โคลงโลกนิติ

โดย Logos เมื่อ 31 August 2008 เวลา 12:37 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 5188

โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นักปราชญ์ในครั้งนั้นได้สรรหา คำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือคัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัย ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยแต่คำประพันธ์ คำโคลงทุกคาถา รวมเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่บรรพบุรุษของไทยนับถือ นำไปเล่าเรียน สั่งสอน และประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่รู้จักกันดั ในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสถานะอาชีพต่อเนื่องกันมาช้านานจนปัจจุบัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์วันพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลาในวันพระเชคุพนฯ เป็นธรรมทาน จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่ามาชำระแก้ไขใหม่ ให้เรียบร้อยประณีตและไพราะ เพราะของเก่าที่คัดลอกต่อๆ กันมา ปรากฏว่ามีถ้อยคำที่วิปลาสคลาดเคลื่อนไปมาก…

โคลงโลกนิติฉบับศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ มี 436 บท

« « Prev : ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ

Next : นอกเหตุเหนือผล - อำนาจเป็นใหญ่ในโลก » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "โคลงโลกนิติ"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.59369206428528 sec
Sidebar: 0.73240399360657 sec