ศาสตร์แห่งการกระตุ้น

โดย Logos เมื่อ 2 June 2010 เวลา 0:12 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, การบริหารจัดการ #
อ่าน: 4142

เมื่อปีที่แล้ว Dan Pink ที่ปรึกษาด้านอาชีพการงาน พูดที่ TED เรื่อง The surprising science of motivation ซึ่งทั้งตลกและมีสาระ

ถ้าภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง เลือก Subtitle หรือจะอ่านจาก transcript ได้นะครับ

ประเด็นใหญ่ของการพูดครั้งนี้ก็คือแรงจูงใจที่ธุรกิจมักให้แก่พนักงาน (carrot and stick ตั้งรางวัล(เงิน)ตามผลงานล่อเอาไว้ ถ้าทำไม่ได้โดนลงโทษ) กับคำแนะนำจากผลการศึกษาของ London School of Economics (ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มาแล้ว 11 ท่าน) มักไม่เหมือนกัน!

ธุรกิจยังบริหารกันแบบธุรกิจการผลิตในศตวรรษที่แล้ว ไม่ได้ตระหนักว่าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ความแตกต่างนี้ พอแบ่งเป็นประเด็นใหญ่ได้สามอัน:

  1. ในศตวรรษที่ 20 การตั้งรางวัลที่บรรลุเป้าหมายล่อเอาไว้ เคยใช้ได้ผล ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อร้อยปีที่แล้ว เป็นยุคของอุตสาหกรรม มีเป้าหมายที่แคบมาก ทำซ้ำๆ กันแบบสาวโรงงาน วัดผลด้วยจำนวนผลผลิต KPI ฯลฯ
  2. การตั้งเงื่อนไขว่า “ถ้าทำนั่นได้ ก็จะได้นี่เป็นรางวัล” มักกลับทำลายการสร้างสรรค์ เงื่อนไขต่างๆ ทำให้การสร้างสรรค์ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
  3. ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องการมุมมองนอกกรอบในพื้นที่ที่กว้างขึ้นอันไม่ใช่แค่งานประจำนี้ ความลับของการมีประสิทธิผลสูงไม่ใช่การให้รางวัล+การลงโทษ แต่กลับเป็นการกระตุ้นตัวเองของคนทำงานแต่ละคน ซึ่งพอแบ่งได้เป็นสามอย่างคือ
    • Autonomy ความเป็นอิสระ,
    • Mastery ความต้องการที่จะดีขึ้น เก่งขึ้น ในเรื่องที่ต้องการทำ,
    • Purpose คือความต้องการที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ทำในสิ่งที่มีความหมายต่อคนรอบข้าง

    ซึ่งหากจะกระตุ้นให้ Autonomy Mastery และ Purpose เกิดขึ้นได้ ผู้บริหารต้องเริ่มให้ความเชื่อใจ+ไว้วางใจพนักงานก่อน

ฮ้าดเช้ย!!! มันยากตรงนั้นล่ะครับ ไว้ใจพนักงาน!!! เรื่องนี้จบเห่ทันทีในระบบราชการ

ไม่มีคำตอบไหน โดยเฉพาะคำตอบแบบเขาเล่าว่า เป็นคำตอบแบบสมบูรณ์ที่แก้ปัญหาของเราได้ทุกกรณีหรอกนะครับ ถ้าคนอื่นรู้ดีกว่าเรา แล้วเราทำอะไรอยู่ในองค์กรนี้?

« « Prev : ความฉลาดคืออะไร — ไอแซค อสิมอฟ

Next : คนละเรื่องเดียวกันบนแกนเวลา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 อุ๊ยสร้อย ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 June 2010 เวลา 1:05

    เก้าอี้บริหารบางครั้งอย่างกับเก้าอี้อาถรรพ์…คนนั่งจำนวนไม่น้อยมักเปี๋ยนไป๋….เกิดอาการมองไม่เห็นศักยภาพและความฝันของคนทำงานร่วมกัน…แถมเป็นโรคขาดความไว้ใจพนักงานเพิ่มอีกโรค???

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 June 2010 เวลา 10:36
    พี่สร้อยครับ บางทีอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องอาถรรพ์ของเก้าอี้หรอกนะครับ

    การเป็นผู้บริหารมักจะมีงานเยอะแยะ จึงอาจทำให้แสดงธาตุแท้ออกมา เพราะไม่มีเวลามัวนั่งประดิษฐ์ ละเลียด ละเมียด

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 June 2010 เวลา 8:38
    ด้วยตรรกะแบบเดียวกับข้างบน Dan Pink เขียนถึงผลจากสองบริษัทเป็นตัวอย่าง ซึ่งยกเลิกระบบคอมมิชชั่นจากการขาย เพิ่มเงินเดือนให้พนักงานขาย แล้วได้ยอดขายรวมเพิ่มขึ้น: Forget carrots and sticks, they don’t always work ในคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์ Daily Telegraph ในอังกฤษ

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.10842084884644 sec
Sidebar: 0.32051396369934 sec