บั้งไฟ

โดย Logos เมื่อ 5 August 2009 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 5000

แน่ล่ะครับ บั้งไฟเป็นส่วนประกอบสำคัญของบุญบั้งไฟ ประเพณีอีสาน

บั้งไฟแบ่งเป็นหลายระดับ ตามน้ำหนักของดินขับ

ก. บั้งไฟร้อย มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 3 ก.ก.

ข. บั้งไฟหมื่น มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 12 ก.ก.

ค. บั้งไฟแสน มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 120 ก.ก.

ง. บั้งไฟล้าน มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 500 ก.ก.

มีการแบ่งระดับ คงเป็นไปเพื่อการประกวดประขันพนันขันต่อ สงสัยว่าไม่ใช่เพื่อประเพณีหรอกครับ

เราก็รู้จักบั้งไฟแบบนี้มาตั้งนานแล้ว มันกลายพันธุ์มาจากลำไม้ไผ่ เป็นท่อพีวีซี ต่อไปควรจะเป็นอะไร? ดินขับเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่? ติดร่มได้หรือไม่? พอใจแค่นี้หรือครับ?

« « Prev : ภาษีกับการบริจาค

Next : ยามมืด » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 chakunglaoboy ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 August 2009 เวลา 9:45

    ส่วนราชการควรทำวิจัยไหมครับว่า แนวทางต่างๆ ที่พี่คอนฯ ว่ามานั้น ควรมีการพัฒนาไปในแนวทางไหน เป็นไปได้หรือไม่?
    หรือเป็นแต่เพียงการหากินกับภูมิปัญญาชาวบ้าน กอดไว้อย่างมั่นคง ไม่มีการพัฒนาในทางที่เป็นประโยชน์ มีแต่การโปรโมตใหญ่โต การแข่งขันที่นับวันจะยิ่งอันตราย เพราะดินปืน/ดินดำตั้ง 500 กิโล หากมันผิดพลาดระเบิดขึ้นมาในท่ามกลางฝูงชน อะไรจะเกิดขึ้น หากว่าใครเคยไปร่วม จะเห็นภาพ การพนันขันต่อ การเมามาย เป็นต้น
    นี่คือ สังคมไทย ที่อยู่ภายใต้ ข้าราชการบางกลุ่ม (ที่ชอบเบ่ง)ใหญ่โต นักการเมืองที่มุ่งผลประโยชน์ ทั้งส่วนท้องถิ่นและส่วนกลาง
    ชาวบ้านคือผู้รับผลกระทบเต็มๆ ครับ
    ผมได้ฟังเรื่องราวของคนจัดงานบั้งไฟ หาเงินนะครับ จัดสี่วัน ค่าต๋ง วันละ 5 หมื่น - 1 แสนบาทเลยก็มี แสดงว่าไม่ใช่ประเพณีแล้วครับ

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 August 2009 เวลา 11:57

    เท่าที่ดู บั้งไฟมีอันตรายอยู่ย่างน้อยสี่ส่วนครับ คือ (1) การเตรียมดินขับเนื่องจากใช้วัสดุไวไฟ (2) แรงดันในส่วนเผาไหม้สูงเกินกว่าตัวบั้งไฟจะรับไหวทำให้ระเบิด (3) จุดแล้วไม่วิ่งขึ้นฟ้าแต่ล้มลงแล้ววิ่งมาหาคนดู และ (4) บั้งไฟตกใส่จากอากาศโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่

    บุญบั้งไฟเป็นประเพณี การทำบั้งไฟเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ยังมีอันตรายครับ

    ถ้าปรับปรุงได้ก็ควรปรับปรุง ส่วนที่ (1) ผมมีหนังสือ Rocket Propulsion Elements ของ John Wiley & Sons ดูกระบวนการของจรวดแล้ว คิดว่าปล่อยเอาไว้อย่างเดิมน่าจะเหมาะแล้ว; ส่วนที่ (2) จะต้องระวังตรงการปิดท้ายบั้งไฟ ปิดไม่ให้รั่ว รูที่เจาะไว้ให้ก๊าซออก เล็กไปอาจระเบิด ใหญ่ไปบั้งไฟก็ไม่ขึ้นเพราะแรงดันไม่พอ และน่าสังเกตว่าเป็นการออกแบบที่ไม่มี nozzle (กรวยท้ายจรวด/ท้ายเครื่องบินขับไล่ไอพ่น); ส่วนที่ (3) น่าจะดูที่รางปล่อย และเรื่องความปลอดภัยครับ; ส่วนที่ (4) ติดร่ม ติดกล้องเว็บแคมเก็บหนังใน thumb drive เพื่อให้ตามไปเก็บครับ

  • #3 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 August 2009 เวลา 18:10

    สมัยอยู่ยโสธรก็ตั้งคำถามกับคนพื้นถิ่นเหมือนกันค่ะว่ามันเป็นขีปนาวุธแบบไร้ทิศทางเลยนะสำหรับบั้งไฟล้าน ดินระเบิดเป็นร้อยกก.! หลังๆเริ่มเห็นคนบาดเจ็บล้มตายจากการจุดบั้งไฟ และบั้งไฟตกใส่บ้าน

    ในอดีตบ้านไม่ได้ติดๆกันแบบนี้ และไม่ได้อัดดินระเบิดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆแบบนี้ ท่อพีวีซีความเร็วขนาดนั้นโดนจังๆหลุดเป็นชิ้นๆได้เลย การจุดบั้งไฟเข้าใจว่าเป้นประเพณี แต่เมื่อมีข้อจำกัดเพิ่มมากขึ้นจะมีวิธีไหนทำให้ปลอดภัยและดูดีกว่านี้?

    ก่อนย้ายมาเชียงราย บั้งไฟก็ตกใส่รพ.เหมือนกันค่ะ แต่ดีที่ลงบนหลังคาตึก ปีนั้น รพ.ทำบุญใหญ่อีกครั้ง ^ ^

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 August 2009 เวลา 18:32
    ถ้าสัดส่วนถูกต้องก็ไม่เป็นไรหรอกครับ บั้งไฟล้มเพราะจุดศูนย์กลางมวลอยู่สูงเกินไป จุดศูนย์กลางมวลไม่ควรอยู่ในส่วนใดของบ้อง PVC เลย เพื่อให้น้ำหนักหางถ่วงให้พุ่งขึ้นในแนวดิ่ง วิธีนี้ทำให้บั้งไฟไม่ต้องใช้ปีก และไม่ต้องให้หมุน แต่ก็มีข้อเสียคือหางถ่วงน้ำหนักจะต้องยาววววว

    การที่หางยาว ทำให้ขุดรูลงไปปล่อยไม่ได้ (จะลึกมากจนน้ำท่วม) ถ้าขุดรูปล่อยไม่ได้ เวลาบั้งไฟระเบิดหรือล้ม ก็อาจจะเป็นอันตรายแก่คนรอบๆ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.31092405319214 sec
Sidebar: 0.37596106529236 sec