รายได้ปี 2553 ของกรมสรรพากร

อ่าน: 3645

กรมสรรพากรได้จัดทำรายงานประจำปีสำหรับปีงบประมาณ 2553 บรรดาผู้ถือหุ้น (โดยเฉพาะผู้เสียภาษี) ก็ควรจะโหลดไปศึกษากันหน่อยครับ

กล่าวโดยย่อ ภาษีสรรพากรในปีงบประมาณ 2553 จัดเก็บได้ 1,264,845.28 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 11.1%

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 208,367.61 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 5.2%
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล 454,629.56 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 15.9%
  3. ภาษีปิโตรเลียม 67,599.00 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 25.5%
  4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 502,259.80 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 16.3%
  5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 22,989.12 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 27.0%
  6. อากรแสตมป์ 8,757.39 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 16.9%
  7. รายได้อื่นๆ 242.80 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 8.9%

เมื่อแยกตามหน่วยจัดเก็บ ซึ่งแบ่งเป็นสำนักสรรพากรภาค 1-12 และหน่วยงานอื่นๆ ก็เป็นไปดังนี้

หน่วยจัดเก็บ รายได้ เปลี่ยนแปลง
YoY
% รวม พื้นที่จังหวัด
สำนักงานสรรพากรภาค 1 278,836.08 +11.98% 49.97% กรุงเทพ
สำนักงานสรรพากรภาค 2 181,380.85 +8.40%
สำนักงานสรรพากรภาค 3 171,882.62 +4.87%
สำนักงานสรรพากรภาค 4 92,672.49 +19.13% 7.32% ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อุทัยธานี
สำนักงานสรรพากรภาค 5 234,142.83 +22.54% 18.51% จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ สระแก้ว
สำนักงานสรรพากรภาค 6 35,723.29 +10.42% 2.82% กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี
สำนักงานสรรพากรภาค 7 9,176.03 +9.28% 0.73% กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์
สำนักงานสรรพากรภาค 8 13,829.66 +17.34% 1.09% เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
สำนักงานสรรพากรภาค 9 12,687.14 +13.85% 1.00% ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
สำนักงานสรรพากรภาค 10 13,245.48 +12.80% 1.05% กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบังลำภู อุดรธานี
สำนักงานสรรพากรภาค 11 16.294.53 +11.06% 1.29% กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี
สำนักงานสรรพากรภาค 12 12,754.57 +19.26% 1.01% ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล
กองคลังและหน่วยงานอื่นๆ 192,219.71 +1.88% 15.20%

« « Prev : ความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในพม่า-อันดามัน

Next : แผ่นดินเคลื่อนสับสน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 April 2011 เวลา 19:51

    ถ้าไม่มีม๊อบ น่าจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มเข้ามาอีกมาก
    แต่ เก็บได้มากได้น้อยค่อยๆบรรจงจ่าย
    เพื่อที่คนเสียภาษีจะได้สบายใจ
    และใส่ใจที่จะจ่ายๆๆและจ่าย

  • #2 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 April 2011 เวลา 21:30

    อ่านความเห็นแรกของโยมครูบาฯ เฉพาะวรรคสุดท้าย…

    “แต่ เก็บได้มากได้น้อยค่อยๆบรรจงจ่าย
    เพื่อที่คนเสียภาษีจะได้สบายใจ
    และใส่ใจที่จะจ่ายๆๆและจ่าย”

    “วัด” ก็ผุดขึ้นมาแล้วก็รู้สึกขำๆ กับตัวเอง… ภาษีก็เหมือนกับรายได้วัดซึ่งญาติโยมทำบุญมา สมภารต้องรู้จักใช้จ่าย เพื่อญาติโยมจะได้ใส่ทำบุญๆ และทำบุญ…

    เจริญพร

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 April 2011 เวลา 21:48
    ผมเห็นความไม่เท่าเทียมใน “ความเจริญ” ครับ

    ภาษีมีกฏเกณฑ์การจัดเก็บที่แน่นอน ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บได้ มาจากกรุงเทพเสีย 50% ทั้งที่กรุงเทพมีพื้นที่เพียง 0.3% ของพื้นที่ทั้งประเทศ (งบประมาณแผ่นดินก็ไม่ได้เอามาลงพื้นที่กรุงเทพครึ่งหนึ่ง) ถ้ากรุงเทพเจริญรุ่งเรือง ทำไมพื้นที่อื่นจึงไม่เจริญรุ่งเรือง มากระจุกกันอยู่ในกรุงเทพทำไม… เมืองไทยยังมีการบ้านอีกเยอะครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 1.060045003891 sec
Sidebar: 0.27073812484741 sec