ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (8)
วันนี้เอาเตาเผาถ่าน Biochar ในลักษณะของถังกลมมาให้ดูอีกสามแบบครับ
แต่หลักการยังคงเดิม คือเผาให้ความร้อนแก่ไม้ (หรือ biomass) จะเกิด gasification แล้วเอาก๊าซนั้นมาเผาให้ความร้อน วิธีการนี้ จึงประหยัดเชื้อเพลิงในการเผาถ่านมาก แถมได้ถ่าน Biochar เอาไปปรับปรุงดินด้วย
ส่วนแบบที่สาม ก็เป็นเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งก็ยังคงหลักการเดิมทั้งหมดครับ
« « Prev : ทางสายเอก
Next : ถนนที่น้ำซึมผ่านได้ » »
2 ความคิดเห็น
ผมว่าเป็นการเผาไหม้ที่ “เร็วเกินไป” ครับ ทำให้เปลืองพลังงานในการผลิตถ่าน (ได้ปริมาณถ่านน้อยต่อหน่วยพลังงานเผาไหม้ที่ใช้) อีกทั้งมีการสูญเสียพลังงานมาก
เตาเผาถ่านขนาดเล็กควรทำจากท่อซีเมนต์ขนาดเล็ก ขนาดกลางอาจทำจากปลวกส้วม ต้องมีการสลับความร้อนเผาไหม้ให้วนลามแบบสลับฟันปลา ด้วยครีบหริอด้วยการยูเทิร์น หรือด้วยวิธีการจัดวางฟืนอย่างเป็นระบบ และโดยเป็นการเผาแบบ “เผาช้า”
การเผาแบบเตาอิวาเตะ (ของญี่ป่น) ที่คนไทยนิยมนั้น ผมได้วิเคราะห์ตามหลักการเผาไหม้และการไหลว่าไม่ดีนัก และยังใช้เวลานานเกินไป (20 วัน)และยังทำอุณหภูมิได้ต่ำ แต่ผมเชื่อว่าแนวคิดที่ผมคิดไว้จะสามารถเผาได้สุกในเพียง 3 วันและได้ อภ. สูง 1000 C เพื่อทำ activated carbon ด้วย
สงกรานต์ที่ผ่านมา ผมไปพบเตาเผาถ่านไทยโบราณแห่งหนึ่งแถวเพชรบูรณ์แล้วตกใจว่า แนวคิดเตานี้เหมือนที่ผมคิดไว้เลย สัมภาษณ์คนใช้บอกว่าถ่านสุกในสามวัน และได้ถ่านดีมาก แสดงว่าคนไทยโบราณเขาคิดได้เก่งมากๆ
ส่วนจะรีไซเคิลความร้อนสูญเสียอย่างไรให้ความร้อนเข้าข้างบนแล้วก๊าซไหลออกข้างล่างนั้น น่าลองดูจริงๆ นะครับ