เขื่อนส่วนตัว

อ่าน: 4847

เขื่อนส่วนตัว ฟังดูมโหฬาร แต่ที่จริงแล้ว เป็นเรื่องที่แต่ละคนจัดการเองได้ครับ

ทุกพื้นที่ของเมืองไทย มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1000 มม. หรือ 1 เมตร (ซึ่งถ้าปริมาณฝนต่ำกว่า 250 มม./ปี ก็จะเรียกว่าทะเลทราย) –  ปริมาณน้ำฝนหมายถึงการวัดที่เอาภาชนะรูปทรงกระบอกทิ้งไว้ในที่โล่ง เมื่อฝนตกลงมาแต่ละครั้ง ก็วันความสูงของน้ำที่อยู่ในภาชนะทรงกระบอก เอาตัวเลขทั้งปีมาบวกกัน

ทีนี้ ถ้ามีที่ดินทำนา 5 ไร่ ก็เท่ากับ 8,000 ตารางเมตร ฝนตกมาปีละ 1 เมตร ก็ได้ปริมาณน้ำฝน 8,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ 8,000 คิว ซึ่งนั่นเหลือเฟือสำหรับการเกษตรในพื้นที่ 5 ไร่ทั้งปี โดยไม่ต้องพึ่งน้ำจากระบบชลประทานเลย — แต่ปัญหาใหญ่ก็คือฝนตกลงมา เราก็บ่นๆๆๆๆ แล้วก็ปล่อยน้ำทิ้งไปเฉยๆ ไม่ทำอะไร — นั่นล่ะครับ จุดเริ่มต้นของปัญหา คือการไม่มีการจัดการน้ำ

วิธีการที่ง่ายที่สุด คือขุดสระ ปรับระดับเพื่อนำน้ำไปลงสระเก็บไว้ใช้เมื่อต้องการจะใช้ แต่วิธีการนี้มีปัญหาอย่างหนึ่ง คือเมืองไทยแดดจัด อากาศร้อน ทำให้น้ำในสระเปิดระเหยออกไปเร็ว ต่อให้สระน้ำเก็บน้ำได้ ระดับน้ำก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามอัตราการระเหย ซึ่งถ้าฝนตกสม่ำเสมอก็ไม่มีปัญหาเพราะว่ามีน้ำเติม แต่ว่าฝนไม่ได้ตกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าไม่ใช่ฤดูกาลหรือถ้าแล้งจัด ฝนก็ไม่ตก

ถ้าขุดสระในที่ร่ม จะช่วยได้ระดับหนึ่ง น้ำก็ยังระเหยได้จากลม (ไม่นับการที่จะหาที่ร่มขนาดใหญ่นั้น หาไม่ได้หรอกครับ เมืองไทยไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่แล้ว + ต้นไม้ใกล้น้ำ รากเน่าหมด) สระใต้ดินอาจจะเหมาะกว่า

สระใต้ดินของต่างประเทศ

ฝรั่งค่าแรงแพง ดังนั้นเค้าก็พยายามจะทำอะไรที่สำเร็จรูป เพ่ือที่ลดเวลาการติดตั้ง สมัยนี้ใช้แท้งก์น้ำพลาสติกฝังลงไปในดิน เพราะว่าจะสร้างแบบอารยธรรมเก่าๆนั้น ไม่ได้เพราะว่าไม่มีแรงงานทาสอีกแล้ว; เอาเม้าส์วางบนภาพ จะเห็นคำบรรยาย

สมัยใหม่นี้ มีเครื่องมือกลทำการขุด เพื่อลดเวลาการประกอบ พวกฝรั่งก็มักจะทำสระใต้ดินโดย pre-fabricate โครงสร้างกลวงที่รับน้ำหนักดินด้านบนได้ เพราะว่าขุดแล้วเขาก็กลบทับสระน้ำไว้ใต้ดิน ส่วนใหญ่จะใช้พลาสติก ซึ่งไม่ค่อยมีปัญหาพลาสติกเสื่อมสภาพ เพราะฝังอยู่ใต้ดิน ทำให้ไม่ได้รับรังสี ultra violet ซึ่งทำให้พลาสติกแตกหักเสียหาย

แบบแรกเป็น แผ่น+เสา

สระแบบข้างบน วางลงในหลุมซึ่งขุดให้ได้ระดับ แล้วปูพลาสติกไม่ให้น้ำซึมออก พลาสติกที่ปูกันน้ำเสื่อมสภาพได้ยากกว่าพลาสติกที่ใช้ปูสระเปิดแบบที่ใช้ในบ้านเรา ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้ว คือเพราะว่าอยู่ใต้ดิน จึงไม่โดยรังสี ultra violet ซึ่งมากับแสงอาทิตย์

แบบที่สอง เป็นแผง นำสี่แผงมาประกอบกันเป็นบล็อกกลวง แล้วนำบล็อกมาต่อกันเป็นท่อสี่เหลี่ยมกลวง ความยาวไม่จำกัด

เมื่อเรียงบล็อกเสร็จ ก็นำพลาสติกขอบบ่อที่เหลือ ปิดด้านบน แล้วเอาดินกลบ

ก็จะได้แก้มลิง (สระน้ำใต้ดิน) ส่วนตัว และด้านบน สามารถปลูกพืชล้มลุกซึ่งรากลงไม่ลึกนักได้ จึงไม่เสียเนื้อที่ปลูกพืช แต่ควรปรับระดับดินด้านบนให้ดี ให้นำน้ำฝนลงมาเติมในสระใต้ดิน

