การปฏิเสธคือภูมิคุ้มกัน
อ่าน: 11403ในสังคมไทย การปฏิเสธดูจะเป็นเรื่องในด้านลบ ส่วนในด้านวัฒนธรรม ก็ดูว่าจะขัดกับความเป็นผู้มีอัฌชาสัย แต่การปฏิเสธนั้นเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการตกลงตะบี้ตะบัน เห็นด้วยกับทุกข้อเสนอ เป็นเรื่องที่ฝืนธรรมชาติ
ปฏิสัมพันธ์ของคนเป็นเรื่องซับซ้อน [หากสนใจในทางทฤษฎีปรัชญา ขอเชิญที่บันทึก ประโยชน์นิยมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๑. ลัทธิคานต์กับการกระทำเหนือหน้าที่ ๑. จริยศาสตร์คุณธรรมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๑. หรืออ่านสรุปที่อ่านง่ายกว่าที่บันทึก บ่อน, เกณฑ์ตัดสินจริยธรรม และกฎหมาย]
ตัวอย่างเช่นบันทึก
ระวัง “มันฝรั่งบนเก้าอี้” (Couch Potato) เป็นการใช้ตัวตน (ไม่ว่าสร้างขึ้นหรือมีอยู่จริงก็ตาม) ล่อสาวให้ปลงใจ เพื่อหาคนรับใช้ ซึ่งหาได้ยากในสังคมของตน — เป็นไปตามแนวประโยชน์(ส่วนตน)นิยม
จากความตอนหนึ่งในบันทึก
ตกหลุม..รัก..
ความโรแมนติกที่สุดของช่วงนี้ก็คือการฝันถึงการแต่งงานหรือการได้ครองคู่
อยู่ด้วยกัน ..น่าเสียดายนะคะที่ประสบการณ์ของการตกหลุมรักนี้จะคงอยู่ไม่นาน ดร.โดโรธี เทนนัฟ ( นักจิตวิทยา ; Dorothy tennuff ) ได้ทำการวิจัยและพบว่าความคลุ้มคลั่งแบบกะติกสุดๆนี้จะคงอยู่อย่างมากที่สุดก็ประมาณ 2 ปีเท่านั้นแหละค่ะ..
หลังจากนั้น เมื่อกลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง ก็จะพบความแตกต่างที่เคยมองข้ามไปหมด ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าความรักไม่ดี แต่ชีวิตคู่นั้นอยู่กับความเป็นจริง ไม่ใช่ความหลงครับ [ปีหน้านี้ คุณพ่อคุณแม่ผมจะแต่งงานครบรอบห้าสิบปี ไชโย!]
เรื่องของบ่อน หรือจะเรียกอย่างหรูว่าคาสิโนก็แล้วแต่ ทั้งๆที่เห็นว่าบ่อนรวยขึ้นตลอดเวลา ซึ่งก็หมายความว่า ผู้เล่นเสียเงินไปเรื่อยๆ แต่คนก็เข้าบ่อน บทความ The Parameters of General Gambling บอกว่าเป็นลักษณะของมนุษย์(บางประเภท)ที่ชอบเสี่ยง
แต่ในบริบทของสังคมไทยนั้น ยังมีเรื่องความทุกข์ยากที่หาทางออกไม่ได้ จึงหวังลมๆแล้งๆ ว่าจะมีปาฏิหารย์เ้กิดขึ้นกับตนโดยที่ไม่ต้องทำอะไรมากนัก เป็นที่มาของการถูต้นไม้ขอเลข ไหว้สัตว์สองหัว จ่าย-รับอามิสสินจ้าง หรือแม้แต่นโยบายประชานิยมที่ผลักภาระไปไว้ในอนาคต
มีภาษิตไทยว่า “สิบเบี้ยใกล้มือ” หมายความว่า ของที่ควรได้เมื่อมาถึงตนก็รับเอาไว้ก่อน ฝรั่งมีภาษิตว่า Better an egg today than a hen tomorrow มีปัญหาอยู่นิดเดียวครับ ชีวิตคนไม่ใช่เบี้ย ไม่ใช่ไข่ หรือแม่ไก่
ในเมื่อชีวิตเราไม่มีป้ายบอกทางเหมือนกับถนนหนทาง แถมบางทีก็ไม่มีกติกากำกับด้วยซ้ำไป จะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะตัดสินใจอย่างไรจึงจะ “ถูกต้อง”
เรื่องนี้ ไม่มีคำตอบครอบจักรวาลเหมือนกับที่บรรดากูรูเขียนในหนังสือ How-to หรอกครับ แต่ว่า สติและการพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง จะช่วยให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้กระจ่างขึ้น
ทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไร
- ชีวิตเรา ต้องตัดสินใจครับ มองเรื่องราวจากมุมต่างๆ พิจารณาให้รอบคอบ
- ฟังคำแนะนำไว้ แต่อย่าเพิ่งเชื่อ นำมาพิจารณาไตร่ตรองให้ดี อย่ามองเฉพาะมุมบวกมุมเดียว [ที่ปรึกษา]
- คำว่า “ถูกต้อง” นั้น มีความหมายไม่เหมือนกันสำหรับแต่ละคน เพราะมนุษย์มีความคิด ความต้องการ ข้อจำกัดที่แตกต่างกัน แต่ละประสบการณ์ ก็จะมีบริบทของประสบการณ์ที่แตกต่างกัน นำมาใช้ตรงๆ ไม่ได้
