พืชน้ำมัน: ทานตะวัน
ความคิดเดิมที่คุยกันในบรรดาชาวเฮ ก็คิดกันว่าต้นเอกมหาชัยซึ่งเมล็ดมีน้ำมันมาก คุณภาพดีแบบน้ำมันมะกอก น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่กว่าต้นเอกมหาชัยจะโตพอที่จะออกดอกออกผลก็ใช้เวลาหลายปี ระหว่างที่รอจนเก็บเกี่ยวเมล็ดได้ ยังไม่มีคำตอบว่าจะทำอะไรดี
คืนนี้ค้นเน็ตไปเรื่อย ก็เจออีกไอเดียหนึ่งคือทานตะวันครับ เมล็ดทานตะวันเอามาบีบน้ำมัน ได้น้ำมันทานตะวันขายกันเกร่อ
ทานตะวันเป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดีพอสมควรไม่ไวต่อแสง สามารถออกดอกให้ผลได้ทุกสภาพช่วงแสง ปลูกได้ในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมื่อทานตะวันตั้งตัวได้แล้ว จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้พอสมควร และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า ทานตะวันขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ตลอดจนสภาพดินเกลือและเป็นด่างจัดได้พอสมควร ซึ่งดินเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจำ นวนมากในเขตแห้งแล้งทั่วๆไป
น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน มีคุณค่าทางอาหารสูง ขายได้ราคา แต่หากเกิดการขาดแคลน สามารถใช้เป็นน้ำมันพืชได้โดยตรง หรือจะใส่เครื่องดีเซลเป็นไบโอดีเซล 100% แก้ขัดไปก็ยังได้
ทานตะวันเริ่มออกดอก 45 วันหลังจากปลูก เก็บเกี่ยวใน 100 วัน หรือเกินจากนั้นสักอาทิตย์สองอาทิตย์แล้วแต่พันธุ์ ผลผลิตก็แล้วแต่พันธุ์ ที่ส่งเสริมกันอยู่เป็นพันธุ์เชียงใหม่ 1 ผลผลิตประมาณ 200 กก./ไร่ ซึ่งเอาไปบีบเป็นน้ำมันได้ประมาณหนึ่งในสาม หรือไม่ก็ตัดตอนขายเมล็ดส่วนใหญ่ให้โรงงานน้ำมันพืชไปเลยก็ได้ ส่วนเมล็ดที่เหลือเก็บไว้ในที่เย็น จะทำให้อัตราการงอกดีขึ้น แล้วนำไปปลูกในฤดูการต่อไปได้ — ข้อมูลจากศูนย์วิจัยพืชไร่ นครราชสีมา
เมล็ดพันธุ์ทานตะวันลูกผสมที่ให้น้ำมันสูง เป็นพันธุ์ของต่่างประเทศซึ่งดูจะเกินเอื้อมของเกษตรกรทั่วไป
มีงานปรับปรุงพันธุ์ทานตะวันซึ่งดำเนินการมากว่าสิบปีแล้ว ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทยเผยแพร่เอาไว้ ประกอบด้วย
- วิธีการปลูก — ยกแปลง หยอดหลุมที่ระยะห่าง 50 ซม จะได้ไม่แย่งอาหารกันเอง
- ปุ๋ย — ใช้ปุ๋ยคอกโรยโคนต้นเมื่อโต 30 ซม./ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี
- ผลผลิต — ไร่ละ 1 ตัน สูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองทั่วไปถึงสี่ห้าเท่า
การหีบน้ำมัน ก็เป็นกระบวนการ cold press ธรรมดาครับ ฝัดทำความสะอาดเมล็ดก่อน แล้วอบในตู้ไม้อุณหภูมิ 45°C ไว้ 24 ชั่วโมง จากนั้นเอาไปหีบน้ำมัน (เอาน้ำมันที่ได้ไปตากหนึ่งแดดเพื่อไล่ความชื้นในน้ำมันออกก่อนนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล) กากเมล็ดที่บีบแล้วใช้เป็นอาหารเป็ดไก่ได้ เอามูลไก่มาเป็นปุ๋ยคอก วนไปวนมาอย่างนี้ครับ
Next : ฝนตก น้ำท่วม กระสอบทราย » »
6 ความคิดเห็น
