โลกร้อน (2.3.2)

อ่าน: 4313

จากที่กล่าวมาในบันทึกชุด โลกร้อน (2.*) มาทั้งหมด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ สร้างผลกระทบโดยอ้อมอย่างร้ายแรงจนเยียวยาได้ยาก สถานการณ์จะยิ่งหนักหากเรายังไม่เข้าใจสาเหตุ ซึ่งจะทำให้แก้ไขได้ไม่ตรงจุด เป็นเพียงการบรรเทา หรือยืดปัญหาออกไปในอนาคต ซึ่งผลร้ายจะตกอยู่กับลูกหลานของเราเอง

ผมอายุไม่ยืนพอที่จะยืนยัน แต่มีผู้รู้บรรยายไว้ว่าเมื่อโลกเกิดขึ้นนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นจุลชีพขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรมีพื้นผิวกว้างที่สุด จึงมีพื้นที่ให้คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศละลายน้ำได้กว้างใหญ่

จุลชีพเหล่านี้ ค่อย ๆ เปลี่ยนสารละลายคาร์บอนไดออกไซด์ (อนุมูลคาร์บอนเนต CO3) เป็นหินปูน CaCO3 ซึ่งกระบวนการนี้ ใช้เวลาหลายร้อยล้านปี จนความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเบาบางลง โลกสะท้อนความร้อนออกไปในอวกาศได้ดียิ่งขึ้น อุณหภูมิของบรรยากาศโลกลดลง เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมากมาย

ตรงไหนมีหินปูน ตรงนั้นน่าจะเคยเป็นทะเลมาก่อน

โลกเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในรูปของสารประกอบ มนุษย์นำเอาสารประกอบนั้นออกมาใช้ เปลี่ยนแปลงพันธะทางเคมี ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ โดยการกระทำอย่างนี้ หากไม่ทำ โลกก็จะไม่ “เจริญ” มาแบบนี้ และจะไม่สิ้นสุดลงในแบบนี้เช่นกัน

ชีวิตคือหน่วยคาร์บอน (Carbon-based unit)

คำว่าหน่วยคาร์บอน ใช้ในภาพยนต์ Star Trek: The Motion Picture ในปี 1978 ซึ่ง V’ger (ยานอวกาศ Voyager) กลับสู่โลกเพื่อนำความรู้ที่สำรวจจักรวาลมา คืนให้กับมนุษย์ชาติ

V’ger พูดผ่าน Ilia ถูกอยู่อย่างหนึ่ง คือมนุษย์เป็นหน่วยคาร์บอน ร่างกายเราประกอบด้วยคาร์บอน สิ่งมีชีวิตบนโลกประกอบด้วยคาร์บอน เมื่อร่างกายเสื่อมสลายลง ก็กลายเป็นซากพืช ซากสัตว์ เป็นการปลดปล่อยคาร์บอนกลับคืนสู่ดิน

ค า ร์ บ อ น นั่ น ล่ ะ คื อ ค ว า ม อุ ด ม ส ม บู ร ณ์ ข อ ง ดิ น — ไ ม่ ใ ช่ ปุ๋ ย

เปรียบเหมือนร่างกายของเรา ต้องการสารอาหารทั้งห้าหมู่ในปริมาณที่เหมาะกับความต้องการ ไม่ใช่อาหารเสริม หรือยาโด๊ป

ห่วงโซ่อาหาร คือความสัมพันธ์ระหว่างผู้กินและผู้ที่เป็นอาหาร บนสุดของห่วงโซ่อาหาร หนีสัจธรรมของชีวิตไปไม่พ้น เมื่อตายลง ร่างกายเน่าเปื่อย กลับลงสู่ดิน คืนคาร์บอนให้เป็นอาหารของพืช

พืชต้องการคาร์บอนกับน้ำไปสร้างกลูโคส (C6H12O6) ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง จากนั้นจึงลำเลียงไปเปลี่ยนเปลี่ยนเป็นเซลลูโลส (C6H10O5)n เป็นเนื้อไม้

เมื่อเราเผาพืช พันธะทางเคมีของเซลลูโลส (ผนังเซลของพืช) แตกสลาย กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้คาร์บอนถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ ไม่ได้กลับคืนสู่ดิน ดินถูกฆ่าตัดตอน