- คำว่า “ไม่น่าเลย” ไม่มีประโยชน์ครับ แต่ถ้าเกิดสถานการณ์อย่างนั้นขึ้น ต้องเรียนรู้ถึงสาเหตุให้ได้ และไม่ผิดซ้ำสอง
- คำว่า “เห็นไหม บอกแล้วไม่เชื่อ” ก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน
- การปฏิเสธ แปลว่า(ยัง)ไม่ตกลง และการปฏิเสธ ไม่ได้เปลี่ยนมิตรเป็นศัตรู
- ประสบการณ์ของผมบอกว่าอะไรที่ดูดีจนเกินเหตุ มีอาการรวบรัด ร้อนรน ต้องรีบตัดสินใจ มักจะไม่ดีจริงครับ ถ้าดีจริง ทำไมถึงเหลือมาถึงเราคนธรรมดา กรณีอย่างนี้ น่าจะระแวงไว้ก่อน และต้องรอบคอบให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าโอกาสนั้นผ่านใครต่อใครมามากมายแล้วแต่ไม่มีใครฉวยไว้
การตัดสินใจปฏิเสธนั้น เกี่ยวเนื่องกับความเสียดายซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์เช่นกัน ถึงแม้การปฏิเสธวันนี้ อาจจะทำให้เราพลาดสิ่งที่คิดว่าจะ “ได้” ในอนาคต จริงๆ แล้ว เรายังไม่ได้เสียอะไรเลยยกเว้นเสียดาย เมื่อโอกาสผ่านเข้ามาครั้งหนึ่งได้ ก็อาจจะมีโอกาสอื่นผ่านเข้ามาอีกได้เช่นกัน (ถ้าหากไม่รีบตาย) เพียงแต่ว่าเมื่อโอกาสผ่านมา เราเข้าใจโอกาสนั้นอย่างถ่องแท้แค่ไหน
ไม่ว่าจะตอบรับ ปฏิเสธ หรือไม่ตัดสินใจ ก็เป็นการตัดสินใจแบบหนึ่ง สำหรับเรื่องใหญ่ในชีวิต ต้องรอบคอบ ดูหลายๆ มุมครับ
นี่เขียนมาจนถึงตรงนี้ ยังไม่มีคำว่าภูมิคุ้มกันเลยนะเนี่ย แตะซะหน่อยก็แล้วกัน ภูมิคุ้มกันต้องสร้างเอาเองซิครับ จะไปหวังให้ใครมาปกป้องชีวิตเราอยู่ตลอดเวลาได้
Next : 813 และ 814 ที่สุวิมลและบุตรแมนชั่น » »
7 ความคิดเห็น
สวัสดีคะท่านพี่คอนฯ
ตามอ่านเรื่องนี้2-3รอบ อิอิ ได้เก็บเกี่ยวอะไรไปเยอะพอสมควร เช่นตอนนี้จะมองอะไร ก็เริ่มหารสองจากที่ดีที่สุด จะได้มาอยู่กลางๆ ของความเป็นจริง
สังคมบ้านเราขาดการวางแผนระยะยาว ทำอะไรเฉพาะหน้าซะส่วนใหญ่ หรือไม่ก็ต้องเกิดเหตุการณ์วัวหายแล้วจึงล้อมคอกก็บ่อยคะ ก็คงค่อย ๆ ปรับ กันไป อิอิ. (พกยาทัมใจไว้เยอะๆๆๆ)
ชอบใจค่ะที่บอกว่า “ชีวิตเราไม่มีป้ายบอกทางเหมือนกับถนนหนทาง แถมบางทีก็ไม่มีกติกากำกับด้วยซ้ำไป” แต่คนเราก็มีจุดที่คิดนำทางได้แบบ…(จุด จุด จุด) ทำให้ไปนึกถึงเรื่อง กระจกเงาของพ่อแม่ ของ ว.วชิรเมธี ขอคัดลอกมาบางส่วนนะคะ
บุตรธิดา คือ กระจกเงาของพ่อแม่
หากคุณเอาดอกไม้ใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนจิตใจงดงาม
หากคุณเอาความรักใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนเปี่ยมเมตตา
หากคุณเอาเหตุผลใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์
หากคุณเอาหนังสือใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นปัญญาชน
หากคุณเอาธรรมะใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนดี
หากคุณเอานิสัยแห่งการให้ใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนมีจิตสำนึกสาธารณะ
หากคุณเอาสมบัติผู้ดีใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นสุภาพบุรุษ/สุภาพสตรี
หากคุณเอาดนตรีใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนอารมณ์ดี
หากคุณเอาธรรมชาติใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนรักความสงบ
หากคุณเอาความก้าวร้าวใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นอันธพาล
ฯลฯ
http://variety.teenee.com/foodforbrain/9286.html (ทำลิ้งก์ยังไม่เป็น อิอิ.
