ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (1)
อินทรียสารในดิน (humus) สลายตัวโดยธรรมชาติที่อุณหภูมิสูงกว่า 25°C… ดินบ้านเรา ไม่มีต้นไม้ปกคลุม โดนแดดเผาชั่วนาตาปี ทำให้อุณหภูมิของผิวดินสูงได้กว่า 70°C และทำให้ดินปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นก๊าซเรือนกระจก (มีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์) ชาวนาชาวไร่ใส่ปุ๋ยเคมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ ยิ่งใส่ปุ๋ยก็ยิ่งจน เพราะกงเต็กปุ๋ยไปให้บรรพบุรุษโดยการเผาซากต้นไม้
ปุ๋ยคือสารอาหารของต้นไม้ จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเพื่อออกดอกออกผล แต่ปุ๋ยเคมีนั้นเหมือนยาโด๊ป ใส่มากเกินไปยังไม่แน่ว่าจะดี… ธรรมชาติรักษาตัวเองได้ซึ่งอาจจะใช้เวลาบ้าง ไม่ทันอัตราที่มนุษย์ทำลายสมดุลย์ของธรรมชาติ
ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่โลกน่าจะปลอดภัย จากความปั่นป่วนของบรรยากาศคือระดับ 350 ppm แต่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะที่เขียนนี้ เป็น 393.18 ppm แถมยังสูงขึ้นเรื่อยๆ อีก… ก๊าซเรือนกระจก (ประกอบกับอย่างอื่น) ล้วนเป็นองค์ประกอบของปัญหาโลกร้อน ซึ่งทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดไอน้ำมากขึ้น กลายเป็นพายุที่มีความรุนแรง น้ำฝนมาเป็นปริมาณมาก เดือดร้อนกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือมหาสมุทร จุลชีพปริมาณมหาศาลของมหาสมุทรในอดีต ดูดจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แล้วเปลี่ยนเป็นหินปูนตกตะกอนลงพื้นทะเล จนบรรยากาศของโลกกลายเป็นบรรยากาศที่หายใจได้… ปัจจุบันนี้ ไม่มีจุลชีพยุคโบราณที่จะทำอย่างนั้นอีก โลกจึงไม่มีวิธีกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ และกิจกรรมของมนุษย์ ก็เร่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ — แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่รองลงมาคือแผ่นดิน แต่แผ่นดินนั่นแหละ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามาก!
ถ่าน Biochar เป็นถ่านที่ใช้ความร้อนเปลี่ยนแปลงชีวมวลด้วยกระบวนการ Pyrolysis (”เผา”แบบจำกัดออกซิเจน) ทำลายโครงสร้างทางเคมี ให้ปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจนออกมาส่วนหนึ่ง ซึ่งก๊าซนี้ (เรียกว่า wood gas หรือ syngas) เอาไปเผาได้อย่างหมดจด ได้พลังงานความร้อนเอาไปใช้งานได้ — [Biochar ปรับปรุงดินและลดโลกร้อน]
Biochar เป็นกระบวนการ carbonization ได้จากการนำชีวมวลไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิไม่สูงนัก (450-550°C) ถ่ายเอาก๊าซที่เกิดขึ้น ออกไปใช้ข้างนอกเตาเผา ก๊าซนี้ติดไฟได้ — Activated carbon (ถ่านกัมมัน) สร้างด้วยกระบวนการคล้ายกัน เพียงแต่ปล่อยให้ก๊าซอยู่ในถังที่เผานั่นแหละ แล้วให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า (600-1200°C) — ถ่านทั้งสองชนิด ดูดสี ดูดกลิ่นได้ ซึ่ง Activated carbon ทำได้ดีกว่า
แต่ Biochar เมื่อนำไปบด แล้วโปรยลงในดิน จะทำให้ดินเก็บน้ำ เพิ่มจุลชีพในดิน ลดการปล่อยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ของดิน ทำให้รากของพืชดูดซึมสารอาหารที่มีอยู่ในดินได้ดีขึ้น… จัดได้ว่าเป็นตัวปรับสภาพแวดล้อมและเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้
ความลับอันนี้ มีอยู่ในป่าอเมซอน ซึ่งชาวเผ่าแอสเทคเผาถ่าน Biochar บรรดาเศษถ่านเมื่อโดนน้ำฝนชะก็ซึมลงดิน และเปลี่ยนแปลงสภาพของดินให้กลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เรียกว่าดินดำ (Terra Preta)… รูปทางขวา เป็นแปลงข้าวโพด เปรียบเทียบระหว่างดินเสื่อมทราม กับดิน Terra petra
