สงครามหมู
อ่าน: 4182เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน พ.ศ. 2402 ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
ความเป็นมา
เมื่อสหรัฐอเมริกา ประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ.2319 สหราชอาณาจักรยังคงยึดครองตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ (ปัจจุบันเป็นคานาดา) ทำให้มีปัญหาพรมแดนมาตลอด จนกระทั่งเกิดสนธิสัญญาโอเรกอน ซึ่งแบ่งเขตแดนสองประเทศไว้ว่า
along the forty-ninth parallel of north latitude to the middle of the channel which separates the continent from Vancouver Island, and thence southerly through the middle of the said channel, and of Juan de Fuca Strait, to the Pacific Ocean.
“แบ่งตามแนวเส้นรุ้งที่ 49° เหนือไปจนกลางร่องน้ำซึ่งแยกแผ่นดินใหญ่ออกจากเกาะแวนคูเวอร์ ซึ่งหมายรวมถึงทางใต้ของกึ่งกลางร่องน้ำดังกล่าว และกึ่งกลางช่องแคบฮวนเดอฟูคา ไปจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก”
แต่ข้อความในสนธิสัญญานี้ ก็ยังมีความกำกวม กล่าวคือมันมีร่องน้ำใหญ่อยู่สองอัน คือที่ช่องแคบฮาโรทางด้านตะวันตกของเกาะฮวนเดอฟูคา และช่องแคบโรซาริโอทางตะวันออกของเกาะ ที่ตีความได้ว่าคือ “กึ่งกลางของร่องน้ำ” ดังนั้นเขตแดนจึงไม่ชัดเจน
ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ชาวนาอเมริกันชื่อเลย์แมน คัลทาร์บุกเบิกเข้าไปยึดครองพืนที่เกาะฮวนเดอฟูคาในยุคตื่นทอง ได้ยิงหมูตัวหนึ่งซึ่งบุกเข้ามากินหัวมันเทศในสวนของเขา หมูตัวนี้เป็นของนายชาลส์ กริฟฟิน ชาวไอริช ผู้ซึ่งถูกจ้างโดยบริษัทอังกฤษให้ดูแลฟาร์มแกะ กริฟฟินเป็นเจ้าของหมูหลายตัว และปล่อยให้หากินอย่างอิสระ
คัลทาร์ได้เสนอจ่ายเงินสิบเหรียญเพื่อชดใช้ชีวิตหมู แต่กริฟฟินตอบกลับมาว่าต้องการเงินร้อยเหรียญเป็นค่าเสียหาย พอเจออย่างนี้เข้าคัลทาร์ก็เลยไม่ยอมจ่ายเลย เพราะเขาคิดว่าหมูบุกรุกเข้ามาในที่ของเขา กริฟฟินนำเรื่องไปร้องทางการ จนทางการอังกฤษจึงขู่จะมาจับคัลทาร์ ส่วนทางเหล่าผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอเมริกัน จึงเรียกทหารมาป้องกัน
แล้วเรื่องไม่เป็นเรื่อง ก็ลุกลามใหญ่โตจนเป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ เพราะหมูตัวเดียว
มีการตรึงกำลังกันอย่างตึงเครียด จนถึงเดือนสิงหาคม ฝ่ายอเมริกันมีทหาร 461 นาย และมีปืนใหญ่ 14 กระบอก ส่วนทางฝ่ายอังกฤษมีเรือรบ 5 ลำ ซึ่งติดปืนใหญ่ 70 กระบอก พร้อมทหาร 2140 นาย
แต่ไม่มีการยิงกันเลย ทุกคนคงเข้าใจอยู่ด้วยมโนคติว่ามันเป็นเรื่องบัดซบมาก ทหารของทั้งสองฝ่าย ต่างด่าทอยั่วยุกันให้อีกฝ่ายหนึ่งเปิดฉากยิงก่อน ซึ่งจะทำให้เสียความชอบธรรมทันที
