ควรกลัว Storm Surge หรือไม่

โดย Logos เมื่อ 15 August 2008 เวลา 12:55 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 8257

ไม่บอกหรอกครับว่าควรกลัวหรือไม่ แค่ตอบว่าควรหรือไม่ควร ไม่ใช่เรื่องประเทืองปัญญา…

Storm Surge คืออะไร

กล่าวอย่างง่ายๆ Storm Surge เป็นผลของการที่พายุ(หมุน)บริเวณชายฝั่ง เปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ทำให้เกิดคลื่นสูงซัดเข้าชายฝั่ง

เมื่อพายุหมุน ตาพายุจะมีความกดอากาศน้อยกว่าเขตพายุรอบๆ จึงทำให้ระดับน้ำ สูงกว่าปกติเล็กน้อย แต่พายุที่หมุนอยู่รอบๆ กลับกวาดผิวน้ำให้มารวมกันเป็นคลื่นที่สูงกว่าปกติได้มาก

คลื่นที่มากับพายุเหล่านี้ จะสร้างความเสียหายให้กับชายฝั่งที่มีความลาดเอียงต่ำ ได้มากกว่าชายหาดที่ชัน เพราะว่าน้ำสามารถเข้าไปในแผ่นดินได้มากกว่า

แม้น้ำอาจจะเข้าไปในฝั่งได้ไม่ไกลเท่ากับสึนามิ แต่ก็สร้างความเสียหายได้เช่นกัน

Coastline with a gentle slope
Coastline with a steep slope

เข้าใจภูมิศาสตร์เมืองไทย

  1. อ่าวไทยตื้น
  2. ตามสถิติ ช่วงเดือนสิงหาคม/กันยายน ความกดอากาศสูงจากจีน (อากาศหนาว) ทวีกำลังแรงขึ้น และดันร่องมรสุมลงมาทางใต้ มาจนถึงอ่าวไทยตอนบน หากพายุเข้ามาในช่วงนั้น ก็อาจวิ่งผ่านชายฝั่งของอ่าวไทย ซึ่งอาจทำให้เกิด Storm Surge ขึ้นตามชายฝั่งอ่าวไทยได้
  3. เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเสี่ยง ไม่ใช่การพยากรณ์ — การเข้าใจความเสี่ยง สามารถช่วยให้เตรียมพร้อมล่วงหน้าได้
  4. มีคนเตือน ดีกว่าไม่มีคนเตือน การเตือนไม่ได้เป็นการทำนายว่าจะเกิด เพียงแต่ถ้าเตรียมการล่วงหน้า ก็อาจจะลดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินได้

ความพิเศษของ NARGIS-08 และ Storm Surge

พายุ NARGIS-08 ที่ถล่มเมียนมาร์ มีลักษณะพิเศษอยู่หลายอย่าง

  • ความเร็วลม สูงถึง 200 กม./ชม. จึงกวาดน้ำที่ผิวทะเลได้มาก และยังหอบน้ำจากทะเลขึ้นไปในอากาศ ไปทิ้งบนแผ่นดินได้มาก
  • เมื่อพายุอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย เดินทางได้เร็ว แต่เมื่อขึ้นฝั่ง กลับเกือบจะหยุดนิ่ง ดังนั้นทั้งพายุฝน และ Storm Surge จึงกระหน่ำพื้นที่เดียวกันอยู่เป็นเวลานานมาก
  • พายุขึ้นฝั่งในเกือบแนวขนานกับชายฝั่ง และตาพายุอยู่ไม่ห่างจากฝั่งตลอดแนวการเดินทาง จึงนำน้ำจากมหาสมุทรมาเติมพลังของพายุได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ฝนตกถึง 600 มม.

« « Prev : ข้าราชการ

Next : เกียรติยศและความสำเร็จ ไม่ได้มาพร้อมกับปริญญา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 sasinand ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 August 2008 เวลา 18:18

    ที่ภาคใต้ เรื่องพายุแบบนี้ ก็เคยมี พวกชาวเรือเขาก็ไม่ออกเรือกันในช่วงนี้  ใช่ไหมคะ
    ภาคใต้ มีลักษณะอากาศ  ที่ เกินคาดอยู่เรื่อย เคยไปสงขลาบ่อยๆ นานมาแล้ว แดดจ้าๆอยู่ดีๆ บทฝนจะตก ก็ตกมาเฉยเลยค่ะ 

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 August 2008 เวลา 0:16
    ช่วงนี้ มีอีเมลแบบหว่าน และอีเมลส่งต่อ อ้างเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภัยพิบัติแห่งชาติที่เป็นลูกศิษย์ของพระเกจิอาจารย์ ซึ่งอ้างต่ออีกทีว่าพระเกจิอาจารย์บอกว่านั่งสมาธิเห็นภาพภัยพิบัติขนาดใหญ่ มีคนตายเป็นจำนวนมาก

    อีเมลออกไปในทางอิทธิฤทธิ์ อภินิหาร อาจก่อให้เกิดความตื่นตกใจได้นะครับ

    ข้อมูลเท่าที่มี สามารถตรวจสอบได้จาก

  • #3 sasinand ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 August 2008 เวลา 21:17

    ตอนนี้ มีข่าวว่า ทางสมุทรปราการ บางนา อาจได้รับผลกระทบ ตามข่าวหน่อยดีกว่า..เพื่อไม่ประมาทค่ะ

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 August 2008 เวลา 21:55

    ถ้ารอเรื่องที่เป็นข่าว ก็จะช้าเกินการณ์ไปแล้วครับ เรื่องอย่างนี้สำคัญที่ความเข้าใจในสาเหตุ ความเข้าใจในความเสี่ยงของตน และความเข้าใจในทางเลือกครับ

    เวลาพายุเกิด เราเห็นตั้งแต่ก่อนมาถึงฟิลิปปินส์เสียอีก มีเวลาอย่างน้อยครึ่งสัปดาห์ แถมยังมีการทำนายเส้นทางพายุได้ จึงเตรียมตัวล่วงหน้าได้ถ้าไม่ประมาท

    พายุ(หมุน)ในซีกโลกเหนือ หมุนทวนเข็มนาฬิกา ถ้าตาพายุอยู่ที่ปากน้ำ บางนากับบางปะกง มีโอกาสเจอ Storm Surge มากกว่ามหาชัยกับดอนหอยหลอด

    แต่ปัญหาคือว่าจะมีพายุเข้ามาเมืองไทยตรงๆ ผ่านอ่าวไทยหรือไม่นะครับ

    ส่วนถ้านั่งสมาธิแล้วทำนายได้แม่นจริงๆ ทายหวยแล้วประกาศเลยดีกว่าครับ ให้เจ้ามือเจ๊งไปให้หมดเลยไม่ว่าใครทั้งนั้น

  • #5 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 October 2008 เวลา 8:51

    ย้อนหลังมาหาความรู้ครับ

  • #6 ลานซักล้าง » ไม่เตือนหรือไม่ร่วมมือกัน?! ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 November 2010 เวลา 15:02

    [...] Storm Surge ซึ่งเป็นที่ฮือฮากันอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ลืมกันไป [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.21927404403687 sec
Sidebar: 0.14079999923706 sec