จะเห็นความแตกต่างของข้าวโพดที่ปลูกบนดินทั้งสองชนิดอย่างชัดเจน ซึ่งประเทศในแถบอเมริกาใต้ ได้ใช้วิธีการนี้มายี่สิบกว่าปีแล้ว
ในส่วนของกระบวนการลดก๊าซเรือนกระจก พืชดูดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง แต่ว่าดินเอา ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(และมีเทน) ออกมา ดังนั้นเมื่อมองในภาพกระบวนการทั้งหมดแล้ว การที่ต้นไม้จะดูดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศให้ได้ผล ก็ต้องลดการปล่อยก๊าซจากดินด้วย
ซึ่ง Biochar ทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเติม Biochar ลงบนผิวดิน น้ำฝนจะพา Biochar ลงไปใต้ดินเอง ถ้วยความเป็นถ่าน มันเรียกความชื้นมาอยู่ใกล้ๆ เมื่อดินใกล้ถ่านชื้น ก๊าซที่ดินปล่อยออกมา ก็ถูกจับไว้ด้วยความชื้นอีกต่อหนึ่ง
How Can Biochar Be Carbon-Negative?
Fossil fuels are carbon-positive — they add more carbon to the air. Ordinary biomass fuels are carbon neutral — the carbon captured in the biomass by photosynthesis would have eventually returned to the atmosphere through natural processes — burning plants for energy just speeds it up. Sustainable biochar systems can be carbon negative because they hold a substantial portion of the carbon in soil. The result is a net reduction of carbon dioxide in the atmosphere, as illustrated below.
Biochar can hold carbon in the soil for hundreds and even thousands of years. Biochar also improves soil fertility, stimulating plant growth, which then consumes more CO2 in a feedback effect. And the energy generated as part of biochar production can displace carbonpositive energy from fossil fuels. Additional effects from adding biochar to soil can further reduce greenhouse gas emissions and enhance carbon storage in soil. These include:
- Biochar reduces the need for fertilizer, resulting in reduced emissions from fertilizer production.
- Biochar increases soil microbial life, resulting in more carbon storage in soil.
- Because biochar retains nitrogen, emissions of nitrous oxide (a potent greenhouse gas) may be reduced.
- Turning agricultural waste into biochar reduces methane (another potent greenhouse gas) generated by the natural decomposition of the waste.
ชักยาวแล้ว เอาไว้ตอนหน้าค่อยเขียนเรื่องการผลิต Biochar นะครับ
Next : ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (2) » »
3 ความคิดเห็น
ยิ่งใส่ปุ๋ยก็ยิ่งจน เพราะกงเต็กปุ๋ยไปให้บรรพบุรุษโดยการเผาซากต้นไม้ อิอิ
เท่าที่เคยเผาถ่าน หลังจากเก็บถ่านออกจากเตา การเผาแต่ละครั้งจะมีเศษผงถ่านตกอยู่พื้นเตาจำนวนหนึ่ง ถ้าใส่กระสอบปุ๋ย น่าจะมีปริมาณ 15 ถุงปุ๋ย แรกก็โกยไปกองไว้ข้างๆเตา เอาไปใช้ผสมดินเพาะต้นไม้บ้าง ที่เหลือกองทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ เพราะความโง่เซ่อ ไม่ศึกษาการเก็บเกี่ยวคุณประโยนช์ให้หมดจด
เมื่ออ่านบทความนี้ ก็หันไปมองกองเศษผงถ่าน
จะให้คนงาน..ไปขนผงถ่านไปโปรยในคอกโค เผื่อให้ดูดซับปัสสาวะโค คลุกเคล้ากับมูลโค เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยคอก แล้วค่อยนำไปใช้ใส่ต้นไม้ เพาะต้นไม้ต่อไป
พิธีเผาทรัพย์สินส่งๆไปบรรพบุรุษ คงเผาๆๆๆต่อไป
เพราะเป็นประเพณี/ความเชื่อ
รออ่าน ก๊อก2 อิอิ
ความไม่รู้โดยนึกว่ารู้นั้น อันตรายยิ่งกว่า ยิ่งนานไปก็ยิ่งผิดทาง
[...] ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (1) [...]