อารยะนินทา
อ่าน: 4347คำว่าอารยะนินทานี้ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในลานเจ๊าะแจ๊ะ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 ด้วยข้อความว่า:
ถ้าหายไปนานกว่านี้อีกนิดเดียว ก็จะโดนมาตรการทางสังคมแล้วครับ เรียกว่า อารยะนินทา
คำนี้ ค้นดูในฐานข้อมูลแล้ว พบว่าผมเป็นคนเขียนเองล่ะครับ ค้น Google ไม่พบคำนี้นอกจากในเว็บที่รับข่าวออกไปจากลานปัญญา
ในช่วงนั้น เกิดความเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งมีการใช้คำว่าอารยะขัดขืน ซึ่งตาม wikipedia ในวันนี้ ให้ความหมายไว้ว่า
Civil disobedience is the active refusal to obey certain laws, demands and commands of a government, or of an occupying power, without resorting to physical violence [โดยไม่ใช้ความรุนแรง]. It is one of the primary tactics of nonviolent resistance. In its most nonviolent form (known as ahimsa [อหิงสา] or satyagraha [सत्याग्रह สัตยคราหะ=การต่อต้านขัดขืนโดยไม่ใช้ความรุนแรง]) it could be said that it is compassion in the form of respectful disagreement. …
ตอนยึดสนามบิน ไม่ใช่อารยะขัดขืน แต่ไม่รู้เรียกว่าอะไร ภาษาอังกฤษเรียก Civil Unrest (Civil Disorder)
Civil disorder, also known as civil unrest, is a broad term that is typically used by law enforcement to describe one or more forms of disturbance caused by a group of people. Civil disturbance is typically a symptom of, and a form of protest against, major socio-political problems; the severity of the action coincides with public expression(s) of displeasure. Examples of civil disorder include, but are not necessarily limited to: illegal parades; sit-ins and other forms of obstructions; riots; sabotage; and other forms of crime. It is intended to be a demonstration to the public and the government, but can escalate into general chaos.
กับคำว่าอารยะนินทานี้; อารยะ แปลว่าเจริญ ส่วน นินทา แปลว่าติเตียนลับหลัง และโครงสร้างคำในภาษาไทย วางคำหลักไว้ข้างหน้า เช่นมะนาวหวาน หมายถึงมะนาว
ดังนั้นอารยะนินทา จึงควรจะเป็นการพูดในที่ที่เปิดเผย (เป็นการกระทำอันเป็นอารยะ ที่ไม่ใช่อีแอบ) แม้จะไม่ต่อหน้า แต่ก็เข้าใจและอนุมาณได้ว่า ข้อความจะไปถึงผู้ที่ถูกกล่าวถึง*โดยไม่ผิดเพี้ยน* — มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ที่ถูกกล่าวถึง คิดถึงประเด็นที่ถูก “นินทา” ซึ่งไม่ได้มีความหมายในเชิงติเตียน
หากจะกล่าวถึงในที่ลับหลัง เพื่อความสนุกสนานระหว่างเพื่อน ควรจะใช้คำว่านินทาเฉยๆ ครับ
« « Prev : ประชุมสรุปงาน OpenCARE กับอนุกรรมการวิจัยของเนคเทค
12 ความคิดเห็น
อิอิ อีกหน่อยจะเข้าไปสู่พจนานุกรมฉบับใหม่…
อาจจะเพราะบางคนไม่พร้อมจะถูกตำหนิตรงๆได้ อิอิ
พวกเราบางคนเอามาใช้ในทำนอง นินทาแบบอารยะค่ะน้อง นินทาแบบเอ็นดูคนที่ถูกกล่าวถึงนะ เข้าข่ายอ่ะปล่าว
ที่ทำงานเราใช้คำว่า สุนทรียะนินทา ล่ะ ^_^
แต่ในประเด็นที่คิดว่าเป็นอารยะหรือไม่ ผมคิดตามแนวที่พระอาจารย์มหาชัยวุธได้ให้อรรถาธิบายไว้ ในศีลข้อมุสาฯ ครับ
เปิดมาดูบันทึกนี้ ๒-๓ ครั้งแล้ว ครั้งนี้ มีการอ้างถึง (อารยะนินทา ?) ก็ขอใช้สิทธิ์ถูกพาดพิงนิดหน่อย…
ครั้งแรกที่เจอศัพท์ว่า *อารยะนินทา* ก็รู้สึก ทึ่ง ! กับผู้คิด… และตอนนี้รู้สึกว่าคำนี้เริ่มจะติดตลาด ดังนั้น เพื่อการหมายรู้ในทำนองเดียวกันก็ต้องมีการนิยามความหมายหรือให้ความจำกัดความ…
เบอร์ทัลดิ์ รัสเซลล์ เคยให้ความเห็นว่า ความหมายของคำนั้น คล้ายๆ กับแสงสว่างที่เกิดมาจากโคมไฟที่แขวนอยู่บนยอดเสาในคืนที่มีลมแรง นั่นคือ สั่นไหวตลอดและเอาแน่นอนได้ยาก…
โดยส่วนตัว ผู้เขียนอาจเจอแต่ศัพท์บัญญัติที่เข้าใจยากๆ เป็นปกติก็ได้ จึงไม่ค่อยจะใช้ศัพท์แปลกๆ ชอบจะใช้แต่คำง่ายๆ ทำนองว่า คำไทยแท้ๆ คำโดด คำประสม อะไรทำนองนี้
แต่ในโลกปัจจุบัน การที่จะสื่ออะไรให้สะดุดใจ การนำเสนอบางอย่างด้วยศัพท์แปลกๆ ใหม่ๆ นับว่าเป็นจุดขายและเรียกร้องความสนใจได้พอสมควร…
อย่างไรก็ตาม หากว่า *อารยะนินทา* ซึ่งมีกำเนิดที่ลานปัญญา ติดตลาดขึ้นมา ผู้เขียนก็รู้สึกปลื้ม ในฐานะที่เป็นสมาชิกลานปัญญา และเป็นหนึ่งในจำนวนคนกลุ่มแรกที่ได้เห็นศัพท์นี้ แม้จะไม่เคยใช้เป็นการส่วนตัวเลยก็ตาม…
เจริญพร
อารยะนินทา - นินทาอย่างผู้เจริญ (แต่ผู้เจริญไม่นินทาผู้อื่นลับหลัง)
รีบอุ๊บอิ๊บว่า การเอ่ยถึงลับหลังด้วยความยินดีและเอ็นดูต่อผู้ทีเอ่ยถึง อยู่ในข่ายของการนินทาอย่างผู้เจริญ…….อิอิ
“อรยนท” อารยะนินทา เป็นการกล่าวขานของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนในสถานที่ส่วนตัว หรือ ที่ลับ ในด้านบวก
ในอนาคต อาจจะต้องบัญญัติศัทพ์ใหม่ในด้านลบ หรือ นินทาในด้านลบ ว่า “อฆนท” ก็เป็นไปได้
ท่านพี่ครับ ผมหาทางเข้าลานได้แล้ว หลังจากจำuser password ไม่ได้ หาทางเข้ามาร่วม2เดือน
27 กพ. ผมรวมลาน ณสวนป่าด้วยครับ
[...] ได้ มีงานบวชเม้ง เปลี่ยนคำฮิตจาก “อรยนท” (อารยะนินทา:กริยา) เป็น “แห้ว” [...]