ในเดือนกันยายน ประธานาธิบดีบุคคาแนนของสหรัฐ ได้เจรจากับผู้ว่าการรัฐแวนคูเวอร์ของสหราชอาณาจักร ที่จะลดความตึงเครียด โดยลดกำลังทหารลงเหลือฝ่ายละ 100 นาย; “ค่ายอังกฤษ” ตั้งอยู่ตอนเหนือของเกาะซึ่งเหมาะกับการส่งกำลังบำรุงทางเรือ ส่วน “ค่ายอเมริกัน” ตั้งอยู่บนเนินเขาทางด้านใต้ของเกาะ เหมาะที่จะยิงปืนใหญ่ลงไป แต่ไม่ได้ตกลงกันเรื่องเขตแดน
กองกำลังทั้งสองฝ่าย ตั้งประจันหน้ากันอยู่อย่างนี้อีก 12 ปี แต่ก็ไม่ได้มีความตึงเครียดเกินขึ้น มีการไปมาหาสู่ แลกเปลี่ยนสินค้ากันเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
จนกระทั่งอนุญาโตตุลาการซึ่งแต่งตั้งโดย ไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมันนี ได้ตัดสินให้ฝ่ายอเมริกันชนะ ฝ่ายอังกฤษจึงถอนตัวออกไป
ที่ “ค่ายอังกฤษ” ในปัจจุบัน พวกอเมริกันก็ยังชักธง Union Jack ซึ่งเป็นธงชาติของสหราชอาณาจักร
สงครามหมูนี้ ไม่มีคนตาย ไม่มีการยิงปืนหรือปืนใหญ่ มีแต่หมูต้นเหตุตายตัวเดียว แล้วตายก่อนสงครามด้วย
- หาอ่านเรื่องบ้าบอนี้ได้ที่ Wikipedia
บทเรียน
- เขตแดนของประเทศ เป็นเรื่องที่ยอมกันไม่ได้
- สติเป็นเครื่องมือยับยั้งความรุนแรง
- แม้แต่ในเรื่องที่ขัดแย้งกันอย่างยอมกันไม่ได้ การเจรจาอาจจะเป็นการเบรคอาการเสียสติไว้ได้ ให้โอกาสคู่ขัดแย้งได้ตั้งสติ
ที่เจ็บปวดสำหรับผมคือ ผมคิดว่าฝรั่งเศส (ซึ่งเป็นมหามิตรของสหรัฐตั้งแต่เริ่มตั้งประเทศ) ได้เรียนรู้จากสงครามหมูนี้ ถึงความสำคัญของความชัดเจนของเขตแดน และใช้ประโยชน์จากความรู้นี้ ทำให้ได้เปรียบสยามในการเจรจา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสียดินแดนครั้งที่ 10 ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (ลาว) ในปี 2436 เหตุการณ์ ร.ศ.112, ครั้งที่ 11 แคว้นหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ เมื่อปี 2446 เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และครั้งที่ 12 มณฑลบูรพา (เสียมราฐ ศรีโสภณ พระตะบอง) เมื่อปี 2449 เพื่อแลกกับเมืองตราด
ฝรั่งเศสกำหนดว่าเกาะแก่งในแม่น้ำโขงเป็นของอินโดจีนของฝรั่งเศส หมายความว่าใช้ร่องน้ำที่อยู่ใกล้ตลิ่งฝั่งไทยมากที่สุด ข้อกำหนดนี้ เกิดหลังจากสงครามหมู ส่วนสันปันน้ำตามชายแดนอีสานใต้นั้น ใช้แผนที่ที่ฝรั่งเศสทำ
ว่าแต่เราเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ของคนอื่นได้บ้างครับ
วันนี้ก็ยังมองแต่เรื่องของตัวเอง เก่งแต่ในบ้านกันทั้งนั้น
Next : พบฟอสซิลอายุ 47 ล้านปี อาจเป็น “จุดเชื่อม” ที่หายไป » »
3 ความคิดเห็น
สะใจดีแท้ๆ ในข้อความท้ายๆ
สุกรนั้นไซร้ ไม่ใช่หมาน้อยธรรมดา ปั่นหัวมนุษย์มาหลายรูปแบบ
วันนี้เกิดไข้หวัดหมู ขึ้นมาอีก
[...] ลานซักล้าง » สงครามหมู lanpanya.com/wash/archives/783 – view page – cached โดย Logos เมื่อ 21 พฤษภาคม 2009 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ # อ่าน: 403 [...]