การออกแบบเพื่อฟื้นฟูเหตุภัยพิบัติ
บ่ายวานนี้ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เป็นเจ้าภาพจัดงาน OPEN FORUM: Design for Disasters Relief การออกแบบเพื่อฟื้นฟูเหตุภัยพิบัติ ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เข้าใจว่างานนี้ ค่อนข้างฉุกละหุกครับ session นี้ ตั้งใจให้เป็น Open Forum แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด จากมีอีเมลแจ้งครั้งแรกจนงานเริ่ม มีเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงเท่านั้นเอง แต่งานก็เรียบร้อยดี ขอบคุณ TCDC มากเลยครับ
เจอ @adamy จึงได้บอกไปว่าผมชอบ Ch.13 ของ fukduk.tv น่าเสียดายรายการที่ให้ความรู้อย่างนี้; ที่ @adamy พูด มีประเด็นน่าฟังหลายประเด็นครับ แต่มีเรื่องน่าฟังที่ไม่ได้พูดเหมือนกัน คือเมื่อสิบกว่าปีก่อนที่ท่านมุ้ยทำการสำรวจพื้นที่ทำโครงการแก้มลิงตามพระราชดำริ (ซึ่ง @adamy ช่วยอยู่ด้วย) โดยถ่ายภาพทุกร้อยเมตร เป็นคลังภาพขนาดใหญ่ซึ่งไม่ได้เปิดเผย แต่เรื่องนี้ผมรู้เพราะว่าเซอร์เวอร์ที่เก็บภาพอยู่กับผมเอง และยังขยายดิสก์ให้หลายครั้ง โครงการนี้มีส่วนสำคัญในการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพครับ
แก้มลิงนั้นเป็นพื้นที่รับน้ำเอาไว้ แต่ถ้าจะสำเร็จตามเป้า ก็ต้องมีระบบคลองที่ดีเพิ่อกระจายน้ำ และถ่ายหรือสูบลงทะเลในตอนที่น้ำลงด้วย
@iwhale พูดถึง UAV ที่บินถ่ายภาพทางอากาศ ซึ่งทหารท้วงว่าถ้าหากบินทำแผนที่เมื่อไหร่จะผิดกฏหมายทันที แต่ทหารก็ยังไม่เคยถ่ายภาพทางอากาศเลยเนื่องจากยังไม่เคยได้รับคำสั่ง เรื่องนี้ผมแนะเองครับ ไม่รู้เหมือนกันว่าผิดกฏหมายเพราะไม่เคยอ่านกฏหมายฉบับนี้ (ฉบับไหนก็ยังไม่รู้)
อันนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เราใช้แผนที่ความสูง (DEM) ไม่ได้ เนื่องจากไม่ละเอียดพอ และไม่ปรากฏสิ่งกีดขวางทางน้ำในแผนที่ความสูง (เพราะมันไม่ละเอียดพอ) การบินถ่ายภาพขอบเขตของน้ำท่วม จะสามารถทำ contour ของระดับน้ำได้อย่างรวดเร็ว นอกจากจะรู้ว่าพื้นที่ใดประสบความเสียหายแล้ว ยังรู้อีกว่าจะต้องสูบน้ำจากแอ่งไหน ไปทางไหน เป็นปริมาตรเท่าไหร่ หากปรับปรุงภาพถ่ายทางอากาศได้บ่อย ในที่สุดก็จะสามารถทำแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ ช่วยจัดการน้ำได้แม่นยำยิ่งขึ้น
ห้องที่จัดงานเป็นออดิทอเรียม มีวิทยากรอยู่บนเวที แล้วผู้ฟังนั่งอยู่ข้างล่าง ไม่ค่อยเหมาะกับการเป็น Open Forum หรอกครับ แต่ก็เข้าใจถึงความรีบด่วนของงานได้ดีครับ น้ำเริ่มลดแล้ว การบุรณะที่อยู่อาศัยจะเริ่มทำในช่วงนี้ แต่สมาคมสถาปนิกสยาม (อาษา) จะช่วยก็ลำบาก เนื่องจากสถาปนิกอาสาทำงานประจำกันเป็นส่วนใหญ่ ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็เช่นกัน ไม่ค่อยมีโอกาสได้ลงพื้นที่ จึงจัดงาน Open Forum เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลให้เข้าใจสถานการณ์ในพื้นที่จริง เผื่อว่าสามารถช่วยเหลืออะไรชาวบ้านได้บ้าง
หลังจากเลิกงาน ผมมีปัญหาคาใจว่าคุณปรีดา คงแป้น (มูลนิธิชุมชนไท) กับผม ใครแก่กว่ากัน ปรากฏว่าผมแก่กว่า ฮาาา
« « Prev : ความแตกต่างบนเป้าหมายเดียวกัน
2 ความคิดเห็น
มาจบลงตรงที่ใครแก่กว่ากัน ชิมิ ชิมิ
นอกจากทำแก้มลิงแล้ว น่าจะทำท่ออุโมงค์น้ำไหลใต้ดิน ไปโผล่ลงทะเล
ถามว่าเอาเงินที่ไหนทำ ก็เอาเงินที่จะไปแก้น้ำท่วมแต่ละปี งบทำกำแพงกั้นน้ำ งบกรอกถุงทราย
หรืองบที่ละลายไปตามน้ำแต่ละปี เจียดมาทำปีละ 2-3 หมื่นล้านไปเรื่อยๆ น้ำก็จะไหลเร็ว น่าแล้งยังเอาท่อใต้ดิน
มาทำถนนให้รถวิ่งได้ด้วย
แก้มลิงเหมาะกับวิกฤติไม่รุนแรงมาก ถ้ามีท่อช่วยระบายน้ำ ให้แก้มยุบ แก้มจะพองรับน้ำได้อีกเรื่อยๆ
บริหารแก้มให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น อิ