ปุ๋ยสั่งตัด (1)

อ่าน: 4274

วิดีทัศน์เผยแพร่ เรื่องชาวไร่ข้าวโพดกับปุ๋ยสั่งตัด

แนวคิดเรื่อง “ปุ๋ยสั่งตัด” เป็นอย่างนี้ครับ

  1. พืชเจริญเติบโตด้วยน้ำ และสารอาหารในดิน บวกกับประสิทธิภาพของราก (ความร่วนซุย) และความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
  2. ปุ๋ยคือ “อาหารเสริม” ซึ่งมาช่วยเติมสิ่งที่สารอาหารในดินขาดไป
  3. ดินแต่ละชนิด (เรียกว่า “ชุดดิน”) จะมีความร่วนซุยและปริมาณคาร์บอนไม่เหมือนกัน
  4. การเอาปุ๋ยตามสูตรสำเร็จรูปใส่ลงไป ไม่ได้แปลว่าจะได้ผลดี อาจเป็นการ over-doze หรือสูญเปล่า เพิ่มค่าใช้จ่าย และให้ผลผลิตไม่สูงเท่าที่ควร
  5. โปรแกรมปุ๋ยสั่งตัด เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ “ชุดดิน” จากแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นดินชนิดใด น่าจะมีสภาพ/สารอาหารอย่างไร
  6. ใส่ปุ๋ยลงไปตามความต้องการของชนิดของพืชที่ปลูก และชนิดของดิน

Get the Flash Player to see this player.

ไฟล์การนำเสนอ (15.4MB pdf อ่านด้วย Acrobat Reader)

« « Prev : Practical Utopia สัมภาษณ์ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

Next : ปุ๋ยสั่งตัด (2) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 March 2009 เวลา 11:00

    นับว่าเป็นความก้าวหน้าอีกก้าวหนึ่งของวงการเกษตรไทย ผมเองก็ได้ยินได้ฟังมาเหมือนกัน และสนับสนุนแนวความคิดนี้
    ข้อคิดในเรื่องนี้ครับ (ติเพื่อก่อนะครับ)

    • หากลงไปถามผู้นำเกษตรกร หรือผู้นำชุมชนในเรื่องเหล่านี้ บางคนบอกว่าได้ยินทางราชการพูด บางคนบอกไม่รู้เรื่อง และไม่เข้าใจ ผมคิดว่าอาจอยู่ในช่วงของการประชาสัมพันธ์ ก้ได้ครับ ซึ่งระบบราชการทำงานก็อาจใช้เวลาบ้าง
    • สำหรับคนทื่ีทราบเรื่องแล้ว คิดไงต่อ เขาบอกว่า ผมจะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบดินแบบง่ายๆได้อย่างไร หมอดินที่มีอยู่ในหมู่บ้านบางคนก็บอกไม่มีเครื่องมือชุดนี้  สรุป การเข้าถึงความจริงเรื่องนี้ของเกษตรกรยังมีประเด็นต้องปรับปรุงอีก
    • หมอดินบางคนมีเครื่องมือ เอ้าเมื่อพิสูจน์แล้วว่าดินเป็นเช่นนั้นเช่นนี้  สิ่งที่ต้องทำต่อคือการสั่งตัดปุ๋ย  ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเรื่องสะดวกเลยที่เกษตรกรจนๆคนหนึ่งที่คิดเห็นดี คล้อยตาม และอยากทำตามข้อแนะนำทางวิชาการนี้ แต่ไปสั่งตัดปุ๋ยที่ไหนอย่างไร ในที่สุดก็เสร็จพ่อค้าอีก  เรื่องนี้ราชการต้องคิดต่อในการบริหารจัดการตอบสนองการได้ปุ๋ยสั่งตัดจากผู้ดำเนินการเรื่องนี้
    • อีกประการหนึ่ง ที่ดินผืนใหญ่ แต่ละมุมของผืนดินอาจจะมีคุณสมบัติดินที่แตกต่างกัน มากน้อยแล้วแต่สภาพเป็นจริง  เกษตรกรก็ต้องเอาดินมุมโน้นมากองหนึ่ง ดินมุมนี้มากองหนึ่งมาตรวจสอบคุณสมบัติ ซึ่งผลออกมาอาจเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน หรือแตกต่างกันเลยก็เป็นไปได้ทั้งนั้น  หากคิดค่าเฉลี่ย  ก็ต้องใช้หลักวิชาการมาพิจารณาว่าจะยอมรับได้มากน้อยแค่ไหน  การตรวจอย่างละเอียดน่าจะเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีราคาแพง เช่นพื้นที่ที่ทำการปลูกพืชแบบ contract farming  อย่างไรก็ตามการพิสูจน์ดินบ่อยๆทุกปี ก็จะได้ค่าที่แม่นยำมากขึ้น นั่นหมายความว่าเกษตรกรต้องก้าวหน้ามีการจดบันทึกรายละเอียดต่างๆไว้
    • ราชการคงไม่สามารถจัดการเรื่องเหล่านี้ได้ คงปล่อยให้ธุรกิจเป็นผู้รับลูกต่อ  ก็เข้าทางการค้าอีก ชาวบ้านก็ไม่รู้ว่า เม็ดกลมๆนั่นคือ N คือ P คือ K หรืออื่นๆ แล้วจริงไม่จริง ของแท้หรือเทียม เขาใส่ Filter ไปมากน้อยแค่ไหน เกษตรกร แบ๊ะๆ เลย ก็ตกอยู่ภายใต้การเล่นของร้านค้าอีก
    • นอกจากมีกลุ่มสหกรณ์ของเกษตรกรเองที่รับลูกเอามาทำต่อ  สหกรณ์การเกษตรบางแห่งก็เก่งมาก  แน่นอนบางแห่งก็อาจจะไม่เท่าไหร่..
    • ทั้งหมดนี้มิใช่มองในทางร้ายทางเดียวนะครับ เป็นการมองเพื่อหาทางอุดช่องว่างเท่านั้น มองเพื่อหาทางมิให้เกิดปัญหาตามมาอีก
    • ผมเห็นด้วยและสนับสนุนแนวคิดนี้ ใน สปก.ก็ประชาสัมพันธ์เรื่องนี้อยู่ แต่กลุ่มเครือข้ายไทโส้ดงหลวง บอกว่า จะสั่งตัดหรือไม่ตัดเขาก็หันมาทำปุ๋ยชีวภาพดีกว่า เพราะเขาเห็นผล ก็ดีไปอย่าง  แต่ก็ไม่ทิ้งแนวคิดปุ๋ยสั่งตัดนี้
    • สรุปแนวคิดดี  แต่ควรช่วยกันในทางปฏิบัติมากๆด้วยครับ

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.14126801490784 sec
Sidebar: 0.1329300403595 sec