ความไม่รู้
อ่าน: 3765
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อวิชชา (ความไม่รู้) เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยอกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ละอายใจ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป ย่อมตามหลังมา“
อิติวุตตก ๒๕/๒๕๕*
ความไม่รู้นี้เป็นอันตราย..
เช่น เด็กหากไม่รู้ว่าน้ำต่างจากดินอย่างไร..ตกน้ำก็คงจม หรือคนไม่รู้หนังสือก็คงเสียเปรียบอยู่มาก
….
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความไม่รู้ ในเรื่องต่างๆ นำมาซึ่งความเสียหายได้..
จะแก้ความไม่รู้ ก็ต้องเรียนรู้.. คนเราทุกคนเติบโตมา ก็เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ผ่านการศึกษาในโรงเรียน จากการทำงาน ฯลฯ
บางคนเก่งกาจ สามารถดับ “ความไม่รู้” ดังกล่าว ด้วยความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้ เป็นคนที่สังคมเรียกว่าเก่ง มีความรู้สูง มีความสามารถหลายด้าน เป็นต้น
แต่ “ความไม่รู้” ในพระไตรปิฎกไม่ได้หมายถึงความไม่รู้ในเรื่องทั่วๆ ไปเท่านั้น แต่หมายถึง
“ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ และความดับทุกข์“
ความไม่รู้ในส่วนหลังนี้ ถึงมีความรู้อื่นหมื่นแสน เก่งกาจเพียงใด หากไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ และความดับทุกข์ ก็คงยังทุกข์อยู่ร่ำไปนั่นเอง …
*ที่มา - พระไตรปิฎกฉบับประชาชน พิมพ์รวมเล่มเดียวจบ ครั้งที่ ๑๖/๒๕๓๙ หน้า ๕๒
Avijja, ignorance as a concept in Buddhism
« « Prev : สัปปายะ
2 ความคิดเห็น
นึกว่าตัวเองรู้ อันตรายกว่ารู้ว่าตัวเองไม่รู้
พอดีเขียนบันทึก นิทานธรรม ดับทุกข์ผิดทาง อิอิ ไว้
ไม่ได้มาป่วนนะครับ ไม่ได้มาโฆษณานะครับ แต่เห็นว่าดีก็เลยเอามาฝากครับ ไม่แน่ใจคนอื่นว่าดีรึเปล่า ?
โอ้..จริงด้วย ขอบคุณมากค่ะ ถ้านึกว่าตัวเองรู้ แต่รู้ไม่จริงแย่กว่ามากเลยค่ะ ทำให้ต้องทบทวนตัวเองดีเลยค่ะ
ขอบคุณนะคะที่มาเยี่ยม สำหรับนิทานธรรมน่ะ เคยไปอ่านแล้วค่ะ ^ ^