โลกร้อน (2.3.1)
ตั้งใจไว้ว่า โลกร้อน (2.3.*) นี้อยากจะเขียนเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่บรรเทาปัญหาโลกร้อนได้ แต่ไปเจอเรื่องใหญ่เสียก่อน คือเรื่องกรอบพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแล้วในวันที่ 28 สิงหาคม 2545 แต่ยังมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติอีกมากมาย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรู้ของประชาชน
ดังนั้นเขียนไปเขียนมาจนบันทึกยาวมาก จำเป็นต้องตัดออกเป็นตอนย่อยๆ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในรายละเอียดของกระบวนการอันซับซ้อน+ดูเป็น เรื่องเหลือวิสัยเกินกว่าจะแก้ไข
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เสนอไว้ในปี 2546 แสดงให้เห็นว่ามีการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี (เสียดายแต่ว่าวันนี้ก็ยังเตรียมอยู่ ไม่ทำเสียที) เอกสารนี้ มำคำย่อ/ศัพท์เฉพาะอยู่เยอะครับ
UNFCCC | United Nations Framework Convention on Climate Change | KP | Kyoto Protocol |
Tg | Teragram = 1012 grams = ล้านตัน | Gg | Gigagram = 109 grams = พันตัน |
CDM | Clean Development Mechanism | CER | Certified Emission Reduction |
พิธีสารเกียวโต มีรายละเอียดมากเกินกว่าจะนำมาเขียนในบันทึกนี้
แต่คร่าวๆก็คือ
- นักวิทยาศาสตร์ของ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) เชื่อว่าต้นเหตุที่ใหญ่สุดของภาวะโลกร้อนคือก๊าซเรือนกระจก หากจะแก้ไขภาวะโลกร้อน ก็ต้องพยายามลดก๊าซเรือนกระจกให้เร็วที่สุด
- พิธีสารเกียวโต จัดกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วที่สร้างก๊าซเรือนกระจกสูง 39 ชื่อไว้เป็น Annex I (สหรัฐและออสเตรเลียยังไม่ให้สัตยาบัน) ในนี้ นอกจากเบรารุสและตุรกีแล้ว ที่เหลือออกกฏหมายควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายในพิธีสารเกียวโต ซึ่งมีกำหนดให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นขั้นตอน
- แต่โดยข้อเท็จจริงที่ว่าการลด/กำจัดก๊าซเรือนกระจก ยากและแพงมาก พิธีสารเกียวโตจึงสร้างกระบวนการพิเศษเรียกว่า “Flexibility Mechanism” ซึ่ง เปิดให้ประเทศใน Annex I สามารถ “ซื้อกำลังการกำจัดก๊าซเรือนกระจก” จากประเทศ(ด้อยพัฒนา) นอก Annex I ได้ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า CDM (Clean Development Mechanism) และมีตลาดซื้อขายกัน
- การขายกำลังการกำจัดก๊าซเรือนกระจก ไม่ใช่การตั้งตัวเลขขึ้นมามั่วๆ แต่จะมีการตรวจสอบและอนุมัติโดย CDM Executive Board ซึ่งโครงการที่ได้รับการอนุมัติ เรียกว่า CER (Cerified Emission Reduction) มีหน่วยเป็น “เทียบเท่ากับตันของคาร์บอนไดออกไซด์” (Tonnes of Carbon Dioxide Equivalent หรือ tCO2e)
- CER ไม่ใช่กำลังการกำจัด CO2 อย่างเดียว แต่รวมถึงก๊าซอื่นอีก 5 ชนิด ซึ่งมีความร้ายแรงต่างกัน
Gas Global Warming Potential Carbon dioxide (CO2) 1 Methane (CH4) 21 Nitrous oxide (N2O) 310 Hydrofluorocarbons (HFCs) 140-11,700 Perfluorocarbons (PFCs) 7,000-9,200 Sulphur hexafluoride (SF6) 23,900 Source : IPCC Third Assessment Report. 2001 Climate Change : The Scientific Basis. Intergovernmental Panel on Climate Change - ถ้ากำจัดมีเทน 1 ตัน ก็จะมีค่าเทียบเท่ากับการกำจัด 21 ตันของคาร์บอนไดออกไซด์ (21 tCO2e)
- ในโมเดลนี้ สามารถนำความสามารถในการกำจัด CO2e ไปขายประเทศอุตสาหกรรม (ในกลุ่ม Annex I) ได้ด้วย
- มองจากมุมของประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา (นอก Annex I) ก็คือ
- พิธีสารเกียวโต เปิดช่องให้ประเทศด้วยพัฒนา สามารถช่วยโลกกำจัดก๊าซเรือนกระจก ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยที่ประเทศใน Annex I จ่ายเงินช่วยเหลือความพยายามดังกล่าวในรูปของการซื้อ-ขาย CER ซึ่งมีการจัดตั้งตลาดสำหรับซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนขึ้นอย่างน้อยสี่แห่งทั่วโลก
- ราคาเคยขึ้นไปสูงถึง €30/tCO2e แต่ปัจจุบันอยู่ที่ €5-10/tCO2e
- CER ไม่ใช่ business as usual กล่าวคือไม่ใช่ของที่มีอยู่แล้ว แต่จะต้องเป็นความพยายามใหม่ที่จะลดก๊าซเรือนกระจก เช่นเขื่อนใหม่ ทุ่งกันหันลมใหม่ ป่าใหม่ การใช้ก๊าซชีวภาพทดแทนก๊าซหุงต้ม การดักจับมีเทนจากมูลสัตว์ ฯลฯ และจะต้องมีการเสนอข้อเสนอต่อ CER Executive Board ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติ จึงเรียกว่า certified และนำ tCO2e ไปขายได้
- ยังมีตลาดรอง ซึ่งมีนายหน้ารับซื้อ tCO2e เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ หมู่บ้าน/เมืองที่ใช้พลังงานทดแทนทั้งหมด (off-grid) ฯลฯ เป็นกิจการของเอกชน ที่ซื้อ capacity ไปขายเอกชนในประเทศ Annex I ที่มีกฏหมายจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบังคับอยู่
- ใจความสำคัญของพิธีสารเกียวโต (ภาษาไทย)
- ข้อความทั้งหมดในพิธีสารเกียวโต อาราบิค จีน อังกฤษ สเปญ ฝรั่งเศส รัสเซีย
- Frequently Asked Questions(FAQ’s) about CDM
โปรดติดตามตอนต่อไป… เรียนรู้เรื่องคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อการจัดการที่ถูกต้อง
ความคิดเห็นสำหรับ "โลกร้อน (2.3.1)"