ดังนั้น การเผาป่า เผาหญ้า จึงเป็นการทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยตรง

ดินของเมืองไทย แม้ที่ราบลุ่มภาคกลาง ไม่ได้อุดมสมบูรณ์ด้วยตัวของดินเอง

ซากพืช ซากสัตว์ (Humus สีน้ำตาลหรือดำ) แบบที่เป็นออร์กานิกคาร์บอน เป็นอาหารของพืชได้

Humus ย่อยสลาย เปลี่ยนเป็นสารประกอบอื่นๆ ที่อุณหภูมิสูงกว่า 25°C (wikipedia) แต่อุณหภูมิของเมืองไทย มักสูงกว่า 25°C จึงต้องใส่ใจปรับปรุงดินให้มาก

Humus ไหลมากับน้ำ(ท่วม)ได้ อยู่ได้พักใหญ่ แต่จะค่อยๆเปลี่ยนสภาพไป

ถ้าใช้อย่างเดียว ไม่มีบำรุง อย่างเช่นไร่เลื่อนลอย เผาแล้วอยู่ได้สองสามปี พอดินเสื่อม ก็อพยพไปเบียดเบียนที่อื่น ทิ้งที่เก่า รอวันเป็นทะเลทราย

ถ้าไม่มี Humus แล้วน้ำไม่ค่อยท่วม หรือท่วมแต่ไม่ได้นำเอา Humus มา ก็ลองนึกถึงดินอีสานซิดูครับ ยิ่งถ้าไม่มีพืชคลุมดิน ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นทะเลทรายมากขึ้น

ส่วนดินเชิงเขาซึ่งไม่มีน้ำพา Humus มา ยิ่งต้องการให้เกิดการย่อยสลายของซากพืช ซากสัตว์ตามธรรมชาติมากขึ้น เพราะว่าน้ำที่ไหลลงจากเขา พา Humus ไปจากเขา การเผาที่ เผาป่า เป็นการเร่งให้ดินเสื่อมสภาพ

แหล่งเก็บคาร์บอน

หากเก็บคาร์บอนไว้ได้ ก็เท่ากับกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศได้เช่นกัน

Carbon stored in soils oxidizes rapidly; this, in addition to high rainfall levels, is the reason why tropical jungles have very thin organic soils. The forest eco-system may eventually become carbon neutral. Forest fires release absorbed carbon back into the atmosphere, as does deforestation due to rapidly increased oxidation of soil organic matter.

โลกมีแหล่งกับเก็บคาร์บอนแหล่งใหญ่อยู่สองแหล่ง คือ

มหาสมุทร

ดังที่เกริ่นมาข้างบนแล้ว มหาสมุทร์เป็นแหล่งกับเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุด เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ ละลายน้ำได้ และเป็นอาหารของไฟโตแพลงตอน หรือแพลงตอน (Phytoplankton) ซึ่งเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ ไปเป็นรูปสารประกอบอื่น (ตะกอนหินปูน)

อย่างไรก็ดี มีการประมาณการไว้ว่า หนึ่งในสามของมลพิษที่มนุษย์ปล่อยออกสู่บรรยากาศ ลงไปสู่มหาสมุทร ซึ่งน่าจะเป็นการเกินกำลังของกลไลธรรมชาติที่จะกำจัดได้

ดิน

ดินเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ใหญ่มาก ใหญ่กว่าผลรวมของคาร์บอนที่อยู่ในพืชเพาะปลูก+ก๊าซที่ประกอบด้วยคาร์บอนในบรรยากาศทั้งหมด

มนุษย์ทำลายดินด้วยการเผา ตัดตอนวงจรของ Humus ที่คืนคาร์บอนกลับสู่ดิน


บันทึกนี้ ชักยาวไปอีกแล้ว จึงขอพักไว้แค่นี้ก่อน สำหรับบันทึกในชุดนี้ ใช้คำสำคัญ โลกร้อน ครับ

« « Prev : โลกร้อน (2.3.1)

Next : เฮฯ หก: เบื้องหลังภาพถ่ายที่เอามาอวด » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "โลกร้อน (2.3.2)"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.072792053222656 sec
Sidebar: 0.15480995178223 sec