ภัยอะไรน่ากลัว (3)

โดย Logos เมื่อ 9 May 2011 เวลา 20:45 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3132

ภัยจากคนน่ากลัวครับ ภัยจากความวิปลาสน่ากลัวจริงๆ เพราะคนวิปลาส กระทำการโดยไม่อยู่บนเหตุและผล หรือบางทีเขาก็คิดว่ามันมีเหตุผลแล้ว แต่เป็นเหตุผลจากมุมมองของเขาเอง ก็มองข้ามไปหมดว่าจะเบียดเบียนใครหรือมีผลอย่างไรตามมา

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น แทนที่จะบำรุงรักษา กลับปลอมแปลงรายงานการบำรุงรักษา ด้วยประมาทว่าคงไม่มีอะไร แต่ในที่สุดก็มี ทำให้ต้องอพยพคนเป็นแสนคน เดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า ถ้าค้นดูในบล็อก คงเห็นว่าผมประเมินไว้ตั้งแต่หลังแผ่นดินไหวและสึนามิ ว่าไฟฟ้ากับน้ำมันจะขาดแคลนก่อนมีข่าว แต่คนญี่ปุ่นร่วมแรงร่วมใจกันผ่านความยากลำบากด้วยกัน ฟื้นฟูได้เร็วจนน่าแปลกใจ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะญี่ปุ่นมีเป้าหมายร่วม ที่ความสงบสุขก้าวหน้าของสังคมญี่ปุ่น… ลองคิดดูหากเป็นเมืองไทย คงจะเละอย่างยาวนาน มีโอกาสฟื้นตัวน้อยหรือใช้เวลายาวนาน

ในเมืองไทยเอง มีการประท้วงทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงมาหลายปีตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร ผ่านไปห้ารัฐบาล รัฐประหารครั้งหนึ่ง เลือกตั้งสองครั้ง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญหนึ่งฉบับ กลุ่มคนที่ประท้วงทุกกลุ่มก็คงเห็นว่าตนเองทำถูกแล้ว ที่จะต้องหยุดรัฐบาลในขณะนั้นให้ได้ แต่ยังมีอีกมุมหนึ่งเป็นอย่างน้อยครับ ช่วงที่มีการประท้วงกันหนักๆ เป็นเวลาหกปีระหว่าง 2548-2553 ประเทศไทยแทบจะหยุดลงคลาน เวลาหกปีนี้ เรียนประถม เรียนมัธยม เรียนปวช.กับปวส. หรือเรียนปริญญาตรีและโทจบได้นะครับ ซึ่งสิ่งที่กระทำไป ต่างเห็นว่าสมควรแล้ว จะต้องหยุด “อีกพวกหนึ่ง” ให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

สมเด็จพระสังฆราชนิพนธ์เรื่อง “คุณและโทษของทิฐิ” เอาไว้

ทิฐิที่หมายถึงความเห็น ย่อมมีอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของทุกคน ไม่มียกเว้นว่าเป็น คนโง่หรือคนฉลาด คนดีหรือคนชั่ว แต่ทิฐิคือความเห็นของทุกคนไม่เหมือนกัน มีแตกต่างกัน แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๒ ประเภท คือความเห็นผิดหนึ่ง ความเห็นชอบหนึ่ง ความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฐิ ความเห็นชอบเป็นสัมมาทิฐิ

ทิฐิเป็นจุดเริ่มต้นของการคิดการพูดการทำทุกอย่าง ถ้าไม่มีทิฐิแล้วการสืบเนื่องย่อมไม่มี ทบทวนดูถึงอะไรๆ ที่เกิดขึ้นแล้วกับชีวิตของเราเองทุกคน ก็จะเห็นได้ว่าจุดเริ่มต้นคือ ทิฐิ คือต้องเริ่มมีความเห็นเสียก่อนว่านั่นดีนั่นชั่ว นั่นควรทำอย่างนั้น นั่นควรทำอย่างนี้ ต่อ จากนั้นจึงจะลงมือปฏิบัติการต่างๆ ให้เป็นไปอย่างที่ตนรู้สึกว่าเหมาะควรกับบุคคลหรือกับสิ่ง กับเรื่องที่ตนมีความเห็นอย่างนั้นแล้ว ทิฐิจึงเป็นคุณอย่างยิ่งถ้าเป็นสัมมาทิฐิ และเป็นโทษอย่างยิ่งถ้าเป็นมิจฉาทิฐิ

ผู้ที่ทำความผิดร้ายทั้งหลายเป็นต้นว่าปล้นฆ่า จะต้องเริ่มด้วยมีมิจฉาทิฐิความเห็นผิดอย่างแน่นอน คือจะต้องเริ่มต้นมีความเห็นว่าการทำเช่นนั้นเป็นการสมควรที่ตนพึงจะทำ แม้จะผิดกฎหมาย แต่การทำผิดกฎหมายนั้น ถ้าตนจะได้ประโยชน์คุ้มกันก็น่าทำ และก็เห็นผิดไปว่าตนมีเล่ห์เหลี่ยมกลอุบายสูงพอ ทำแล้วกฎหมายจับไม่ได้ ลงโทษไม่ได้ ผู้ร้ายฆ่าปิดปากทั้งหลายที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่เสมอๆ มีมิจฉาทิฐิความเห็นผิดเป็นมูลเหตุอย่างแน่นอน คือต้องเห็นว่าฆ่าเจ้าทุกข์เสียแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่าตนเป็นผู้ร้าย นี่เป็นมิจฉาทิฐิแท้ๆ นำไปสู่ความผิดความไม่ชอบแม้ผู้ที่ไม่ได้ลงมือทำผิดนั้นด้วยตนเอง แต่ทุกคนย่อม สามารถคำนึงถึงความรู้สึกของผู้ร้ายฆ่าคนได้ทุกคนประมาณว่า ผู้ร้ายฆ่าคนตายจะมีความทรมานเพียงไร เร่าร้อนเพียงไร เป็นโทษที่แม้จะไม่ใช่โทษของบ้านเมือง แต่ก็เป็นโทษทางใจที่หนัก และโทษที่หนักนี้ จะเกิดไม่ได้แม้ไม่มีมิจฉาทิฐิเห็นผิดไปว่าตนได้ประโยชน์ยิ่งกว่าโทษ

