มีดี…ก็งัดออกมาเลย

อ่าน: 2788

เมื่อวานเข้ากรุงเทพไปทำเรื่องบัญชีการรับบริจาคซึ่งติดขัดอยู่ แก้ไขจนเรียบร้อยแล้วครับ หมดเวลาไปทั้งวันทั้งคืนจนไม่ได้เขียนบันทึก

บ้านอยู่ปากเกร็ดฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางตะวันตกห่างเพียง 1 กม. ทางตะวันออกเป็นคลองประปา ทางเหนือเป็นแนวคันดินพระราชดำริ (ถนนประชาชื่นปากเกร็ดหรือศรีสมาน) น้ำยังไม่ท่วม ก็ต้องยกความดีให้กับเทศบาลนครปากเกร็ดและชาวบ้านปากเกร็ดที่ป้องกันเขื่อนอย่างเข้มแข็ง

เมื่อน้ำทะลักแนวป้องกันเข้ามา เป็นเรื่องใหญ่ เพราะว่าพื้นที่ไม่ได้ราบเรียบ น้ำที่ขังอยู่ในที่ต่ำจะไม่ระเหยไปเอง แต่จะต้องสูบออก สถานการณ์นี้ เจอกันมาทุกจังหวัดตามแนวการไหลของน้ำ การยกน้ำปริมาณ 1 ลิตร (ซึ่งหนัก 1 กก.) ขึ้นสูง 1 เมตร ใช้กำลัง 1 วัตต์ บกน้ำหนึ่งคิวขึ้นสูงหนึ่งเมตร ใช้กำลัง 1 กิโลวัตต์ แต่น้ำที่ทะลักเข้ากรุงร้อยล้านคิว ที่ต้องสูบออก ใช้พลังงานอีกมหาศาลครับ

บ้านเรือนริมคลองที่น้ำยังไม่ท่วม พยายามกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำให้หมด ผักตบชวา และกอหญ้าริมตลิ่ง เอาออกนะครับ จะช่วยให้น้ำผ่านไปเร็วที่สุด

น้ำเน่ามีออกซิเจนที่ละลายในน้ำต่ำ เอาจุลินทรีย์ไปบำบัด ก็เกิดประสาทเสียว่าจุลินทรีย์จะไปใช้ออกซิเจนในน้ำ ทำให้น้ำยิ่งเน่าเสีย…เอาเข้าไป ทำไมถึงเอาตัวเองไปเปรียบกับจุลินทรีย์ซะงั้น เพราะเราใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์จึงต้องใช้ออกซิเจนเหมือนกันหรือครับ? จุลินทรีย์มีทั้งแบบแอโรบิคและแอนแอโรบิค ถ้าไม่รู้จักคัดเลือกมาทำงาน ก็สมควรแล้วที่ได้ข้อสรุปแบบนั้น เหมือนพวกขายปุ๋ยบอกว่าธาตุอาหารหลักของพืชคือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียม (ก็จริง) ปุ๋ยจึงต้องเป็นสูตร N-P-K เท่านั้น (เหยื่อคนขายปุ๋ยเจ๊งไปไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดกี่ล้านรายแล้ว) ที่จริงพืชใช้ธาตุอาหารมากกว่านั้น และอยู่รอดวิวัฒนาการมาหลายร้อยล้านปีโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี

น้ำเน่าในที่สุดจะลงอ่าวไทย ไปเป็นวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่ต่อไป ส่วนบนบกก็ทิ้งไว้แต่โรคในชุมชนขนาดใหญ่ ไม่บำบัดน้ำตอนนี้ จะตามไปบำบัดในอ่าวไทยหรือครับ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นข้อเสนอใดๆ ที่จะแก้ไขน้ำเน่าเสียนะครับ ถ้าเสนอให้ปล่อยน้ำท่วมกรุงเทพให้น้ำเน่าน้อยมาไล่น้ำเน่ามากก็ยังพอเสนอได้ (แต่ผมไม่เอา) จะใช้เครื่องกลเติมอากาศ เพิ่มออกซิเจนในน้ำ ก็ใช้ซิครับ

ลำคลองมีความจุ (หน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร/วินาที) จำกัด ถ้าจะเร่งระบายน้ำ เครื่องสูบต้องสูบได้ปริมาตรที่เพียงพอ แล้วเราอาจจะเร่งความเร็วของน้ำไหลด้วยเครื่องมือกลได้ ทีไปทำในแม่น้ำเจ้าพระยายังทำได้ ทำไมจึงจะทำในลำคลองไม่ได้

« « Prev : เข้ากรุงเทพ

Next : นาวาฝ่าวิกฤต: Mobility in the time of flood » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 November 2011 เวลา 23:33

    ผมเองติดตามเรื่อง em ball มาเพราะสนใจ ภรรยาก็เอาความรู้นี้ไปขยายทุกครั้งที่ไปพบปะชาวบ้าน โดยใช้วิทยากรจากคณะเกษตรศาสตร์ผู้มีประสบการณ์ในเรื่องนี้ พี่แดง (เตือนใจ ดีเทศน์) ก็สนใจจะระดมชาวเชียงรายทำ em ball ช่วย กทม ผมเองเรียน Biology เป็นวิชาเอก ก็พอเข้าใจเรื่องเหล่านี้พอสมควร จุลินทรีย์นั้นมีเป็นพันเป็นหมื่น และถูกต้องที่เขาแบ่งเป็นสองชนิดคือชนิดที่ต้องการ O2 และชนิดที่ไม่ต้องการ O2 ที่บ้านขอนแก่นนั้นติดบึงใหญ่ที่เป็นแก้มลิงของจังหวัด ตอนนี้น้ำลงแล้วและเริ่มเน่าเหม็น ผมก็ใช้ em น้ำ ที่ทำไว้ใช้หลายถังมานาน เอาไปราดริมน้ำทุกสัปดาห์ กลิ่นมันไม่หมด แต่ลดลงจริงๆ เราไม่ได้ทำ em ball เพราะคิดว่า กรณีริมบ้านที่น้ำนิ่งมีแต่ลดลง เราใช้แบบน้ำนี้ราดไปเลย

    หากมีคนระแวงใจก็ถือโอกาสนี้ ทำการวิจัยไปเลย มหาวิทยาลัยใดที่สนใจก็ทำเลย ทำเดี๋ยวนี้เลย ทำความจริงให้กระจ่างไปเลยน่าจะเกิดผลดีนะครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.10127711296082 sec
Sidebar: 0.13102984428406 sec