ถ้าเอาน้ำไปเก็บไว้ใต้ดิน ก็ต้องสูบขึ้นมาน่ะซิ ก็ใช่ครับ แต่การผันน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร ก็มักจะต้องสูบทั้งนั้นนั่นแหละครับ ถ้าหากว่าไม่ต้องสูบ หมายความว่าน้ำอยู่สูงกว่าพื้นที่ปลูกพืช ก็จะเป็นปัญหาอีกแบบหนึ่ีง คือทำอย่างไรน้ำจะไม่ท่วมแปลงปลูกพืชของเรา

ยิ่งไปกว่านั้น การสูบน้ำจากสระใต้ดิน ใช้พลังงานน้อยกว่าสูบน้ำบาดาลเพราะว่าสระใต้ดินอยู่ตื้นกว่ามาก

สำหรับเมืองไทย

ผมคิดว่าที่ฝรั่งทำข้างบนนี้ อาจจะแพงเกินกำลังเกษตรกร จึงเสนอให้ลองอย่างนี้ครับ

  1. ใช้อิฐบล็อค หรือดินที่อัดเอง มาเรียงในหลุม
  2. กำแพงไม่ก่อขึ้นตรงๆ แต่ก่อ/เรียงให้เฉียง (บานออก) เพื่อลดแรงกดจากด้านข้างในขณะที่มีน้ำน้อย เอาดินใส่ด้านนอกของกำแพงอย่างให้มีช่องว่าง
  3. ปูพลาสติกด้านในจนถึงขอบกำแพงเฉียง
  4. เอาอิฐมาเรียงเป็นเสาให้ทั่วฐาน
  5. ปิดด้านบนด้วยแสลป (คอนกรีตสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ยาวมากๆ) ให้พาดไว้กับเสาที่เรียงไว้ ให้เสารับน้ำหนัก
  6. กลบ

« « Prev : ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ (2)

Next : ความเครียดที่ไม่ต้องจัดการ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 June 2010 เวลา 15:00

    น่าสนใจในประเด็นมาก ในอนาคตเรื่องน้ำเป็นเรื่องเป็น-ตาย
    แต่เนื้อหายังไม่ตกผลึก ยังสงสังสัยเรื่องคุ้มทุน
    การเกษตรใช้น้ำจำนวนมาก ขนาด/ปริมาณต้องใหญ่
    ถ้าเปรียบเทียบกันน้ำบเาดาล จุดดี-ด้อย ควรแยกดู
    มีใครทดลองดูในประเทศบ้างแล้วยัง

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 June 2010 เวลา 15:11
    ต้นทุกที่ถูกที่สุด จะเป็นการขุด+สร้างสระเก็บน้ำแบบลูกบาศก์นะครับ — กว้างxยาวxลึก เท่ากันหมด แต่ว่าจะต้องระวังเรื่องความแข็งแรงทั้งด้านบนและด้านข้าง — มีคนขอข้อมูลผมไปศึกษาแล้ว ส่วนจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หรือไม่ ก็ต้องรอดูครับ

    สำหรับสวนป่า บริเวณที่เหมาะก็คือบ่อดิน ที่อยู่เลยโรงอัดอิฐไปนั่นล่ะครับ มีระดับต่ำอยู่แล้ว แล้วต้นไม้รอบๆ ก็ครึ้มดี ทำเป็นบ่อเปิดแต่เอา “ถุงพลาสติก” หรือ “ถุงผ้าใบ” ขนาดยักษ์ไปใส่ ก็จะเก็บน้ำได้มากเท่าขนาดถุง แล้วทำร่องน้ำดักน้ำฝนให้ไหลไปรวมกัน — ใช้ “ถุง” มีปัญหาการเสื่อมสภาพน้อยเพราะว่าไม่โดน ultraviolet จากแสงแดด ให้ขอบบ่อรับน้ำหนักน้ำไป ไม่ต้องผูกเหล็กเทปูน สูบน้ำจากถุงที่ความลึก 2 เมตร จ่ายค่าไฟต่ำกว่าสูบน้ำบาดาลจากความลึก 12 เมตร อยู่หกเท่านะครับ

    แต่ถ้าจะเอาไปทำที่นาของครูบา การขุดบ่อเปิดจะเสียพื้นที่การเกษตร — ที่นา 1 ไร่ ปล่อยน้ำเข้าท่วมสูง 30 ซม. ใช้น้ำ 480 ลบ.ม.

  • #3 ลานซักล้าง » ปัญหาเรื่องน้ำ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 July 2010 เวลา 2:26

    [...] [เขื่อนส่วนตัว] คงไม่ติดแหงกอยู่กับประโยคที่ว่า [...]

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 July 2010 เวลา 7:24
    เพิ่มวิดีโอคลิปสองเรื่องท้ายบันทึก เป็นเรื่องการติดตั้งเขื่อนใต้ดินที่ใช้พลาสติกเป็นโครงรับน้ำหนักครับ

    ค้นไปค้นมา ไปเจอลวดตาข่าย แบบถูกที่สุดเป็นแบบนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 40 ตารางเมตร ราคา 650 บาท ใช้ท่อน้ำทำเป็นโครง (บางส่วนใช้เหล็ก บางส่วน*อาจ*ใช้พลาสติกได้) ก็จะทำกล่องขนาด 4 x 3 x 1 เมตรได้ โดยเก็บน้ำได้ 12 คิว


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.71371817588806 sec
Sidebar: 0.4876229763031 sec