ทำสัมมาทิฐิคือความเห็นชอบให้เกิดไว้เถิด ใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบเถิด และอย่าตกเป็นทาสของมิจฉาทิฐิ อย่าเห็นแก่ความเป็นใหญ่ได้หน้าได้ลาภได้ยศของตนเอง เพราะการเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นสำคัญจนเกินไปนั้นเป็นมิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด จักก่อให้เกิด ทางดำเนินที่ผิด การโกงกินลักโขมยปล้นจี้ทั้งหลายเกิดจากความเห็นไม่ชอบว่าเงินมีค่าเหนือความสุจริต อันที่จริงความสุจริตมีค่าเหนือเงิน และความสุจริตไม่ใช่ว่าจะทำให้ยากไร้ แม้ผู้สุจริตคนใดจะยากไร้ แต่ก็ไม่ได้เกิดจากความสุจริต ความสุจริตที่ประกอบด้วยความ ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติให้ถูกให้ควร จักเป็นทางให้พ้นจากความยากไร้ได้เงินย่อมเกิดขึ้นได้ แก่ผู้สุจริตที่ขยันหมั่นเพียรโดยชอบ เงินไม่ได้เกิดจากความทุจริตอย่างเดียว ตรงกันข้าม ความยากไร้ย่อมเกิดได้จากความทุจริต ผู้ที่ถูกยึดทรัพย์เมื่อความทุจริตปรากฏขึ้น ก็เป็นที่รู้เห็นกันอยู่ ผู้ที่ต้องรับโทษตามกฎหมาย มีเงินก็เหมือนไม่มีเงิน เพราะความไม่สุจริต ก็เป็นที่รู้เห็นกันอยู่มากมาย ถ้ามีสัมมาทิฐิแล้ว ความทุจริตย่อมไม่เกิดโทษที่จะเกิดจากความ ทุจริตย่อมไม่มีโทษของความทุจริตนั้นไม่เกิดแต่กับผู้ประพฤติเท่านั้น แต่ย่อมเกิดกว้างใหญ่ ่ไปถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายด้วย ก็เพราะดังกล่าวแล้ว คนดีคนเดียวย่อมยังความสุขให้ เกิดได้กว้างไกลและคนชั่วคนเดียวก็ย่อมก่อให้เกิดความทุกข์ได้อย่างยิ่ง

ที่ยอมลำบาก อาจจะคิดว่าเป็นการเสียสละเพื่อส่วนรวม ซึ่งบางส่วนของเหตุประท้วงต่างๆ ผมก็เห็นด้วยครับ แต่ทำไมไม่ลองหาทางออกอื่นๆ ดูบ้าง ทำไมมุมมองและความคิดของตนเท่านั้น จึงถูกต้อง ทางออกมีทางเดียวหรือครับ?

ตัวกู​ (ทิฎฐิ) ของกู​ (ตัณหา) นี่กูนะ (อัสมิมานะ) ถ้ามีหนามาก คงหาความสุข ความสงบได้ยากนะครับ

« « Prev : ภัยอะไรน่ากลัว (2)

Next : ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (1) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 May 2011 เวลา 22:00

    ตัวกู​ (ทิฎฐิ) ของกู​ (ตัณหา) นี่กูนะ (อัสมิมานะ)

    ชอบใจจริงๆ

    เจริญพร

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 9 May 2011 เวลา 22:15
    ความจริงครูบาพูดเอาไว้ว่าภัยอะไรก็น่ากลัวทั้งนั้นนี่ ถูกแล้วครับ แต่มีปัญหาใหญ่คือเรารู้หรือเปล่าว่าอะไรเป็นภัย
  • #3 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 May 2011 เวลา 4:42

    พวกก่อหวอดทางการเมือง มีชุดความคิดใหม่ แปลก แปลง เปื้อน
    ไม่เอาคำสอนของพระของเจ้ามาพิจารณา
    เอาน้ำลายเป็นเครื่องมือ พูดเก่ง พูดเอามันส์ พอมีคนชอบบ้างก็เหลิง
    ครุ่นคิดแต่จะหาคำอะไรมาพูดๆๆๆให้โดนใจ พวกตามฟังๆๆๆๆ
    การพัฒนาในมุมนี้ทำให้ม๊อบขยายตัว
    สนุกกับการพูดขาวเป็นดำ อะไรๆๆๆก็สู่รู้หมด ตัวเองเก่งหมด
    พวกเก่งแต่ปาก นั้นน่าต-บ ปาก นัก
    ยังนึกไม่ออกว่าจะแก้เรื่องปากมหาภัยได้อย่างไร?

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 May 2011 เวลา 5:04
    เอื๊อก…จริงครับ แต่อย่าให้เป็นกรรมผูกพันกันไปเลยครับ แค่นี้พอแล้ว

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.089929103851318 sec
Sidebar: 0.15641498565674 sec