สงสัยต้องหามาปลูกในสวนบ้างแล้ว
ผมคิดว่ายังมีเมล็ดพันธุ์ทานตะวันจากต่างประเทศที่ป้าจุ๋มให้มายังเหลืออยู่นะครับ ไม่แน่ใจเรื่องอัตรางอกเพราะนานแล้วเหมือนกัน
ขอไปหาดูก่อน ถ้าหาเจอ จะแบ่งส่งไปให้หามาได้สัก 40 เมล็ดครับ แล้วจะส่งไปให้ (แปลงปลูก 3×3 เมตร ด้านละ 6 หลุม)คงต้องเอาไปขยายพันธุ์ต่อเอาเองนะครับ ผมปลูกไว้บ้าง แต่ตายยกแปลงช่วงฝนตกหนักแล้วน้ำท่วมสวนข้างบ้าน
ผลผลิตพลังงานต่อไรต่ำมากครับ ประดา bio energy ทั้งหลายแหล่ ผมวิเคราะห์ไว้ว่า ต้นไผ่ดีที่สุด เท่ากับว่า เปลี่ยนพลังงานแดดมาเป็นเนื้อไม้ได้ในอัตรา 25% (ยูคาประมาณ 3% เท่านั้น) ข้อมูลนี้ผมกล้าท้าว่าไปค้นที่ไหนในโลกก็หาไม่เจอหรอกครับ…ส่วน solar cell ประมาณ 10% แต่ราคามันแพงมาก
ถ้าเอาไม้ไผ่มาเผาถ่านผลิตไฟฟ้าถ้าได้ ปสภ. 40% ก็จะเท่ากับว่าเปลี่ยนแสงแดดมาเป็นไฟฟ้าด้วย ปสภ. 25x.4 = 10% พอๆ กับ PV cell เลยนะครับ แต่ถูกกว่า และ environmental friendly กว่ากันมากเลย
จ๊าก…เผาถ่านเนี่ยนะ ef ? you’d better believe it.!
ยกตัวอย่างเช่นกระบวนการกลั่นน้ำมัน พลังงานที่ใช้ขนส่งน้ำมันดิบ+กลั่น คงจะมากกว่าพลังงานที่ได้จากน้ำมันที่กลั่นแล้ว+loss แต่ก็ต้องทำเพราะเราเอาน้ำมันที่กลั่นแล้วไปใช้ได้หลากหลายรูปแบบ
ต้นกำลังที่สะอาดและน่าใช้ที่สุดคือพลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่ง solar thermal เหมาะเมื่อแดดออกมาแรงแล้วสักพัก และต้องการแปลงพลังงานตรงสถานที่นั้น แต่ถ้ามีการเคลื่อนย้าย ก็ต้องแก้ไขปัญหาเรื่อง energy storage ซึ่งยังทำกันไม่ได้ดี bio diesel น่าจะเหมาะกว่า
แต่ในยามยาก อะไรก็เป็นไปได้ครับ รูปทางขวา รถยนต์ใช้ downdraft gasifier จากถ่านหินเป็นพลังงาน เนื่องจากน้ำมันขาดแคลน
คนไทยเราวันนี้ ทำอะไรกันมากหลาย น่านิยม แต่พวกเขาไม่เคยคิดเลยว่า ทำให้มันมีปสภ.น่ะมันยากกว่าการ “ทำ” ล้านเท่า แต่อนิจจา
คนไทย และคนให้ทุนวิจัยไทยเราเขาคิดกันได้แต่ ทำ เท่านั้นเอง
แบบนี้นอนกดรีโมทที่ริมรีสอร์ทจะดีกว่า อย่ามาจุ้นให้ประเทศเจ๊งเลยครับ
เสียดายจริงๆ ประเทศไทยเรา มีดีหมดทุกอย่าง ยกเว้นมีพวกให้ทุนวิจัยงี่เง่ามาอยู่เต็มประเทศ (พวกเห่อการสร้างสิ่งใหญ่ๆเพื่อแสดงออก แต่สมองมีน้อย..มองเท่าไรก็ไม่เห็น)
เนื้อไม่ไผ่ มีความหนาแน่น ไม่ต่างจากไม้อื่นครับ แห้งที่ 14% (wet basis) มีถพ. ประมาณ 0.6 และค่าความร้อนเผาไหม้ประมาณ 20 กิโลจูลต่อ กก.
สรุปคือไผ่มีค่าความร้อนเผาไหม้โดยเฉลี่ยพอกับยูคา และอื่นๆ แต่มีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าเขา 8 เท่า ผมคำนวณไว้หมดแล้วครับ
หลายฝ่ายเคลมกันไปมา โดยไม่มีมาตรฐานอ้างอิง แต่ผม มีมาตรฐานเดียวเสมอมา
ที่น่าสนใจคือ ไปถามกรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ ไม่มีใครรู้ว่า ผลผลิตพลังงานต่อไร่ของไม้แห้งในสภาพแวดล้อมมาตรฐานมีเท่าไหร่ ไม่มีใครรู้ เพราะแมร่งเอาตีกอล์ฟ ประจบนายกันไปวันๆ ไม่เคยออกสนามไปหา ไปทำอะไรเลย