ทุกอย่างก็อยู่ที่มุมมอง หรือมองได้หลายมุม เอ๊ะ หรือจะมองต่างมุมก็ได้ (อิอิ พูดไปก็งง เอง )กระจกหกด้าน เรายืนอยู่ตรงกลาง อยู่ที่เราจะมองบานไหนก่อนคะ
การปฏิเสธบางครั้งอาจเสียดายนะคะ แต่ไม่เสียใจ เพราะทุกครั้งที่ปฏิเสธต้องคิดให้ดีรอบคอบ
ขอบคุณนะคะ แล้วจะเข้ามาเสริมใหม่คะ และขอบคุณสำหรับความหมายของอัฌชาสัย
นึกว่าจะไม่มีใครมาให้ความเห็นในบันทึกหนักๆ แบบนี้ซะแล้ว
ประเด็นสำคัญคือ อย่าเพิ่งรีบเชื่อหรือไม่เชื่อ (หรือแม้แต่หารสอง-ผมรู้ครับว่าเป็นแค่สำนวนเท่านั้น) เมื่อได้ยิน/ได้ฟัง/ได้อ่านอะไรมาครับ ให้พิจารณาไตร่ตรองก่อน ให้ดูว่ามีประโยชน์ มีโทษ หรือเป็นเรื่องไร้สาระที่ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมา เช่นเรื่องซุบซิบนินทา
[กาลามสูตร]
อิอิ แป่วว คริๆๆๆ
ราณีบ่ใช่ผู้กล้า ท่านให้เกียรติ กันเกินไปแล้ว ขอคำนับ 1 จอก
เพียงแต่อ่านแล้วชอบ และำทำความเข้าใจตามนั้นคะ แต่ก็มีบางอย่างยังสงสัย โปรดชี้แนะด้วยนะคะ
ขอบคุณสำหรับกาลามสูตร เข้าไปอ่านแล้ัวคะ ข้าน้อยขอคารวะ (เอ๋สงสัยจะติดหนังจีนเรื่อง ที่มี งักปุ๊กคุงแน่เลยอิอิ) ขอบคุณอีกครั้งสำหรับมุมมองดี ๆ ที่เริ่มแว้บเข้ามาคะ อิอิ จะพยายาม ทำให้ได้คะ เดี๋ยวจะตามเข้ามาใหม่คะ มีอะไรโปรดชี้แนะด้วยนะคะ ยังด้อยประสบการณ์ และมุมมอง คะ
ปล.เพิ่งรู้ว่าลิ้งที่นำมาใส่ (ลิ้งค์ให้เลย อิอิ ปล่อยไก่ตัวเบ้อเริ่ม)
แหมคิดมากคะ น้ำชาแต่ ถ้าไม่กิน เปลี่ยนเป็นน้ำผลไม้ก็ได้คะ เพราะราณีก็ไม่ดื่มของมึนเมาเช่นกัน ไม่เคย และไม่อยากลองด้วย อิอิ
ส่วนตัว ไม่ค่อยปฎิเสธอะไรใครเร็วๆ กลัวเขาเสียใจ ชอบรีบรับปาก ตกลง ไปโดยปราศจากความยั้งคิดด้วยซ้ำบ่อยๆ
จนคุณพ่อต้องเบรคบ่อยๆ ว่า Slow to promise but keep it.
ต่อมา มีความคิดมากขึ้น เลย เปลี่ยนเป็น พูดว่า ขอคิดดูก่อน ….
คิดว่า เรื่องการชอบปฎิเสธหรือตอบรับ เป็นธรรมชาติ ของมนุษย์ส่วนหนึ่งแน่นอน
พนักงานบางคน กลัวความรับผิดชอบ
ก็มักจะปฎิเสธไว้ก่อน โดยที่ยังไม่รู้เรื่องรายละเอียด อะไรเลย ก็มี
หมายเหตุ ชื่อนี้ อ่านว่า จินดี้ jindee นะคะ
ขอบคุณมากครับ