ 19,000 ม.3
ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 2 ไร่
นาข้าว 5 ไร่
พืชไร่ พืชส่วน 5 ไร่
รวมทั้งแปลงเนื้อที่ 15 ไร่
อุปสรรคสำคัญที่สุดคือ อ่างเก็บน้ำหรือสระที่มีน้ำเค็ม และได้รับน้ำให้เต็มเพียง ปีละหนึ่งครั้งในหน้าฝน และจะมีการระเหยวันละ 1 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยในวันที่ไม่มีฝนตก หมายความว่า ในปีหนึ่งถ้านับว่าฝนไม่ตก 300 วัน ระดับของสระจะลดลง 3 เมตร (ในกรณีนี้ ¾ ของ 19,000 ลูกบาศก์เมตร น้ำที่ใช้จะเหลือ 4,750 ลูกบาศก์เมตร) จึงต้องมีการเติมน้ำเพื่อให้เพียงพอ
ด้วยเหตุนี้ หากจะให้ทฤษฎีสมบูรณ์สระน้ำทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มความสามารถ ก็มีความจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำใหญ่มาคอยเติม เปรียบเสมือนมีแทงก์น้ำใหญ่มาคอยเติมตุ่มน้ำเล็กให้เต็มอยู่เสมอ ในกรณีของโครงการวัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว โดยมี ความจุ 800,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งถ้าใช้วิธีจ่ายน้ำเข้าแปลงตามแบบเดิมจะเลี้ยงพื้นที่การเกษตรได้เพียง 600 - 800 ไร่ แต่ถ้าใช้ทฤษฎีใหม่จะเลี้ยงพื้นที่ได้ถึง 3,000 ไร่ หรือ 5 เท่า ลำพังอ่างเก็บน้ำ 800 ,000 ลูกบาศก์เมตร จะเลี้ยงได้ 800 ไร่ (โครงการวัดมงคลฯ มีพื้นที่ 3,000 ไร่ แบ่งเป็น 200 แปลง) อ่างนี้เลี้ยงได้ 4 ไร่ ต่อแปลง ลำพังสระเลี้ยงได้ 4.75 ไร่ (4.755+4 ไร่ = 7.75 ไร่) จึงเห็นได้ว่า หมิ่นเหม่มาก แต่ถ้าคำนึงว่า 8.75 ไร่นั้น จะทำเกษตรกรรมอย่างสมบูรณ์ได้อีก 6.24 ไร่ จะต้องอาศัยเทวดาเลี้ยง แต่ถ้าคำนึงว่าในระยะที่ไม่มีความจำเป็นที่จะใช้น้ำหรือมีฝนตก น้ำฝนที่ตกมาจะเก็บไว้ได้ในอ่างและสระสำรองไว้สำหรับเมื่อต้องการ อ่างและสระน้ำจะทำหน้าที่เฉลี่ยน้ำฝน (Regulator) จึงเข้าใจว่าในระบบนี้น้ำจะพอ
ปัญหาใหญ่อีกข้อหนึ่ง คือ ราคาการลงทุนค่อนข้างสูง เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก (ทางราชการ ทางมูลนิธิ และเอกชน) แต่ค่าดำเนินการไม่สิ้นเปลืองสำหรับเกษตรกร
อยู่ร่วมกันได้ ทำไมต้องทำลาย
ความคิดเห็นสำหรับ "โลกร้อน (2.3)"