เบนน้ำได้ ง่ายนิดเดียว

โดย Logos เมื่อ 8 November 2011 เวลา 0:47 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4970

บ้านผมอยู่ อ.ปากเกร็ด ตอนนี้น้ำยังไม่ท่วม แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่

ก็บ้านเรานี่ครับ ต้องสนใจหน่อย ความเสี่ยงอันใหญ่คือคลอดรังสิตประยูรศักดิ์​ (คลองรังสิตนั่นแหละครับ) ซึ่งมีประตูน้ำจุฬาลงกรณ์กั้นอยู่ ประตูน้ำนี้ สูบน้ำปริมาณมากมายที่ลงมาจาก อ.บางหลวงไปลงคลองรังสิต ก่อนจะไหลบ่าเข้ากรุงเทพตอนเหนือ ระดับน้ำในคลองรังสิตต่ำกว่าระดับน้ำส่วนที่ไหลออกแม่น้ำเจ้าพระยา จึงต้องสูบน้ำออกเพื่อลดภาระแก่แนวป้องกันกรุงเทพตอนเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปทุมธานี มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 200 เมตร สม่ำเสมอไปจนใกล้ปากน้ำ เรียกว่ามีขนาดกว้างกว่าคลองต่างๆ ที่ใช้ระบายน้ำมาก

จุดบรรจบของคลองรังสิตประยูรศักดิ์กับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นดังรูปข้างล่าง คลองรังสิตมาจากทางขวา และแม่น้ำก็ไหลจากมุมบนซ้ายลงมาข้างล่าง

อิทธิพลของน้ำทะเลหนุน ทำให้ระดับน้ำในคลองรังสิตหลังประตูน้ำยังสูงอยู่ แต่นั่นเป็นเหตุเดียวหรือเปล่า???

คิดไปคิดมา ผมคิดว่าอาจจะไม่ใช่ เพราะเมื่อของไหลจากคนละแนวมาเจอกัน ก็จะเกิดความปั่นป่วน เกิดแรงต้านทาน ทำให้น้ำไม่ไหลออกดีเท่าที่ควร จึงเสนอวิธีง่ายๆ ดังนี้ครับ

ติดตั้งแผ่นเหล็กเฉียงๆ (สีฟ้าในรูป) ไว้ที่ปากคลอง น้ำแม่น้ำไหลลงมา เจอแผ่นเหล็ก ก็จะถูกเบนออกไป หลังแผ่นเหล็ก เกิด negative pressure ดูดน้ำจากคลองรังสิตออกมา จะช่วยให้น้ำจากคลองรังสิตระบายออกแม่น้ำได้ดีขึ้น

สู้ทีไร เจ๊งทุกที ควรจะเรียนรู้ได้แล้ว คราวนี้ไม่สู้ แต่ใช้วิธีเบนความแรงของกระแสน้ำเอา

แผ่นเหล็กนี้ จะยาว จะสูงเท่าไหร่ ก็ไปคำนวณเอาครับ เชื่อว่าจะเป็นวิธีการง่าย ติดตั้งได้เร็ว และใช้ได้ในหลายสถานการณ์เช่นคลองพระโขนง หรือคลองต่างๆ ที่ระบายน้ำออกสู่แม่น้ำ

ในคลองรังสิต หรือคลองอื่นๆ จะติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ ก็ทำได้ตามแต่กำลังนะครับ สำคัญคืออย่าเอาแต่พูด เถียงกันผ่านสื่อหรือเถียงกันในกระดาษโดยไม่ลงมือทำอะไร

ในบันทึกเก่าเรื่องเครื่องผลักดันน้ำ มีคลิปของพัดลมใช้ใบพัดที่น่าสนใจอยู่ ถ้าใช้กับอากาศได้ ทำไมจึงจะใช้กับน้ำไม่ได้ จุดที่น่าสนใจคือปริมาณอากาศที่ไหลผ่านปั๊มของพัดลม เทียบกับปริมาณอากาศที่ถูกเหนี่ยวนำให้ไหลผ่านพัดลมไร้ใบพัดทั้งหมด เป็น 1:15 หมายความว่าเพื่อที่จะผลักดันอากาศจำนวนมากให้ไหลผ่านพัดลม อาจจะใช้พลังงานน้อยกว่าปั๊มหรือใบพัดปกติมาก น่าจะดีกว่าใบพัดเรือตั้งเยอะนะครับ

« « Prev : นาวาฝ่าวิกฤต: Mobility in the time of flood

Next : เตรียมการกู้ชาติ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.22807002067566 sec
Sidebar: 0.1687479019165 sec