ปรากฏการณ์ Tipping Point — เมื่อถึงจุดเปลี่ยน

โดย Logos เมื่อ 21 October 2008 เวลา 16:04 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 8420

บันทึกนี้ งอกออกมาจากบันทึกลานเสวนาประชาธิปไตยสไตล์เฮฮาศาสตร์ครับ แยกบันทึกเพราะไม่เกี่ยวกับบันทึกหลักโดยตรง

คำว่า Tipping Point มีความหมายที่ซ่อนอยู่หลายนัย แถมดูจากรากศัพท์ก็จะงง คำว่า tip ที่เป็นคำนาม แปลว่า ยอด หรือ เงินทิป

ในความหมายกว้างทางสังคมวิทยานั้น Tipping Point หมายถึง “เวลา” ที่เหตุการณ์อันหนึ่งซึ่งเคยเป็นเรื่องพิเศษ กลายเป็นเรื่องธรรมดา เช่นความละอายเปลี่ยนเป็นความไม่อาย ความท้าทายกลายเป็นความจำเจ ฯลฯ ซึ่งในปี 2543 Malcolm Gladwell เขียนอธิบายความไว้ว่าแม้ปัจเจกบุคคลจะไม่สามารถควบคุมสังคมได้ แต่การกระทำบางอย่าง สามารถสร้างความแตกต่างได้ ในหนังสือยอดนิยมชื่อ The Tipping Point: How Little Things Can Make a Big Difference

ความหมายในแนวกว้างนั้น ทำให้ Thomas Schelling ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2548

ในความหมายของสภาวะอากาศ หมายถึงจุดที่การเปลี่ยนแปลง(อุณหภูมิ)ไปจนถึงจุดที่ไม่สามารถจะย้อนกลับได้อีก ซึ่งตอนนี้ก็ใกล้ความพินาศมากแล้ว

ทฤษฎี Tipping Point ยังแตกย่อยออกไปอีกหลายแขนงเช่น

  • ทฤษฎีพินาศ​ (Catastrophe theory) เป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งไม่น่ากลัวเหมือนชื่อ
  • มวลวิกฤติ (Critical mass) ปริมาณที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดผลที่ต้องการ เช่นปริมาณยูเรเนียม/พลูโตเนียมที่ใช้ในการผลิตระเบิดปรมาณู หรือจ่ายเงินเท่าไหร่จึงได้ควบคุมอย่างแน่นอน
  • ผลต่อเนื่อง (Domino effect) เมื่อเกิดอะไรขึ้นสักอย่าง ก็อาจมีผลกระทบต่อผู้ที่อยู่รอบข้าง ล้มตามๆ กันไป
  • Emergence ผลรวมเมื่อสิ่งเล็กๆ มารวมกัน เช่นจอมปลวก รังนก ซึ่งเกิดมาจากชิ้นส่วนเล็กๆ มาประกอบกัน ดูส่วนเล็กๆ จะไม่เข้าใจเลยว่าเมื่อประกอบกันออกมาแล้ว จะออกมาเป็นอย่างไร คล้ายตาบอดคลำช้าง
  • ปรากฏการณ์ลิงตัวที่หนึ่งร้อย (Hundredth Monkey Effect) หมายถึงพฤติกรรมบางอย่างเกิดขึ้น และแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อไปถึงปลายทางอาจกลายเป็นคนละเรื่องไปก็ได้ เช่น “กระแส” แฟชั่น ข่าวลือ ความลับที่บอกต่อๆ กันไปว่าห้ามบอกใคร (รวมทั้งสิ่งห่วยๆ ที่สังคมไทยชอบทำอีกหลายอย่าง ที่รับมาโดยไม่ได้พิจารณา ดัดแปลงโดยไม่เข้าใจแก่น ไม่มีราก)

« « Prev : พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร

Next : ลืมตัว » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 October 2008 เวลา 1:03

    น่าสนใจมากครับ คอน  อยากได้ศึกษาต่อ  ปรากฏการณ์ทางสังคมไทยก็เกิดการเปลี่ยนแปลงตามทฤษฎีเหล่านี้มามากเหมือนกัน  ในงานพัฒนาชุมชนพี่ก็เคยเขียนไว้บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วเอาทฤษฎีนี้ไปอธิบาย  แต่ยังไม่เคยได้ยินว่ามีการสร้างกิจกรรมใดๆขึ้น เพื่อตั้งวัตถุประสงค์ให้เกิดผลทางทฤษฎีนั้นๆ

    น่าสนใจ จริงๆครับ

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 October 2008 เวลา 16:09

    เรื่องนี้มีบทเรียนครับ เพราะสิ่งเล็กๆ ไม่ใช่ว่าจะไร้ความหมายเสมอไป ในบางกรณี อาจก่อให้เกิดสิ่งใหญ่ได้เหมือนกัน

    ดังนั้นข้ออ้างที่ว่าเป็นคนตัวเล็กแล้วจึงไม่อยากเสนออะไร ไม่อยากทำอะไร ทำไปก็ไร้ค่า จึงฟังไม่ขึ้น

    ประเด็นสำคัญ อยู่ที่ทำหรือไม่ทำ แล้วทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ต่างหากครับ — มันไม่ใช่เรื่องของเหตุผล เพราะเหตุผลขึ้นกับมุมมอง ขนาดคนโกงบ้านโกงเมือง ก็ยังหาเหตุผลให้กับตัวเองได้ แล้วยังโกงเลยครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.31838297843933 sec
Sidebar: 0.090919017791748 sec